ลงทะเบียนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ชัดแล้วเปิดแอปฯไตรมาส 3/2567

10 เม.ย. 2567 | 13:42 น.
อัปเดตล่าสุด :10 เม.ย. 2567 | 17:52 น.
110.3 k

ลงทะเบียนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ชัดแล้วเปิดแอปฯเริ่มไตรมาส 3/2567 พร้อมใส่เงินรวดเดียวภายในไตรมาส 4 เช็กเงื่อนไขคุณสมบัติเบื้องต้นด่วน

ในที่สุดโรดแมพแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงข่าววันนี้ 10 เมษายน 2567 กับนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

ลงทะเบียนแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

  • กลุ่มแรกที่จะได้ลงทะเบียน คือ ร้านค้า และ เปิดให้ประชาชน  ลงทะเบียนยืนยันตัวตนในไตรมาส 3/2567
  • แอปพลิเคชั่นที่ลงทะเบียนและยืนยันตัวตน รัฐบาลพัฒนาขึ้นมาเองโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ร่วมพัฒนากับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี พัฒนาซูเปอร์แอปฯ

 

 

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

 

 

ลงทะเบียนร้านค้ารับซื้อสินค้าแจเงินดิจิทัล 10000

ก่อนหน้านี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับร้านค้าที่เคยลงทะเบียนกับแอปฯเป๋าตัง สามารถร่วมโครงการได้เหมือนเดิม คาดว่ารัฐบาลอาจทำแบนเนอร์บนแอปฯเป๋าตัง เพื่อให้ร้านค้ากดปุ่มยืนยันตัวตนเพื่อร่วมโครงการเติมเงินดิจิทัล 10000

เงื่อนไขแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

  • รัฐบาลจะใส่เงิน 1 หมื่นบาทก้อนเดียว ให้กับประชาชนจำนวน 50 ล้านคน ภายในไตรมาส 4/2567
  • อายุ16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่ลงทะเบียน
  •  ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท/ปีภาษี
  •  ไม่มีมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
  •  ผู้ที่ร่วมโครงการ Easy e-Receipt  สามารถเข้าร่วมโครงการได้

 

 

การใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มแรก ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
  • กลุ่มที่สอง ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอ และขนาดของร้านค้าการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ 

วิธีการใช้จ่าย 

  • รัฐบาลพัฒนาขึ้นมาเองโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  ร่วมพัฒนากับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี พัฒนาซูเปอร์แอปฯ

 

คุณสมบัติร้านค้าที่ถอนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น คือ 1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ 3 ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา เฉพาะผู้มีรายได้พึงประเมิน เป็นผู้ประกอบอาชีพค้าขาย การถอนเงินสด ถอนทันทีไม่ได้ ต้องถอนหลังจากใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป ลดความเสี่ยงทุจริต เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ใช้จ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต ได้หลายรอบ

  • รอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ในระยะเวลา 6 เดือน เบื้องต้นกำหนดให้เป็นร้านค้าในกลุ่มร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กลงมา
  • ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า และพื้นที่ โดยจะยังเบิกเงินไม่ได้ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