เปิดแผน "เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

13 ม.ค. 2567 | 13:05 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2567 | 13:17 น.
1.0 k

เปิดแผน“เพิก เลิศวังพง” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ พร้อมอภิโปรเจ็กต์ ปั้นแบรนด์ กยท. สู่ “ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี สารเคมี” สู่นโยบายออกโฉนดต้นยางคํ้ากู้เงิน

ย้อนไป เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 คณะตรัฐมนรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายเพิก เลิศวังพง เป็นประธานกรรมการ หรือประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย คนใหม่  “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “เพิก เลิศวังพง” ถึงนโยบายเด่น ๆ ในการขับเคลื่อนบริหารยางพาราทั้งระบบ หลังเจ้าตัวประกาศขอเวลา 6 เดือน จะผลักดันราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ให้ได้ที่ 60 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อน นโยบาย EU Deforestation Free Regulation หรือสินค้าที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) 100% หากไม่สามารถทำได้ ก็ไม่ขออยู่ต่อ

 

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

ก้าวย่างก่อนขึ้นประธานบอร์ด

นายเพิก กล่าวว่า ตนคลุกคลีอยู่กับวงการยางพารามากว่า 30 ปี เริ่มตั้งแต่ครอบครัวปลูกยางพารา ที่แก่งหางแมว (อำเภอหนึ่งของ จ.จันทบุรี) จนก้าวสู่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งได้เห็นสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจการยางพาราในหมู่บ้านประสบปัญหาการขาดทุนก็ได้ไปช่วยเหลือ โดยดึงสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดที่มีประมาณ 18 สหกรณ์ มาดำเนินธุรกิจ ดีลแรกดึงตัวแทนญี่ปุ่นที่มีบริษัทตั้งอยู่ในประเทศไทย มาเซ็นสัญญา ซึ่งได้ให้เงิน 5 แสนบาท เพื่อให้ซื้อยางส่งไปญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้จดทะเบียนเป็นชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจังหวัดจันทบุรี โดยมีเงินทุนแค่ 36,000 บาท และใช้เวลาเพียงปีเดียวมียอดขายกว่า 40 ล้านบาท มีกำไร 8.7 แสนบาท

 

“ในปีนั้นทั้งผมและชุมนุมสหกรณ์ฯก็มีชื่อเสียงและถูกกล่าวขวัญ หน่วยงานราชการก็นำไปประชาสัมพันธ์ให้เป็นโมเดลต้นแบบเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมนุมสหกรณ์ทั่วประเทศ ในที่สุดก็ขึ้นเป็นเบอร์ต้นๆ ของแกนนำยางพาราที่เจรจากับรัฐบาล หลายอย่างที่รัฐบาลดำเนินนโยบายมาจากการเรียกร้องในอดีตมาสู่การปฏิบัติในปัจจุบันก็ยังมี กระทั่งไม่เห็นด้วยกับการรวมตัว 3 องค์กรยาง ได้แก่องค์การสวนยาง (อสย.), สถาบันวิจัยยาง (สวย.) และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เป็นการยางฯ จึงได้วางมือ แต่ก็ได้จับตามองห่างๆ ล่าสุดได้รับการไว้วางใจจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีเกษตรฯ ให้เข้ามาบริหารยางทั้งประเทศ เป้าหมายเกษตรกรต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ใน 4 ปี”

 

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

ทำราคาขึ้นได้แต่ยังไม่ยั่งยืน

สำหรับ “ยางพารา” มองว่ายังมีอนาคต แต่ต้องดึงความเชื่อมั่น โดยยางพาราเป็นพืชรายวัน คือไปกรีดวันไหนก็ได้เงินวันนั้น มีพืชอะไรที่มหัศจรรย์กว่านี้ไม่มีแล้วที่สำคัญต้องทำมูลค่าเพิ่มให้ยางพารา ซึ่งเชื่อว่าข้อมูลที่ตนมีอยู่ทำแล้วราคายางจะขยับขึ้นได้ แต่มีเงื่อนไข “เราทำให้ขึ้นได้ แต่ยืนระยะไม่ได้” ซึ่งได้บอกชัดเจนตั้งแต่แรก

 “ท่านรัฐมนตรีฯถามว่า ถ้าทำให้ขึ้นแล้วยืนระยะได้ จะต้องทำอย่างไร ผมก็ตอบไปว่าต้องใช้กลไกเยอะ เพราะร้อยปีที่ประเทศไทยปลูกยางพารามา ไม่ได้สร้างกลไกทางการตลาดที่จะชี้นำได้เลย อย่าว่าแต่ชี้นำโลกเลย แม้แต่ชี้นำราคาในประเทศก็ยังทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างใหม่”

