Easy e-Receipt มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา โดยสามารถนำใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เท่านั้น จากการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ประกอบการทั่วไป เฉพาะค่าซื้อหนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ซึ่งจะไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีในรูปแบบกระดาษได้
โดย Easy E-Receipt มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
- กระตุ้นการบริโภคในประเทศ รัฐบาลต้องการกระตุ้นการบริโภคในประเทศในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ มาตรการนี้จึงให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ที่ใช้จ่ายเงินในประเทศ โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาท
- สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีและการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือผู้ประกอบการทั่วไปที่ออกใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เท่านั้น จึงจะเข้าร่วมมาตรการได้ ซึ่งจะเป็นการผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีและการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
- ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและการอ่าน มาตรการนี้กำหนดให้สินค้าหรือบริการที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นสินค้า OTOP และหนังสือ e-Book ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและส่งเสริมการอ่านของประชาชน
รายละเอียดของมาตรการ จากข้อมูลกรมสรรพากร มีดังนี้
- ผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่นับรวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ซื้อสินค้า หรือ บริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งในรูปแบบปกติ และในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) รวมถึงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
- เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 15 กุมภาพันธ์ 2567
สำหรับร้านที่เข้าร่วมมาตรการ “Easy E-Receipt” มีดังนี้
- ค้าปลีก : Central / Tops, 7-eleven, Lotus, Gourmet Market Online, Big C, Robinson, Tha Mall, Emporium, Siamparagon, Emsphere, Emquartier, ฟู้ดมาร์เก็ต, Siam Takashimaya, ICONSIAM
- ค้าส่ง : Makro, Go Wholesale
- ค้าปลีกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : Uniqlo, Puma, supersport
- อิเล็กทรอนิกส์ : Banana, Studio 7, มั่งคง gadget, IT City, Powerbuy,
- ร้านอาหาร : Sizzler, โออิชิ, พารากอน ฟู้ด ฮอลล์, เบทาโกร เรสเทอรองท์, กุ๊ย ข้าวต้มหยาง,สเวนเซ่นส์, Starbuck, Bar B Q Plaza, Sukishi (มีแค่บางสาขา)
- ค้าปลีก ก่อสร้าง ตกแต่งที่อยู่อาศัย : Homepro, Loft, Index livingmall
- ค้าปลีกเครื่องสำอาง : watsons
- เครื่องใช้ไฟฟ้า : Powerbuy, Verasu, Dyson
- ร้านหนังสือและเครื่องเขียน : Naiin, b2s, Se-ed, Kinokuniya
ส่วนร้านที่ไม่เข้าร่วมมาตรการ “Easy e-Receipt” มีดังนี้
ค้าปลีก : Foodland, วิลล่า มาร์เก็ต
ร้านอาหาร : Red sun, Hachiban Ramen, Maguro,Masaru, Copper, Saemaeul, ตี๋น้อย, สุกี้ MK
ค้าปลีกเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย : Muji, Zara,Nike, adidas, under armor