รู้แล้วอึ้ง คนไทย 94 ล้านบัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท

18 ก.ค. 2566 | 12:49 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ค. 2566 | 13:05 น.

คนไทย94ล้านบัญชี มีเงินไม่ถึง5พันบาท/บัญชี  ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของคนไทย 25 ปีที่ผ่านมาคนไทยยังก้าวไม่พ้น กลุ่มคนที่มีรายได้สูง และกลุ่มคนรายได้ต่ำ ความมั่งคั่งต่างกัน 10 เท่า ถือครองที่ดินแตกต่างกัน 300 เท่า

ปัญหา "ความเหลื่อมล้ำ" ที่เป็นปัญหาฝั่งรากลึกลงไปในสังคมไทยมายาวนานและยากจะแก้ได้ภายในปีสองปี  ระบบตลาดและทุนนิยมซึ่งเป็นแนวคิดหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แม้จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลากหลายด้าน รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นมาตลอดหลายทศวรรษ

รู้แล้วอึ้ง คนไทย 94 ล้านบัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท

แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้สร้างปัญหาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การบุกรุกป่า ปัญหามลพิษ PM2.5 ทรัพยากรน้ำขาดแคลน ชนบทที่อ่อนแอลง ปัญหาแรงงานในชุมชนเมือง และความเหลื่อมล้ำในมิติการพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงสะท้อนให้เห็นถึงว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม

 

นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวยังสังเกตได้จาก "ความเหลื่อมล้ำ"ด้านความมั่งคั่งของประชาชนในประเทศไทย เช่น ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนที่มีรายได้สูง 20% บน และกลุ่มคนรายได้ต่ำ 20% ล่าง มีความมั่งคั่งโดยเฉลี่ยเติบโตต่างกัน 10 เท่า

รู้แล้วอึ้ง คนไทย 94 ล้านบัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท

และมีการถือครองที่ดินแตกต่างกัน 300 เท่า หรือบัญชีเงินฝากที่มีมากกว่า 1 ล้านบาทขึ้นมีประมาณ 1 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า 1% จากทั้งหมด 110 ล้านบัญชี แต่บัญชีเหล่านี้มีสัดส่วนของเงินฝากมากกว่า 70% ของปริมาณเงินฝากทั้งหมด

อึ้งคนไทยกว่า94ล้านบัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท

ทั้งนี้ "ความไม่เท่าเทียม"ลากเกี่ยวไปถึง "การมีเงินออม" เพื่อใช้ในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจำแนกรายการฝากเงินของประชาชนตามธนาคารพาณิชย์ของไทยไว้ พบว่าคนไทยมีเงินฝากเฉลี่ย1บัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท ดังนี้

  1. ไม่เกิน 5 หมื่นบาท  มี 94,162,081 บัญชี   เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี  4,622บาท
  2.  5 หมื่นบาทขึ้นไป - 1 แสนบาท มี 4,255,806 บัญชี    เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี  70,480 บาท
  3. 1 แสนบาทขึ้นไป - 2 แสนบาท  มี 3,417,730 บัญชี    เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 138,336บาท
  4. 2 แสนบาทขึ้นไป - 5 แสนบาท   มี 3,107,139 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 313,726 บาท
  5. 5 แสนบาทขึ้นไป - 1 ล้านบาท   มี 1,460,262 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 704,435 บาท
  6. 1 ล้านบาทขึ้นไป - 10 ล้านบาท  มี 1,590,307 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 2.49 ล้านบาท
  7. 10 ล้านบาทขึ้นไป  - 25 ล้านบาท มี 93,999 บัญชี   เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 14.74 ล้านบาท
  8. 25 ล้านบาทขึ้นไป - 50 ล้านบาท  มี 27,510 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 32.23 ล้านบาท
  9. 50 ล้านบาทขึ้นไป - 100 ล้านบาท มี 12,372 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 70.43 ล้านบาท
  10. 100 ล้านบาทขึ้นไป - 200 ล้านบาท มี 5,613บัญชี เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 138.07 ล้านบาท
  11. 200 ล้านบาทขึ้นไป - 500 ล้านบาท มี 3,189 บัญชี  เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 308.17 ล้านบาท
  12. ตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป   มี 1,575 บัญชี   เฉลี่ยเงินฝาก/บัญชี 1,628.87ล้านบาท
  • รวม108,137,585บัญชี   เฉลี่ยต่อ/บัญชี 136,131บาท

รู้แล้วอึ้ง คนไทย 94 ล้านบัญชีมีเงินฝากไม่ถึง5พันบาท

จากตารางจะเห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่จะมีเงินฝากเฉลี่ยเพียง4,622บาทซึ่งสวนทางกับรายได้และค่าครองชีพที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนไทยมีเงินเก็บออมลดลง ดังนั้นการพัฒนาให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นนับเป็นเรื่องดี มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในเวลาเดียวกันนั้นมันได้ทำให้เราสั่งสมปัญหาต่าง ๆ เอาไว้มากมาย

“กอบศักดิ์”แนะทางออกควรสร้างความแข็งแร่งจากฐานราก

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ (มหาชน)กล่าวว่า แนวคิดที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ไขปัญหานี้ควรเริ่มสร้าง ความแข็งแกร่งจากฐานราก โดยต้องเข้าใจลงลึกถึงระดับชุมชนที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังใน 3 เรื่อง คือ 1. ปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยสูงมากจนไม่มีทางจ่ายคืนเงินต้นได้หมด ทำให้คนที่เข้าไปสู่วงจรนี้ไม่สามารถหลุดออกมาได้ง่าย 2.ปัญหาระบบคนกลาง ที่ครอบครองส่วนต่างมากเกินไปจนทำให้รายได้ไปถึงเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และ 3. ปัญหาการขาดแคลนความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น

สร้างผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง-สกัดหนี้นอกระบบ

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการสร้าง ความแข็งแกร่งจากฐานราก จึงควรสนับสนุนให้ 1.สร้างผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถแนะนำให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการสร้างพื้นฐานการเก็บออม และสกัดปัญหาหนี้นอกระบบ 2. การลดบทบาทของระบบคนกลาง เช่น การรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และขายสินค้าตรงไปที่ผู้บริโภค ซึ่งอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น E-Commerce และ 3. ควรสนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนชุมชนและภาคเกษตรโดยตรง มีแนวทางที่ชัดเจนและยั่งยืน เช่น การหาตลาดมารองรับกับสินค้าเกษตรโดยตรง ในราคาที่เหมาะสม และอาจส่งเสริมด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้เอกชนดำเนินการลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

ขณะเดียวกันภาครัฐควรเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค เพื่อให้การพัฒนาในมิติใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นเป็นสำคัญ มากกว่านโยบายหรือมาตรการแบบแจกเงินที่ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนถือเป็นโจทย์ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาบริหารประเทศต่อไป

เห็นข้อมูลและปัญหาความเหลือมล้ำแบบนี้แล้วดังคำที่ใครหลายคนกล่าวว่า "รวยกระจุก จนกระจาย" ยังคงใช้ได้ในยุคนี้  ทั้งนี้เชื่อว่าหลายคนคงต้องกลับไปดูเงินในกระเป๋ากันแล้วละว่า ยังเหลือเก็บออมเพื่อใช้ในยามเกษียณเท่าไหร่..แล้วคุณละมีเงินในบัญชีเพียงพอกับการใช้ในอนาคตหรือยัง?