แย้ม 3 ทางลัดดันราคาขยับ

สำหรับการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เป็นองค์กรของรัฐ เป็นที่พึ่งเกษตรกรชาวสวนยาง 6 ล้านครอบครัว เป็นคนที่กำกับในเรื่องการซื้อขาย และการค้ายางในประเทศ ถ้ากำกับในประเทศไทยได้ ก็เท่ากับกำกับโลกนี้ได้ด้วย อันดับแรกที่เสนอรัฐมนตรีไปคือ 1.ปราบยางเถื่อนลักลอบนำเข้าจากเมียนมา ที่เวลานี้มีสถานการณ์สู้รบ ทำให้ยางมีคุณภาพตํ่ากว่าหนีขายเข้าไทย 2.ตรวจสต๊อกยางทั่วประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ทำให้ทราบว่าแต่ละโรงงานมีสต๊อก มีสัญญา และจะส่งมอบเมื่อไร และ 3.ยางที่ลักลอบส่งออกโดยไม่เสียภาษี (ยังไม่ได้ดำเนินการ) เพราะแค่เพียง 2 มาตรการราคายางก็ขยับได้จริง

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

จากก่อนหน้านี้ราคาขี้ยาง (ยางก้อน หรือยางก้อนถ้วย) อยู่ที่ 20 บาทต่อกก. ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 30 บาทต่อกก. , ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ ราคา 57.35 บาทต่อ กก. จากก่อนหน้าอยู่ที่ 49.25 บาทต่อกก. โดยมีราคาเป้าหมายราคา 60 บาทต่อ กก. ที่ต้องทำให้ได้ภายใน 6 เดือน พร้อมกับการทำแบรนด์ กยท. อาทิ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี นํ้ากรดยางพารา ยางปราบศัตรูพืช ทุกชนิดที่เกี่ยวกับปัจจัยการผลิต

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

ยกตัวอย่างเคยซื้อปุ๋ยยางแจกเกษตรกรใช้งบ 2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ถ้าทำเอง จะใช้งบประมาณไม่เกิน 1.8 หมื่นล้านบาท โดยมอง 2 รูปแบบคือ ไปจ้างโรงงานผลิต หรือ เช่าโรงงานพร้อมเครื่องจักรผลิตในแบรนด์ กยท. เพื่อจะได้นำเงินส่วนที่เหลือไปพัฒนา 500 ตลาด ในเครือ กยท.ที่มีปริมาณยางซื้อขายเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อปี และเพื่อรองรับ EUDR ที่แจ้งมาแล้วว่ามีความต้องการใช้ยางในโลก 4 ล้านตัน

 

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

 “การทำมาตรฐานตรวจสอบย้อนกลับ จะใช้เป็นธงในการขยับราคา เป็นค่าพรีเมียมสูงกว่าราคายางทั่วไป 3 บาทต่อกิโลกรัม ก็ขอแจ้งพี่น้องชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ ที่มาขายยาง ผ่าน 500 ตลาด ที่ กยท.รับรอง EUDR 100% จะต้องมาขึ้นทะเบียนใหม่ทั้งหมด”

 

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

ออกโฉนดต้นยางคํ้ากู้เงิน

นายเพิก กล่าวอีกว่า กยท.ยังมีแผนจะรับรองโฉนดสวนยางพาราทุกแปลงในประเทศไทย 18- 22 ล้านไร่ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด เกษตรกรสามารถเอาต้นยางมาตีเป็นมูลค่าได้ ยกตัวอย่างมี 10 ต้น ต้นละ 500 บาท สถาบันการเงินจะตีมูลค่าให้กับต้นยางมีมูลค่า 5,000 บาท คล้ายกับทะเบียนรถ เมื่อมีโฉนดแล้วก็สามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันในการกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ โดยเกษตรกรจะต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยต้นยาง (กำลังคิดราคาเบี้ยประกัน)

เปิดแผน \"เพิก” ดันราคายาง 60 บาท ทำไม่ได้ ไม่อยู่ต่อ

 

“ถ้าไม่ได้เอาโฉนดต้นไม้ยางไปกู้ ก็ไม่ต้องทำประกันก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไรที่ต้องกู้ ก็ต้องยอมรับในการเสียเบี้ยประกันด้วย อย่างไรก็ดี ต้องรอความชัดเจนในการประชุมบอร์ด วันที่ 25 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะส่งเรื่องให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ลงนามประกาศคิกออฟต่อไป”

 

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,957 วันที่ 14-17 มกราคม พ.ศ. 2567