"เพิก เลิศวังพง" ท้าเดิมพันดันยางพาราโลละ100

25 พ.ค. 2561 | 11:46 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2561 | 18:46 น.
1.4 k
perk2

เอ่ยชื่อ “เพิก เลิศวังพง” ในหมู่ชาวสวนยางทั้งประเทศรู้กันเป็นอย่างดี ทั้งบู๊และบุ๋นครบเครื่อง ได้มาเป็นหัวหน้าพรรค และเตรียมส่งคนลงสมัครผู้แทนราษฎร ในนาม “พรรคยางพาราไทย” เป็นทางเลือกใหม่ให้กับชาว
สวนยางที่เบื่อการเมืองในแบบเดิมๆ ที่ตอบโจทย์ไม่ตรงกับความต้องการ “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ
เกี่ยวกับที่มาที่ไป และจะทำอะไรให้กับ คนวงการยางพาราบ้าง หากได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้แทนฯและได้ร่วมรัฐบาล

local01
10 ปีรัฐเหลวแก้ราคายาง
“เพิก”  กล่าวว่า พรรคยางพาราไทย ก่อตั้งปี 2554 กว่าจะจดทะเบียน และมีสถานะพรรคการเมืองสมบูรณ์แบบพร้อมที่จะส่งสมาชิกลงเลือกตั้งเพื่อเป็นตัวแทนของพี่น้องเกษตรกร ก็ติดจังหวะที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ ทุกอย่างก็เลยต้องยุติกิจกรรมทุกอย่างลงไป ก่อนที่จะมาตั้งพรรคย้อนหลังไป 10 ปีหลายรัฐบาลไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องราคายางได้ ทางพรรคถึงมีมติที่มาจัดตั้งพรรค ไม่ใช่เป็นเพราะมีรัฐบาลทหารจึงมาตั้งพรรค

“ในอดีตมีปัญหาก่อม็อบ ปิดถนน ปิดกระทรวง นั่งโต๊ะเจรจา ตั้งตัวแทนเป็นคณะทำงาน สุดท้ายอยู่ในลิ้นชัก ซึ่งทั้งหมดเป็นประสบการณ์สอนว่า ถ้าเราไม่มีอำนาจเองไม่มีทางที่จะสำเร็จ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือต้องมีอำนาจเอง วันนี้พี่น้องชาวสวนยางมีกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของคนทั้งประเทศประมาณ 60-70 ล้านคน ทำไมไม่มีตัวแทนชาวสวนยางเลยแม้แต่คนเดียว”

พรรคการเมืองปัจจุบันจะเห็นว่ามีความหลากหลายอาชีพ ถ้าเปรียบพรรคการเมืองเป็นโรงพยาบาล ผมจะเป็นคลินิคแพทย์เฉพาะทาง เพราะฉะนั้นความเชี่ยวชาญของผมมีไม่แพ้คนอื่นแน่นอน โจทย์วันนี้ทำไมยางพาราราคาตก ผมตอบได้ทุกคำถาม  ทุกวันนี้ที่ราคายางตกตํ่า เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ
ยางพารา “3 ปีดูรัฐบาลทำงานมานานแล้วไม่ตอบโจทย์  วันนี้จำเป็นต้องโดดลงมาช่วยรักษาการณ์ เพราะ 1.เคยเป็นเพื่อนเก่า 2.มีผู้ใหญ่หลายคนขอให้ช่วย  ผมได้เสนอข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์ อันไหนฮือฮาแปลกใหม่ ส่วนหนึ่งไปจากแนวคิดของผม และยังมีอีกเยอะ ยังปล่อยไม่หมด ไม่ได้หวง แค่ผ่านผู้ว่าฯ ที่ไม่ได้แนวคิด ยังสร้างแรงกระเพื่อมได้ หากอยู่ในมือเรา บวกกับความเชี่ยวชาญที่มี ผมเชื่อว่าจะทำให้หลุดกับดักความยากจน ทำไมผมกล้าพูด  ผมก็เป็นเกษตรกรเหมือนคนอื่น ไม่ได้มีที่ดินมากกว่าคนอื่น แล้วที่ดินผมก็ไม่ได้ที่มีโฉนด ตัวผมอยู่ในป่าสงวน 100% ทำไมผมมีชีวิตเหมือนคนมีเงินทั่วไปได้ เมื่อปี 2546 ผมทำสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี จำกัด เริ่มต้นทำมีเงินลงทุนเพียง 3.6 หมื่นบาท ผ่านไป 9 ปี กิจการมีรายได้ 3 พันกว่าล้านบาทต่อปี ผมถามว่าผมฟลุกมั้ย”

