“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

04 ส.ค. 2566 | 15:32 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ส.ค. 2566 | 15:33 น.
1.4 k

โลกผวา เอฟเฟกต์ “อินเดีย” แบนส่งออกข้าวขาว “ผู้ส่งออก- โรงสี” ชะลอรับซื้อ ผวาซํ้ารอยครั้งก่อนแบน 2-3 เดือน ทำขาดทุนยับ “หยง” คึก ชี้ไทยส้มหล่นคู่ค้าสั่งข้าวเพิ่ม ราคาข้าวสาร-ข้าวเปลือกพุ่งรับอานิสงส์ “เอเซีย โกลเด้นไรซ์” ยังเบอร์ 1 ส่งออกข้าวไทยครึ่งแรก

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 รัฐบาลอินเดีย ได้สั่งยุติการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่พันธุ์บาสมาติ โดยมีผลบังคับใช้ในทันที ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวภายในประเทศ และสกัดการปรับตัวขึ้นของราคาข้าวภายในประเทศที่ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี ส่งผลราคาข้าวเปลือกในประเทศไทยได้รับอานิสงส์ราคาปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 16 ปี

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

นายวันนิวัต กิติเรียงลาภ รองประธาน บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด หนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในกลุ่ม 10 อันดับแรกของไทย และในฐานะรองเลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากมาตรการของรัฐบาลอินเดียดังกล่าว คนในวงการค้าข้าวไม่ค่อยตื่นเต้นนัก เพราะแต่ละรายมีสต๊อกข้าวขั้นตํ่าอยู่ในมืออย่างน้อย 2-3 เดือน ขณะที่ก่อนหน้านี้อินเดียก็เคยหักหลังคนทั้งโลกมาแล้ว โดยแบนส่งออกข้าวเพียง 2 เดือน แล้วก็หยุดแบน

 

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

“มองว่ายอดส่งออกช่วงนี้จะปรับตัวลดลง เพราะผู้ส่งออกไม่กล้าขาย ลูกค้าก็ไม่กล้าซื้อ ความจริงเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การซื้อขายข้าวในตลาดตํ่ากว่าปกติ เพราะตกใจไม่กล้าซื้อไม่กล้าขายกัน ปกติเวลาราคาข้าวขึ้น 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตลาดในประเทศจะต้องมีการซื้อขายกันอย่างน้อยถึง 1 แสนตัน ระหว่างผู้ส่งออกกับโรงสี แต่ทุกวันนี้ผู้ส่งออกกับโรงสีจำนวนการซื้อขายน้อยมาก ประเมินแล้วหลักหมื่นตัน ซึ่งการส่งออกข้าวจะกลับฟื้นคืนมาจะต้องมีความชัดเจนมากขึ้นว่าการส่งออกข้าวของอินเดียจะมีทิศทางอย่างไร”

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

 

สำหรับอินเดีย ในแต่ละปีมีการส่งออกข้าวขาวประมาณ 6 ล้านตัน ในครึ่งแรกปีนี้ส่งออกแล้ว 3.3 ล้านตัน หากอินเดียไม่ส่งออกเลยในครึ่งปีหลัง ข้าวในตลาดก็จะหายไปเพียง 3 ล้านตัน ซึ่งจากข่าวอินเดียแบนส่งออกข้าวขาว ทำให้วงการข้าวตื่นตระหนก และตั้งคำถามอินเดียจะแบนถึงเมื่อไร ส่วนตัวคาดจะแบนส่งออกถึงช่วงข้าวนาปีที่จะเก็บเกี่ยวประมาณปลายปีนี้ หากผลผลิตออกมาปกติ ก็จะยกเลิกการแบน อย่างนานที่สุดคาดไม่เกิน 6 เดือน

 

 

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

“ผมประเมินเขาอาจจะแบนถึงแค่เดือนตุลาคม หรือเดือนพฤศจิกายนนี้เท่านั้น ก็เท่ากับว่ามีข้าว 3 ล้านตันที่จะหายไปจากตลาดค้าข้าวโลก แต่ถ้าสถานการณ์พลิกผัน รัฐบาลอินเดียให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกได้เฉพาะที่เปิดคำสั่งซื้อได้ ซึ่งมีอยู่ในมือคาดว่า 2.5 แสนตัน แล้วถ้าส่งออกข้าวได้ในส่วนนี้ก็ไม่ขาดตลาด แต่ก็คาดเดาไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลอินเดีย แต่ถ้าประเมินย้อนไปในค้าข้าวโลกที่มีวิกฤติช่วง 15 ปีที่แล้ว หากเทียบกับปีนี้ สต๊อกข้าวโลกมีมากกว่า ที่สำคัญแต่ละประเทศมีบทเรียนช่วงโควิด เชื่อว่าทุกประเทศมีคลังสต๊อกข้าวระดับหนึ่งไม่ถึงขั้นทำให้เกิดปัญหา แต่ถ้าอินเดียมาแบนข้าวนึ่งต่อก็อาจจะเป็นเรื่องใหญ่มากกว่า

