พาณิชย์ เปิด 7 เทรนธุรกิจอาหารเกาหลีใต้ ที่น่าจับตามอง

06 ก.พ. 2567 | 10:59 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.พ. 2567 | 11:41 น.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เผยแนวโน้มธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ปี 67 มี 7 เทรนด์ที่น่าจับตา ทั้งการบริโภคแบบระวังการใช้จ่าย การทดลองสินค้าใหม่ อาหารในอดีตกลับมานิยม การสนับสนุนการบริโภคสินค้าท้องถิ่น และการให้บริการไร้พนักงาน แนะผู้ประกอบการไทยดูแนวโน้มตลาด

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบนโยบายให้ทูตฯ ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดได้รับรายงานจาก นางสาวชนัญญา พรรณรักษา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ จากผลสำรวจ  7 เทรนด์ธุรกิจอาหารของเกาหลีใต้ที่น่าจับตามองในปี 2567 และโอกาสในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการไทยได้แก่

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

1.เทรนด์ระมัดระวังในการใช้จ่าย

  • ที่เป็นผลจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคซื้อชุดอาหารจากร้านสะดวกซื้อหรือทำข้าวกล่องมารับประทาน ส่วนการสั่งอาหาร ก็ไปรับเอง แทนการส่ง นิยมสินค้า Private band (PB) มากขึ้น แม้ลักษณะภายนอกไม่สวยงามเท่ากับสินค้าคุณภาพจากฟาร์ม แต่ด้วยรสชาติที่ใกล้เคียงและราคาถูกกว่า จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น

2.เทรนด์รสชาติใหม่ที่น่าสนใจและการแชร์ประสบการณ์เผยแพร่บนช่องทางออนไลน์

  • เมื่อบริโภคแล้ว มักจะมีการแบ่งปันประสบการณ์ ชี้พิกัดร้านค้า โดยเทรนด์ที่กำลังนิยม เช่น ผลไม้เคลือบน้ำตาล และคุกกี้เกาหลียักกวา รวมถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีรสชาติเผ็ดมากยิ่งขึ้น และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว และร้านอาหารแฮมเบอร์เกอร์ชนิดแฟรนไชส์ในรสชาติเผ็ด

พาณิชย์ เปิด 7 เทรนธุรกิจอาหารเกาหลีใต้ ที่น่าจับตามอง

3.เทรนด์อาหารทานเล่นในอดีตนำถูกมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ 

  • ซึ่งนอกจากเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว ยังต้องการดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ที่เคยมีโอกาสรับประทานด้วย

 

4.เทรนด์ Loconomy

  • การสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นและให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะจากแต่ละภูมิภาค เช่น สินค้าเกษตร และยังให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และ ESG มากขึ้น ซึ่งล่าสุด ได้มีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำอาหารทานเล่น “ต็อก” หรือขนมเค้กข้าว

 

5.เทรนด์สูตรอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบุคคล

  • มีการใช้แนวทางดังกล่าวในหลายเมนูอาหารที่นิยม เช่น แซนด์วิช ชาบูหม่าล่า และคิมบับ ที่ผู้บริโภคเลือกวัตถุดิบตามความชอบส่วนตัวได้ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมผสมตามความชอบส่วนตัว ได้แก่ วิสกี้ไฮบอล และโทนิควอเตอร์

6.เทรนด์ Healthy Pleasure

  • เป็นการเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลลอรีต่ำ แต่ยังคงความอร่อยเหมือนเดิม เช่น เครื่องดื่มไร้น้ำตาล อาหารที่เน้นโปรตีน

7.เทรนด์การบริการแบบไร้พนักงาน

  • ร้านอาหารและร้านค้าต่าง ๆ ได้นำระบบการบริการแบบไร้พนักงาน โดยใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องให้บริการอัตโนมัติแทนมากขึ้น เนื่องจากเงินเดือนขั้นต่ำของแรงงงานได้เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน

“จากเทรนด์การบริโภคทั้ง 7 เทรนด์ข้างต้น ถือเป็นแนวโน้มการบริโภคในปี 2567 ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะบุกเจาะตลาดเกาหลีใต้ ต้องติดตามแนวโน้มของสังคม และความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อจะได้สามารถรองรับและผลิตสินค้าที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขยายความหลากหลายของสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มผู้ใหญ่จนถึงกลุ่มผู้บริโภค Gen MZ หรือกลุ่ม Gen Millenials หรือ Gen Y จะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกได้มากขึ้น”นายภูสิตกล่าว