นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

07 ส.ค. 2566 | 14:59 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ส.ค. 2566 | 17:16 น.

นายกประยุทธ์ ลุยตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT 1) ทอท.พร้อมเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ 28 กันยายนนี้ ก่อนเปิดเต็มรูปแบบต้นปี 2567 รับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 15 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 60 ล้านคนต่อปี ส่วนรันเวย์ 3 พร้อมให้บริการปี 67

วันนี้ (7 สิงหาคม 2566) เวลา 14.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ตรวจความพร้อมการเปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) 

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะฯ ได้ตรวจความพร้อมตามเส้นทางผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศเพื่อเดินทางไปยังอาคาร SAT-1 โดยใช้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกตลอดจนระบบต่างๆ ภายในอาคาร SAT-1 และรับฟังความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3

 

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

 

  •  

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการต่างๆ ภายใต้แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยหลายโครงการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ สนับสนุน และติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด แต่ที่ให้ความสำคัญวันนี้คือส่วนของอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ซึ่งก็พบว่าในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยตัวอาคารได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จและได้มีการติดตั้งระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนแล้ว

สำหรับระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover: APM) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าระบบล้อยางแบบไร้คนขับซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับ - ส่งผู้โดยสาร ระหว่างตัวอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคาร SAT – 1 และครั้งนี้ทางคณะก็ได้ทดลองใช้บริการด้วย ก็มีความพร้อมสำหรับให้บริการเช่นเดียวกัน 

โดยผู้บริหารของ ทอท. ได้รายงานให้ทราบระหว่างการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมว่าทั้งอาคาร SAT-1 ระบบ APM  ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นี้ จะเปิดให้บริการ แบบ Soft opening ในปลายเดือน ก.ย. นี้ ก่อนเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2567 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปีต่อไป

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อีกโครงการที่ทางคณะได้ติดตามความคืบหน้าวันนี้คือ การพัฒนาทางวิ่ง หรือ รันเวย์ เส้นที่ 3 ซึ่งพบว่ามีการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 73 คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนก.ย. 66 และมีแผนจะเปิดใช้งานในเดือน ก.ค. 67 ซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 68 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

“การเปิดใช้งานอาคาร SAT – 1 การก่อสร้างรันเวย์ เส้นที่ 3 และโครงการอื่นๆ ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากจะเป็นการวางพื้นฐานที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของประเทศแล้ว ยังเป็นการรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการบินของประเทศในอนาคต ทำให้ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสามารถรองรับนักเดินทาง จากทั่วโลก ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และสร้างความประทับใจแก่ผู้เดินทางที่เดินทาง มาเยือนประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

นี่คือสิ่งที่รัฐบาล ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งมั่น ขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ซึ่งทุกอย่างทำได้ก็ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายทุกหน่วยงาน ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกๆ หน่วยงานและ ภาครัฐ เอกชน เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ขับเคลื่อนโครงการสำคัญนี้ได้สำเร็จ  ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

  • อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (อาคาร SAT-1) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สำหรับ อาคาร SAT-1 เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา ทสภ. ระยะที่ 2 สถาปัตยกรรมของตัวอาคารได้ออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building) ซึ่งใช้เป็นระบบ Modular ที่ก่อสร้างได้รวดเร็วและใช้วัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่าย

อีกทั้งยังคำนึงถึงการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Design) เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงาน โดยอาคาร SAT-1 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตารางเมตร ตัวอาคารมีความสูง 4 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น

  • ชั้น B2 เป็นพื้นที่สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover Station: APM Station)
  • ชั้น B1 เป็นพื้นที่ห้องงานระบบ ชั้น G เป็นพื้นที่สำหรับระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ และพื้นที่สำนักงาน
  • ชั้น 2 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้าและพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเชื่อมต่อเที่ยวบิน
  • ชั้น 3 เป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก มีพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสารรอขึ้นเครื่องเป็นแบบ Open Gate และมีร้านค้าตลอดแนวทางเดิน
  • ชั้น 4 เป็นพื้นที่สำหรับห้องรับรองสายการบิน

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

อาคาร SAT - 1 มีหลุมจอดประชิดอาคารทั้งหมด 28 หลุมจอด สามารถจอดอากาศยานขนาด Code F (เช่น A380 และ B747-8 เป็นต้น) ได้ 8 หลุมจอด และอากาศยานขนาด Code E (เช่น B747 และ A340 เป็นต้น) ได้ 20 หลุมจอด อาคาร SAT-1 เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารหลัก

