บิ๊กธุรกิจ แห่ใช้ AI “WHA-ปตท.-SCBX” ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน

24 ส.ค. 2566 | 14:18 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ส.ค. 2566 | 14:53 น.

ยักษ์ธุรกิจไทย เชื่อ AI เปลี่ยนโลก WHA เร่งนำ AI มาประยุกต์ใช้ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก หลังประสบความสำเร็จก้าวสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ปตท. มอง AI มาช่วยเพิ่มมูลค่ากลุ่มธุรกิจน้ำมัน และก๊าซ ประมาณ 2.7-4.19 แสนล้านบาท ส่วน SCBX ตั้งเป้ารายได้ 75% มาจาก AI อีก 5 ปีข้างหน้า

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  WHA กล่าวในงานเวที AI Revolution.. AI : เปลี่ยนโลกธุรกิจ จัดโดยหนังสือพิมพ์”กรุงเทพธุรกิจ” ว่า WHA สนใจนำ AI มาประยุกต์ใช้ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก 

บิ๊กธุรกิจ แห่ใช้ AI “WHA-ปตท.-SCBX” ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน

1.ธุรกิจพัฒนาและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Logistics Business)  2. ธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรม (Industrial Development Business) ธุรกิจให้บริการสาธารณูปโภคและพลังงาน (Utilities & Power Business) ธุรกิจให้บริการด้านดิจิทัล (Digital Platform Business)  โดยปี 2563 WHA เริ่มทรานฟอร์มธุรกิจ   ซึ่งขณะนี้ WHA เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแล้ว 

AI โลจิสติกส์ นั้นเรามองเรื่อง กรีนโลจิสติกส์  โดยมีโซลูชันสำหรับลูกค้า  อาทิ EV Fleet leasing  EV battery EV Charging Service  นำ AI มาใช้จัดการทราฟฟิค ในนิคมอุตสาหกรรม  โซล่ารูฟ มากว่า 100 โลเคชัน  มีแพลตฟอร์มดูแลการใช้ไฟ    และมีแพลตฟอร์มดูแลจัดการบริหารน้ำ ที่มี AI และ แมชีนเลิร์นนิ่ง เข้ามาช่วยจัดการข้อมูล  ส่วนเรื่อง Chat GPT นั้นมีการเทรนนิ่งคน  สร้างไพรอทยูสเคสขึ้นมา ปัจจัยที่ทำให้ WHA สามารถไปสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูล  และเทคคอมพานี ได้มาจากการผสมผสานวัฒนธรรมองค์กร  มีการเทรนนิ่งคนที่เดิมเป็นคนสร้างโครงสร้างพื้นฐานนิคมอุตสาหกรรมขึ้นมา   และดึงคนรุ่นใหม่ๆ ที่ขาดเข้ามา  ซึ่งระหว่างที่ยังไม่พร้อมนั้นก็มีการจับมือ หรือ สนับสนุนสตาร์ทอัพ

นางสาวจรีพร  กล่าวต่อไปอีกว่า  รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน  กฎหมายที่เป็นอุปสรรคของสตาร์ทอัพ  สร้างซัพพลายเชน  สร้างคน   รวมถึงพิจารณาสิทธิประโยชน์  สร้างให้เกิดการลงทุน

AI เพิ่มมูลค่าธุรกิจน้ำมัน 4.19 แสนล้าน

ด้านนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า AI  ได้เข้าไปทุกวงการ เริ่มจากพัฒนาการมุมมองโลกมาเป็น AI ปัจจุบัน หากย้อนปี 1975-1995 จะเป็นฮาร์ดแวร์ ที่เป็นทีมเอ็นจิเนียร์ และพัฒนามาเป็นซอฟต์แวร์ สู่การพัฒนาเป็นดาต้าในปัจจุบัน

บิ๊กธุรกิจ แห่ใช้ AI “WHA-ปตท.-SCBX” ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม AI   ที่พูดถึงถือเป็นยุคความรู้แจ้ง คือ ถามไปตอบได้หมด เราจะเห็นว่าการพัฒนาด้านดิจิทัล จากกวันนี้จะสามารถไปต่อและไม่หยุดนิ่ง เพราะเป็นเรื่องอนาคต คือ AI จะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และต่อมาจะเกิดสังคมใหม่ที่มนุษย์ต้องอยู่อย่าง AI  ในหลายรูปแบบ ซึ่ง AI  อาจจะไม่ใช่แค่คิด เพราะวันหน้าจะมีสิ่งใหม่ ๆ รออยู่ในหลากหลายรูปแบบ

