ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

14 พ.ย. 2566 | 12:56 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2566 | 15:49 น.
645

ชาวนาเฮลั่น หลังรับทราบข่าวดี ครม.ไฟเขียว “เงินช่วยเหลือชาวนา” จ่ายค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาทไม่เกิน 20 ไร่ ครัวเรือนละ 20,000 บาท ครอบคลุม 4.68 ล้านครัวเรือน

พลันที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)  มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอตามที่คณะกรรมการบริหารและจัดการข้าวแห่งชาติ (นบข.) เสนอมาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวนา (ค่าเก็บเกี่ยวข้าว)ไร่ละ 1,000 บาท หรือ "เงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท"  ภายใต้โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท นั้น

ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

 

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในฐานะนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยขอขอบคุณรัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยเหลือชาวนาและเข้าใจถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยออกมาตรการพักชำระหนี้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3 ปี (สำหรับเกษตรกรรายย่อย ภาระต้นเงินรวมทุกสัญญาไม่เกิน 300,000 บาท)  เพราะการพักหนี้ พักดอกเบี้ยนี้จะช่วยชาวนาลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและสภาพคล่องได้มาก  ทำให้ชาวนามีรายได้เหลือมากขึ้น ลดการไปก่อหนี้นอกระบบเพิ่ม และพอมีทุนหมุนเวียนในรอบต่อไป

 

 

อีกทั้งต้องขอขอบคุณที่รัฐบาลอนุมัติเงินช่วยเหลือชาวนา "โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตผู้ปลูกข้าว" จำนวนเงินไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่  หรือไม่เกิน 20,000 บาท เพราะโครงการนี้มีความสำคัญต่อชาวนาเป็นอย่างมาก  ช่วยให้เกษตรกรชาวนาได้นำเงินส่วนนี้ไปเป็นทุนสำหรับฤดูการผลิตรอบถัดไป หรือนำไปต่อยอดพัฒนาปรับปรุงแปลงนาของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

อีกทั้งโครงชะลอการขายข้าวเปลือก โดยเฉพาะชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว เพราะชาวนามียุ้งฉางของต้นเองจะได้รับประโยชน์โดยตรง ทั้งค่าเก็บฝากตันละ1,500 บาท และหากราคาอยู่ในระดับพอใจ ก็สามารถไถ่ถอนออกมาขายได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินก็ค่อย ๆ นำออกมาขาย  ที่สำคัญเป็นการสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวนาที่ยังมียุ้งฉางของตนเองอยู่  ถือเป็นการดำเนินการโดยชาวนาเองที่เป็นเจ้าของข้าวเอง

ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

อย่างไรก็ดี อยากจะฝากเน้นย้ำกับพี่น้องเกษตรกรว่า แม้จะมีการพักหนี้ แต่เราก็ยังจำเป็นต้องควบคุมเรื่องวินัยการเงินอย่างมาก เพราะยอดหนี้ทั้งหมดก็ยังคงอยู่ เมื่อครบ 3 ปี ก็ยังจะต้องชำระคืนต่อเช่นเดิม  ส่วนเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ก็ควรที่จะนำไปใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุด คือนำไปพัฒนาปรับปรุงแปลงนาให้มีประสิทธิภาพจริง โดยคำนึงถึงเสมอว่าเงินส่วนนี้เป็นเงินทุนที่จะต้องนำไปลงทุนต่อยอด โดยไม่นำไปใช้จับจ่ายในสิ่งที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์หรือสูญเปล่า

 

 

นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า  สมาคมชาวนาฯ ยังอยากเห็นเรื่องของ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนมาก เช่น เรื่องแหล่งน้ำ ทั้งน้ำบนดินและใต้ดิน การพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะ และคลองส่งน้ำ คลองซอยต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักของการทำการเกษตร   รวมถึงเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวทั้งพื้นนุ่ม พื้นแข็ง ทั้งพันธุ์ที่มีกลิ่นหอม และพันธุ์ที่ไม่มีกลิ่นหอม จะต้องเพิ่มให้มีผลผลิตสูงอย่างน้อยข้าวเกี่ยวสดต้องให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1,200-1,300 กิโลกรัม (กก.)ต่อไร่ หรือข้าวแห้งต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 กก.ต่อไร่ เนื่องจากการลดต้นทุนเองก็มีขีดจำกัด

ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

“กล่าวคือลดได้ต่ำสุดถึงเพียงแค่จุด ๆ หนึ่ง  และแม้ชาวนาจะลดต้นทุนได้แล้ว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศ โรคพืชโรคแมลง หรือ แม้แต่ปัจจัยต่าง ๆ นอกเหนือการควบคุม จนเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้  ดังนั้นจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิตเข้ามาร่วมกับลดต้นทุนควบคู่ไปด้วยกันจึงจะได้ผลลัพธ์ตามที่คาด” นายกสมาคมชาวนาฯ กล่าวย้ำในตอนท้าย

อนึ่ง มติครม. เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา เห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยให้สินเชื่อชะลอการขายข้าวในช่วงต้นฤดูข้าวนาปี 66/67 2 มาตรการ โดยมีเป้าหมายการนำข้าวออกจากระบบ 4 ล้านตัน จากปริมาณข้าวที่ออกมาสู่ตลาด 10 ล้านตัน 

1. สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี มีเป้าหมาย 3 ล้านตัน วงเงิน 10,120.71 ล้านบาท ช่วยค่าฝาก 1,500 บาทต่อตันโดยให้สหกรณ์รับ 1,000 บาท/ตัน และเกษตรกรรับ 500 บาท/ตัน โดยให้เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง 1-5 เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 2566 ถึง 29 ก.พ. 2567 ในราคาข้าวหอมมะลิตันละ 12,000 บาท ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวหอมมะลิปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท ข้าวเหนียวตันละ 10,000 บาท หากราคาข้าวขึ้น รวมถึงเกษตรกรรายย่อยที่มียุ้งฉางด้วย 

ชาวนาขอบคุณรัฐบาล ทำตามสัญญา จ่ายเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท

2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีเป้าหมาย 1 ล้านตัน วงเงิน 481.25 ล้านบาท สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.85% ระยะเวลา 15 เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 2566 ถึง 30 ก.ย. 2567