ข้อมูลยางไทยไร้เจ้าภาพ

“เพิก” กล่าวว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของหน่วยงานสักหน่วยงานหนึ่ง วันนี้เราต้องการอะไร ตัวเลขของยางทั้งหมด ที่มีอยู่ในเมืองไทย ตอบได้หรือไม่ ตอบไม่ได้ แล้วแยกย่อยลงไประดับจังหวัด ระดับภาค จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่เท่าไร แล้วมีโรงงานเท่าไร ใช้ยางในจังหวัดเท่าไร ส่งออกเท่าไร ในแต่ละปี มีเกษตรกรกี่ราย นครศรีธรรมราชยังต้องการโรงงานอีกหรือไม่ หรือโรงงานมากเกินกำลังผลิตของเกษตรกรที่ทำได้ ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีเลย หรือมีแต่ไม่เคยมีใครคิดเอาไปรวม หรือใช้ประโยชน์จากข้อมูล

“เพิก” กล่าวว่า วันนี้ทุกคนไปมุ่งที่ 5 เสือส่งออกยางพารา ถามว่าคุณจะกลัวอะไร บริษัทเหล่านี้มีอำนาจเท่ากับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) หรือไม่  มีกฎหมายเป็นของตัวเองหรือไม่ ก็ไม่มี แถมยังอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ในขณะที่ กยท. มีกฎหมายในมือ มีแต้มต่อเยอะไปหมด แต่ทำไมสู้ไม่ได้  ก็เกิดจากผู้บริหาร หากได้ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถด้านยางพาราจริงๆ สิ่งที่ผมจะทำเป็นอันดับแรกหากได้เข้ามาเป็นผู้แทน คือระบบฐานข้อมูลทั้งหมด ฟื้นโรงงาน กยท.ทั้งภาคเหนือ อีสาน ใต้ กำลังการผลิตเป็นแสนตันต่อปี  จับมือกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกร ให้ร่วมมือกับ กยท. เพราะยางพาราก่อนที่จะไปถึงมือบริษัทใหญ่ อยู่ที่ใครก่อน เราแค่อุ้มไว้ก็จัดสรรแค่นี้ บริษัทใหญ่ก็ตายแล้ว  มองว่าไม่ใช่คู่แข่ง ต้องมาร้องขอด้วยซํ้าไป ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำแบบที่ผ่านมาไปเรียกเขาเป็นกุนซือ มันตลกดันโค่นยางแลกหุ้นโรงงาน
20171106155222443 วันนี้รัฐบาลมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกยาง  ไม่เห็นด้วย  จะลดทำไม ในเมื่อไทยเป็นเบอร์ 1 เรื่องปลูกยางก็ต้องมีผลผลิตมาก ทำไมไม่จัดการต้นยางที่อยู่ผิดที่ ทำให้ถูก มีวิธีที่ดีกว่านอกจากการไปโค่น เพราะฉะนั้นใช้วิธีอื่น แต่ถ้ามีส่วนหนึ่งอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องไม่อยากทำอาชีพยางพาราแล้ว  จะให้ไปเลี้ยงปศุสัตว์แทนอาจจะเจ๊ง อาจจะมีทางเลือกให้ คือ โค่นยางเอาเงินไปลงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางจะได้ 2 เด้ง ก็คือ เด้งที่ 1 ลดซัพพลาย เด้งที่ 2 มูลค่ายางที่เพิ่มขึ้นเหมือนมีหุ้นส่วนในโรงงานเป็นเจ้าของโรงงาน  แบบภาคสมัครใจ

“ยกตัวอย่าง รัฐสำรวจเอาพื้นที่ภาคอีสาน สร้างโรงงาน 1 โรง เป็นโรงงานยางแท่ง ต้องใช้พื้นที่ 1 หมื่นไร่ โรงงานนี้ใช้ลงทุน 500 ล้านบาท เกษตรกรอย่างผมอยู่จันทบุรี อาจจะเลิกปลูก 50 ไร่ ผมจะโค่นยาง 50 ไร่ทิ้งตามนโยบายรัฐลดพื้นที่ปลูก แต่รัฐที่จะจ่ายเงินไร่ละ 1 หมื่น หรือ 2 หมื่น เอามาให้ผม ผมก็เอาไปเป็นทุนร่วมกับโรงงาน เอาไปถือหุ้น 1-2 ล้านบาท ตามมูลค่าพื้นที่ที่ลดลง แล้วพื้นที่นั้นต้องห้ามไม่สามารถกลับมาปลูกยางได้อีกจนกว่าจะครบเงื่อนไขที่ตกลงไว้ตามครบอายุยาง 30 ปี ในกรณีที่แปลงที่โค่นยางไป ตอนอายุ 15 ปี ก็ต้องไม่กลับไปปลูกยางอีก 15 ปี ถึงจะมีความเป็นธรรม หากผมเข้ามาบริหารมั่นใจว่าจะทำให้ราคายางแผ่นดิบไปที่กิโลกรัม 100 บาท บวกลบ ใครบอกว่าเป็นไปไม่ได้ผมจะทำให้ดู”

สำหรับ เพิก เลิศวังพง ประวัติการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโทรัฐศาสตร์ การจัดการทางการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี จำกัด ,ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด,อดีตกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542, กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (บอร์ด)

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,368 วันที่ 24-26 พ.ค. 2561
e-book-1-503x62-7