"ปัจจุบันการประกาศรับสมัครงาน จะต้องมีความรู้ความสามารถด้าน AI โดยชื่อตำแหน่งงานที่สมัครจะต่างจากยุคก่อน ที่จะมีตำแหน่งงานที่แปลกขึ้นมามากมายเกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นเก่า ๆ จะไม่คุ้นกับชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ"

นายอรรถพล กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ได้ใช้ AI & Robotics ต่อภาคธุรกิจ    โดยจากข้อมูลจะเห็นว่า AI ช่วยยกระดับ GDP โดยอาเซียนสามารถช่วยยกระดับ GPD ได้  13%  ในปี 2030    โดยไทยเป็นอันดัน 2 ที่ทำเรื่องอีโคโนมี ถือเป็นโอกาสของ ปตท. และประเทศไทย ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่จะนำ AI & Robotics มาใช้ คือทำให้ Robotics ฉลาดด้วย AI เพราะภาคอุตสาหกรรมหนีไม่ได้ จะเห็นได้ว่าการใช้ AI มาช่วยในกลุ่มธุรกิจออยส์แอนด์แก๊ส จะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าเบื้องต้นระดับ 8,000-12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ   หรือ ประมาณ 2.7-4.19 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ปตท. ได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering Life with future energy and beyond” หรือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งชีวิต” ซึ่ง  1 ใน 5 คือ AI & Robotics ซึ่งมี  3-4 แอร์เรียที่โฟกัสและนำมาช่วยธุรกิจในเรื่องของพลังงานและแก๊ส โดยเทคโนโลยีด้านพลังงานจะเป็นโลกปัจจุบันที่อยากให้เป็นคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายประเทศไทยที่ประกาศสู่ Net Zero ในปี 2065

"การจะสู่เป้าหมาย Net Zero จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานในบรรทัดฐานเดียวกับที่ชาวโลกทำ เช่นนโยบายคาร์บอนเครดิต ที่สามารถซื้อขายได้ เพราะทั่วโลกมีมาตรการกีดกันทางการค้า ซึ่งไทยยังใช้คาร์บอนเครดิตยังไม่ได้ ดังนั้นระบบทำคาร์บอน ฟุตพรินท์ จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการซื้อขายระหว่างประเทศได้ แม้ราคาไม่เท่ากัน"

นอกจากนี้ ปตท. ใช้ดาต้าในการวางเน็ตเวิร์คสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จะทั่วประเทศ รวมถึงระบบซื้อขายพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน เพราะนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกต่างต้องการใช้พลังงานสะอาด การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มจะช่วยเครมได้ว่าโรงงานใช้พลังงานสะอาดเท่าไหร่ ส่วนระบบนิคมอุตสาหกรรมจะมีแอปพลิเคชั่นแพลตฟอร์มที่ทำให้สมาชิกในนิคมฯ สามารถผลิตและแลกเปลี่ยนพลังงานกันได้ ถ้าเหลือก็ขายเข้ากริดได้ ถือเป็นการเอา AI เข้าช่วย ซึ่งปตท. เริ่มปรับระบบมา 2-3 ปีแล้ว

ในขณะที่การพัฒนาด้านเฮลท์ เทคโนโลยี ปตท. ได้ร่วมกับทรู   ในเรื่องของการแพทย์ ผ่านแอปพลิเคชั่นหมอดี  เพราะการแทพย์มีการรักษาหลากหลายรูปแบบ จะเห็นว่าดีเอ็นเอของมนุษย์สามารถทำนายโลกได้ว่า แนวโน้มจะมีความเสี่ยงเป็นโรคอะไร จะช่วยลดงบประมาณประเทศได้ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ AI มาประเมิณผล เก็บตัวอย่าง และข้อมูล เพราะดีเอ็นเอแต่ละเผ่าพันธุ์ไม่เหมือนกัน