 

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

 

“สาเหตุที่อินเดียแบนข้าวส่งออก เพราะช่วง 3 ปีที่แล้ว อินเดียส่งออกข้าวเกินจาก 10 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านตัน ทำให้การค้าข้าวโลกพุ่งไปถึง 50 ล้านตันข้าวสาร จากเดิม 40 ล้านตันข้าวสาร ประกอบกับผลผลิตข้าวอินเดียมาเจอภัยแล้ง ผลผลิตเสียหาย และที่ผ่านมารัฐบาลก็มีการนำข้าวในสต๊อกมาแจกประชาชนฟรี มาเจอหลายสถานการณ์ก็ทำให้ราคาข้าวในประเทศสูงขึ้น โดยอินเดียส่งออกข้าวเฉลี่ยเดือนละ 2 ล้านตัน ถ้าไม่ส่งออก 2 เดือน ก็ได้ข้าวเพิ่มในสต๊อก 4 ล้านตันแล้ว ซึ่งเท่ากับประเทศไทยส่งออก 6 เดือน”

 

อย่างไรก็ดีผู้ส่งออกข้าวไทยต้องไม่ประมาท เพราะหากมีกระแสข่าวว่าอินเดียจะเปิดส่งออกบางส่วนราคาข้าวก็จะตกลงมา คงต้องจับตาว่าอินเดียจะแบนส่งออกข้าวไปถึงเมื่อใด จะทำให้ข้าวในตลาดขาดแคลนจริงหรือไม่ เพราะหากผู้ส่งออกไทยตัดสินใจขาย หากในระหว่างการเดินทางของการส่งมอบ อินเดียกลับลำหันมาส่งออกอาจจะขาดทุนได้

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

ด้าน นายสุทธิ สานกิ่งทอง นายกสมาคมค้าข้าวไทย (หยง) กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวสารปรับตัวสูงขึ้น และมีความต้องการต่อเนื่อง โดยมีคำสั่งซื้อจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก อิหร่าน และฟิลิปปินส์ ซึ่งจากที่อินเดียประกาศหยุดส่งออก มองว่าคำสั่งซื้อจะมาที่ประเทศไทยมากขึ้น เป็นแรงส่งทำให้ราคาข้าวสารขาวในประเทศจาก 17,000 ตันต่อตัน ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 18,500 บาทต่อตันหรือเพิ่มขึ้น 1,500 บาทต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้าก็ปรับตัวขึ้นไปที่ 11,200 -11,500 บาทตัน เทียบจากรัฐบาลเคยประกันราคาตันละ 10,000 บาท

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

ด้านแหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว กล่าวว่า ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ผู้ส่งออกข้าวใน 10 อันดับแรก (กราฟิกประกอบ) อันดับ 1 ยังเป็นกลุ่มเอเซีย โกลเด้นไรซ์ อันดับ 2 กลุ่มนครหลวงค้าข้าว และอันดับ 3 กลุ่มธนสรรไรซ์ คาดทั้งปีนี้การส่งออกข้าวของไทยในภาพรวมไม่ตํ่ากว่า 8.5 ล้านตัน

 

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,910 วันที่ 3-5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 

สมาคมโรงสีข้าวไทย  รายงาน ราคาข้าวเปลือก/ข้าวสาร ผ่าน เฟซบุ๊ก  Thai Rice Mill Association ประจำวันวันที่ 4 สิงหาคม 2566 พบราคาข้าวเปลือกเขียวทั้งกระดาน  ขณะที่ "ปลายข้าว" ราคาพุ่งแตะไปที่ 14 บาท/กก.  กว่า คาดว่าจะเป็นราคาสถิติใหม่

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ

 

“อินเดีย” แบนส่งออกข้าว “ผู้ส่งออก-โรงสี” ชะลอซื้อ ผวาขาดทุนยับ