"เศรษฐกิจคู่ค้า"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

03 ส.ค. 2566 | 02:00 น.
1.3 k

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทั้งจีน ยุโรป พ่นพิษ ปัจจัยเสียงรอบด้วย ทำส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรร่วงต่อเนื่อง 6 เดือนติดลบ2.8% ลุ้นครึ่งปีหลังกำลังซื้อฟื้น

"ส่งออกไทย"ปีนี้ยังทรงๆทรุดๆยันปลายปี หลังครึ่งปีแรกปี 2566  การส่งออก ยังคงติดลบ5.4% หรือมีมูลค่า 141,170.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าก็ติดลบ3.5% มูลค่า 147,477.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,307.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนค่อนข้างช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ มีการเร่งระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

โดยหากดูรายละเอียดพบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร สินค้าสำคัญที่ติดลบ ประกอบด้วย

1.ข้าว ติดลบ 15% ถือว่าเป็นการติดลบในรอบ 6 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ อิรัก ฮ่องกง และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน โมซัมบิก และเกาหลีใต้

2.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ติดลบ 16.7% ต่อเนื่อง 6 เดือนในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย ซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล จีน และกัมพูชา

3.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ติดลบย 16.7%  ต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินเดีย และเวียดนาม

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

4.ยางพารา ติดลบ 43% ต่อเนื่อง 11 เดือน ในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดอียิปต์

5.อาหารสัตว์เลี้ยง ติดลบ 16.1% ต่อเนื่อง 8 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย อินเดีย และสหราชอาณาจักร

6.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ติดลบ 22.5%  กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน ลาว และเม็กซิโก

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

7. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ติดลบ 80.8% ต่อเนื่อง 3 เดือน ในตลาดอินเดีย เมียนมา มาเลเซีย ญี่ปุ่น และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหรัฐฯทำให้ครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ติดลบ 2.8%

แต่อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าสำคัญที่ยังขยายตัวและช่วยดันตัวเลขส่งออกไทยพอไปได้  ได้แก่

1.ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว14.2%  กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า ในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

2.น้ำตาลทราย ขยายตัว31.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ลาว และไต้หวัน

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

3.เครื่องดื่ม ขยายตัว8.3%  ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน ลาว และมาเลเซีย

4.ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 10.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน ในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร)

5.ไอศกรีม ขยายตัว 11.3%ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน ในตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา สหรัฐฯ และอินเดีย

\"เศรษฐกิจคู่ค้า\"พ่นพิษฉุดส่งออกสินค้าเกษตรร่วงต่อเนื่อง

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า"ส่งออก"ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทั้งเศรษฐกิจจีน  ยุโรป โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ที่มีระดับค่าครองชีพสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่การถอนตัวจากข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ของรัสเซีย และปัญหาภัยแล้งจากปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" สร้างความกังวลต่อการตึงตัวของอุปทานอาหารโลก ซึ่งอาจจะกระทบต่อเงินเฟ้อและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า

 อย่างไรก็ดี มีปัจจัยสนับสนุนการส่งออกจากการเร่งเปิดตลาดศักยภาพเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และแอฟริกา นอกจากนี้ เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวลต่อการขาดแคลนอาหารทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