ส่วนการนำเทคโนโลยีมาช่วยในเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม เพราะในการแข่งขันต้นทุนต้องดี AI จะมามีส่วนช่วยมาก จะต้องพัฒนาเครื่องจักร เครื่องยนต์ให้ฉลาด สามารถพยากรณ์ได้ว่าเครื่องจักรมีปัญหาตรงไหนก็สามารถเข้าไปซ่อมได้ พร้อมใส่ระบบเซ็นเซอร์เข้าไปในศูนย์ควบคุม จะช่วยลดวิศวกรและลดอุบัติเหตุลงได้ และอีกขั้นคือ การให้ AI คุยกันเองสู่กระบวนการสื่อสารระหว่าง AI ด้วยกัน จะมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ เข้ามาช่วยเสริม ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลอยากเห็นคือ ไทยแลนด์ 4.0

"เรื่องคลาวด์ก็สำคัญ เราจับมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกหลายบริษัท เพื่อทรานฟอร์มประเทศ เราสามารถดีไซน์องค์กรจากข้อมูลดาต้า ดูแลเก็บรักษาให้ พร้อมวิเคราะห์โมเดลธุรกิจให้   ซึ่ง ปตท. ได้ปรับโครงสร้างบริษัท เมฆา วี จำกัด (MEKHA V) เพื่อรองรับการลงทุน AI & Robotics ตามแผนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ของ ปตท. ซึ่งจะทำหน้าที่ผลักดันธุรกิจ AI & Robotics ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และให้บริการทั้ง Cloud, Digital platform และ application รวมถึง Energy อย่างครบวงจร"

ทั้งนี้ เมฆา วี ได้ออกโปรดักส์ อาทิ โดรนเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งขณะนี้มีโดรนการเกษตร ชื่อ เจ้าเอี้ยง ที่ใช้งานได้จริงโดยสหกรณ์การเกษตรเริ่มจองเข้ามาแล้ว ปตท. จึงหวังว่าจะจุดพลุวงการการเกษตรในประเทศไทย

นายอรรถพล กล่าวว่า สิ่งที่อยากฝากรัฐบาลคือ พื้นฐานที่สำคัญที่ประเทศไทยยังขาดคือ ชิป เพราะไทยไม่มีโรงงานผลิตชิปอย่างจริงจัง เพราะอยู่ในเรื่องการทำชิปแพคเกจจิงมากกว่า จึงอยากให้รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจในการทำชิป และสุดท้ายอยากบอกว่าประเด็นในเรื่องของ Cybersecurity สำคัญ เพราะปัจจุบันการแฮคข้อมูลเกิดขึ้นง่าย ดังนั้น การแก้ปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์จึงสำคัญ

"เราพูดถึงโลกของ AI จึงอยากให้ฉุดคิดว่าหากเกิดการแฮกข้อมูลจะแก้ปัญหาอย่างไรให้เท่าทัน เพราะโลกเราโดนไวรัสจากธรรมชาติคือ โควิด-19 ทำให้ทุกอย่างหยุดไปเลย ดังนั้น จึงต้องระวังเรื่องของไวรัสจากการสร้างดิจิทัลด้วยมือมนุษย์"

ทั้งนี้ เครื่องมือที่ ปตท.ใช้ทำให้องค์กรยั่งยืน คือ การ Organization บุคลากรให้เหมาะกับการดำเนินธุรกิจตามการเปลี่ยนแปลงที่อยากให้เป็น บริหารจัดการคนให้เหมาะกับงาน สร้างองค์กรให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจ แต่ละโมเดล และอีกอย่างที่สำคัญ คือ การสื่อสาร ซึ่งปตท. ได้ปรับวิสัยทัศน์ได้ตรงจุด คือ การเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้ทุกคนในองค์กรเห็นเส้นทางที่จะไป และไปในเส้นทางเดียวกัน