โดยให้บริการรถไฟฟ้า APM ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าระบบล้อยางแบบไร้คนขับในการรับ - ส่งผู้โดยสาร ใช้ระยะเวลาในการโดยสารรวมถึงระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรับบริการที่สถานีประมาณ 3 นาทีและสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 210 คนต่อขบวน

สำหรับการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งเป็นทางวิ่งที่มีความยาว 4,000 เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของ ทสภ. ขณะนี้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างไปแล้วกว่า 73% คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2566 และมีแผนจะเปิดใช้งานในเดือนกรกฎาคม 2567

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

ทำให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีประสิทธิภาพในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 68 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมให้บริการอาคาร SAT-1 ควบคู่ไปกับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building) รองรับรูปแบบการเดินทางวิถีใหม่ (Transport New Normal) โดยให้ความสำคัญในเรื่องระดับการให้บริการ (Level of Service) เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัย ประทับใจเมื่อใช้บริการ

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

เมื่ออาคาร SAT-1 เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ จะเกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ใช้บริการ ภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรมการบิน โดยนอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้วยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อมุ่งสู่การเป็นสนามบินชั้นนำระดับโลกอย่างยั่งยืน

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า วันที่ 7 ส.ค. 66 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาตรวจความพร้อมการเปิดใช้งานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรี และคณะ จะร่วมนั่งรถไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) หรือรถไฟฟ้าไร้คนขับ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารฟรีระหว่างอาคาร SAT-1 และอาคารผู้โดยสารหลัก ทสภ. ด้วย ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการนำรถไฟฟ้าไร้คนขับมาให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารภายในท่าอากาศยาน

  • กำหนดเปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 

นายกีรติ กล่าวต่อว่า ขณะนี้อาคาร SAT-1 พร้อมให้บริการผู้โดยสารแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการทดสอบระบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับสายการบิน และผู้ประกอบการภาคพื้น โดยจะมีการทดสอบต่อไปจนกระทั่งเปิดให้บริการ เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการอาคาร SAT-1 อย่างไม่เป็นทางการ (Soft opening) ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 66 

กีรติ กิจมานะวัฒน์

โดยจะเป็นการทดลองให้บริการบางเที่ยวบินก่อน โดยเฉพาะเที่ยวบินที่จอดที่ ทสภ. นานเกิน 5 ชั่วโมง เพื่อทดสอบความพร้อม ก่อนเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ (Full opening) ช่วงต้นปี 67 ซึ่งอาคารหลังนี้จะรองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนต่อปี ส่งผลให้ ทสภ. มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี

นายกประยุทธ์ตรวจอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 สุวรรณภูมิ เปิด 28 ก.ย.นี้

สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอาคาร SAT-1 ซึ่งจะมีทั้งร้านอาหาร ห้องรับรองของ และร้านค้าต่างๆ นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม และตกแต่งให้สมบูรณ์ โดยจะแล้วเสร็จทัน และพร้อมให้บริการในวันเปิดให้บริการอาคาร SAT-1 ทั้งนี้อาคาร SAT-1 มีพื้นที่ 216,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) สูง 4 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น

ประกอบด้วย ชั้น B2 รถไฟฟ้า APM ชั้น B1 งานระบบ ชั้น G ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า ชั้น 2 ผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 3 ผู้โดยสารขาออก และชั้น 4 ร้านค้า ร้านอาหาร มีประตูทางออกเชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคาร (Contact Gate) 28 หลุมจอดอากาศยาน

ทอท. ได้ออกแบบอาคารที่ผสมผสานความทันสมัย และมีเอกลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไทยมาติดตั้ง และสอดแทรกในบริเวณต่างๆ ของอาคาร ซึ่งมีความสวยงาม ประณีต สะท้อนมรดกวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไทยในแต่ละภูมิภาค พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

การออกแบบอาคารหลังนี้ คำนึงถึงการใช้งานของทุกเพศทุกวันอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เช่น ห้องนั่งสมาธิ ห้องละหมาดที่แยกระหว่างหญิง-ชาย ห้องแม่และเด็ก (Babycare Room) รวมทั้งมีห้องและพื้นที่สำหรับเด็กเล่น เก้าอี้พักคอยที่ติดตั้งที่ชาร์จ พร้อมอุปกรณ์เสริมเต้ารับไฟฟ้าช่องเสียบ USB แบบ Universal เป็นต้น