ไทยยื่นสมัคร OECD "ปานปรีย์" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

16 เม.ย. 2567 | 20:10 น.
อัปเดตล่าสุด :16 เม.ย. 2567 | 20:22 น.
824

"รองนายกฯปานปรีย์ พหิทธานุกร "นำทีมยื่นเจตจำนงสมัครสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ชี้มีสัญญาณดีประเทศสมาชิกมีท่าทีสนับสนุน เผยไทยอยู่ในขั้นน่าสนใจ เป็นประเทศเดียว ในอาเซียนที่ทำงานกับ OECD มา 42 ปี

วันที่ 16 เม.ย. 67 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ต่อ นายมาทีอัส คอร์มันน์ เลขาธิการ OECD

ไทยยื่นสมัคร OECD \"ปานปรีย์\" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

โดยมีตัวแทนประเทศสมาชิกทั้ง 38 ประเทศพร้อมทั้ง ตัวแทนจากสหภาพยุโรปหรือ EU เข้าร่วมรับฟัง วิสัยทัศน์ของไทยในการขอเข้าเป็นสมาชิก 

นายปานปรีย์ เปิดเผยภายหลัง แสดงวิสัยทัศน์ ว่าถือเป็นวันสำคัญสำหรับการยื่นเจตจำนงอย่างเป็นทางการ โดยมี 3 ประเทศที่ตั้งคำถามสำคัญกับประเทศไทย ส่วนประเทศอื่นๆ สนับสนุนที่ไทยมีเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิก

ไทยยื่นสมัคร OECD \"ปานปรีย์\" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

ซึ่งไทยอยู่ในขั้นน่าสนใจเพราะเราเป็นประเทศเดียว ในอาเซียนที่ทำงานร่วมกันกับ OECD มา 42 ปี อยู่ในระยะที่ 2ที่ทำให้ประเทศไทยได้มาตรฐานหลายด้านทางด้านเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม การค้า ความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียว ดังนั้นวันนี้เมื่อได้นำเสนอและทำพรีเซนต์เทชั่นกับสมาชิก ทุกฝ่ายก็ให้การสนับสนุนด้วยดี

ไทยยื่นสมัคร OECD \"ปานปรีย์\" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

ส่วนระยะเวลาการเป็นสมาชิกขึ้นอยู่ว่าเราทำตามเงื่อนไขต่างๆได้เร็วแค่ไหนซึ่งจากการที่เรายื่นในวันนี้เ ป็นผลดีกับประเทศไทยเพราะผลการศึกษาของTDRI ออกมาบอกว่าการที่เราเข้าเป็นสมาชิกโออีซีดีจะทำให้จีดีพีของเราโต 1.6% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนมากและคิดว่าแม้ไม่ได้เป็นสมาชิกแต่กมื่อยื่นเจตจำนงแล้วชาวโลกก็เฝ้าดูอยู่ว่าเรามีเจตนาที่จะยกระดับประเทศให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้นในหลายหลายด้าน

ไทยยื่นสมัคร OECD \"ปานปรีย์\" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

นายปานปรีย์ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนจะได้จากการเข้าเป็นสมาชิกนั้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้นเพราะกลุ่มของประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแต่เราเป็นประเทศกำลังพัฒนาเราก็มีสิทธิ์ที่จะก้าวข้ามกับดักที่เราติดอยู่หลายปีและเรามีความประสงค์ที่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2580  ซึ่งอีกนานหรืออาจจะก่อนหน้านั้น

"ถ้าเราเข้าเป็นสมาชิกโออีซีดีได้และจะเป็นประโยชน์เพราะจะมีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นคนไทยจะทำงานเพิ่มขึ้นการจ้างงานจะมีจำนวนมากขึ้นและโออีซีก็ยังมีแผนในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งจะช่วยสร้างบุคลากรของเราให้มีศักยภาพมากขึ้นด้วย เพราะเวลานี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเราขาดแรงงานที่มีศักยภาพและการเข้าเป็นสมาชิกเช่นนี้ก็จะเป็นการปฏิรูปในส่วนนี้ไปในเวลาเดียวกัน"รองนายกฯ กล่าว

ไทยยื่นสมัคร OECD \"ปานปรีย์\" ชี้มีสัญญาณดี สมาชิกให้การสนับสนุน

สำหรับสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคในการเข้าเป็นสมาชิกนั้น นายปานปรีย์ กล่าวว่าจากสิ่งที่ทางโออีซีดีพูดกับพวกเราในวันนี้ มีความมั่นใจว่าเขาจะให้การสนับสนุนเราเต็มที่ แต่ที่ยังเป็นกังวลคือภายในประเทศของเรา ที่จะต้องอธิบายและชี้แจง เพราะจะต้องเกิดการปฏิรูปและต้องมีการแก้ไขกฎหมายบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสากล จึงเป็นเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนให้เข้าใจว่าทำไมถึงมีมีความจำเป็น หรือไม่จำเป็นอย่างไรที่จะต้องเข้าเป็นสมาชิก

ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยตรง  ซึ่งได้บอกกับทางคณะมนตรีของOECD ว่าวันนี้เราแสดงความตั้งใจและแสดงเจตนารมย์ที่ชัดเจนโดยนายกรัฐมนตรีจะขึ้นเป็นประธานของคณะกรรมการเพื่อที่จะขับเคลื่อนเรื่องต่างๆเพื่อเข้าสู่การเป็นสมาชิกโออีซีได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ไทยและ OECD มีความร่วมมือกันมายาวนานกว่า 42 ปี ปัจจุบัน หน่วยงานไทยมีส่วนร่วมในกลไกและโครงการต่าง ๆ ของ OECD รวม 48 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก คือ โครงการ PISA และไทยยังเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD ทั้งสิ้น 10 ฉบับ

และไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีโครงการความร่วมมือทวิภาคีกับ OECD ในรูปแบบ Country Programme โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการระยะที่ 2