SCBX ปรับวิสัยทัศน์มุ่งสู่ AI First 

ส่วนดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า แม้ว่า SCB จะเป็นธุรกิจการเงินที่ใหญ่เป็นเบอร์ต้นๆ ของประเทศไทย แต่การตั้งเป้าเป็น AI First Organization กลับไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น  ถ้าย้อนเวลากลับไป เวลาที่เราพูดถึงการมาของบิ๊กดาต้านั้น ในตอนที่เรายังเป็น SCB ยังไม่ 10x เรามองว่าเราต้องจริงจังในเรื่องของการทำดาต้าให้เกิดประโยชน์ เพราะจะเป็นโอกาสทางธุรกิจและแนวทางในอนาคต เราจึงเริ่มลงทุนจัดเก็บข้อมูลเพราะเรามีข้อมูลของลูกค้าเยอะมาก แต่จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บิ๊กธุรกิจ แห่ใช้ AI “WHA-ปตท.-SCBX” ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน

SCB มีการลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูล   มีการจ้างวิศวกรใหม่กว่า 600-800 คนเพื่อเข้ามาเสริมทีมในการจัดเก็บและจัดเรียงข้อมูล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์   อย่างไรก็ตามไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อทำไปสักระยะหนึ่งพบว่าบุคลากรน่างานไม่ให้ความร่วมมือเต็มที่  เนื่องจากกลัวว่าเทคโนโลยีจะมาแย่งงาน    เราต้องกลับมาคิดใหม่ทำใหม่หมด   โดยเปลี่ยนมาเป็น SCBX   แล้วตั้งบริษัทลูกค้าขึ้นมา   โดยโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ดีอยู่แล้ว   แต่เสริมบางสิ่งบางอย่างเข้ามา  โดยมีบริษัทลูก  คือ ดาต้าเอกซ์  ใกรจัดเก็บข้อมูล ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน   และจัดเก็บถูกต้องตามกฎหมาย  รวมไปถึงดูแลข้อมูลให้ปลอดภัย

นอกจากนี้ยังได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ ไปสู่ AI First   ที่มีรายได้ 75% มาจาก AI ใน 5 ปีข้างหน้า    สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ องค์กรต่างๆ ในบริษัทลูกนั้น ต้องตระหนักว่าจะทำตามเป้าหมายขององค์กรอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ก็ปรับเปลี่ยนจากคนมาเป็น AI นั้น อย่าหวังว่าจะเปลี่ยนได้ทั้งหมด ภายในเวลาอันสั้น เพราะการนำ AI ไปใช้ในทุกส่วนนั้น ต้องผลักดันทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ซึ่งถ้าอยากทำให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานก็ต้องทำให้ง่ายและกว้าง ออกแบบเครื่องมือให้ตอบโจทย์การใช้งานได้มากที่สุดแบบง่ายๆ

นอกจากนี้ ในเชิงลึก  SCBX มีทีมวิจัย และพัฒนา  ซึ่งต้นน้ำจำเป็นต้องมีการพัฒนาเชิงลึก   ที่มีความสามารถการพัฒนา เช่น Chat GPT  มีความสามารถด้านภาษาไทยไม่แข็งแรง  สิ่งที่   SCBX  กำลังทำ คือ  SCBX Financial  GPT  ที่มีความสามารถภาษาไทย    เข้าใจกฎระเบียบแบงก์ชาติ  และกฎหมายไทย  ซึ่งต้องใช้เวลา  และพลังงานสูงมากในการพัฒนา  ซึ่งถ้าหากสามารถทำได้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ   SCBX ระยะยาว

ส่วนสิ่งที่ยากที่สุดในการเป็นองค์กรที่มี AI เป็นตัวนำ คือ วัฒนธรรมองค์กร เชื่อว่าทุกองค์กรมีเงินลงทุนอีโคซิสเต็ม มีเงินจ้างพนักงานเก่งๆ แต่ถ้าไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่หลงใหลไปกับ AI หรือเต็มใจที่จะใช้งานเครื่องมือต่างๆ ที่พัฒนาด้วย AI เป้าหมายที่เราตั้งไว้ย่อมเป็นเรื่องยาก

ดังนั้น เราจึงผลักดันให้ AI เป็นเรื่อง SoftSite มากกว่า HardSite สิ่งนี้ยังเป็นเจอร์นี่ที่ต้องทำให้สำเร็จ เช่นเดียวกับความคาดหวังให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันผลักดันเรื่องเทคโนโลยี AI ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด