ส่อง4ปัจจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย รวยกระจุก จนกระจาย

24 มิ.ย. 2566 | 02:00 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มิ.ย. 2566 | 06:23 น.
906

4ปัจจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย "รวยกระจุก  จนกระจาย" ที่ทุกฝ่ายต้องเร่งร่วมมือเตรียมพร้อมและรับมือกับปัญหาถือเป็นความท้าทายของประเทศเพื่อก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ

คำกล่าวที่ว่า “คนรวยรวยกระจุก แต่คนจนยังจนแบบกระจาย” ซึ่งก็ไม่ใช้คำที่เกินจริงเพราะในสังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ค่อนข้างสูงมาก คนที่มีโอกาสก็จะมีโอกาสที่ดีมีชิวิตที่ดี ในขณะที่คนที่ด้อยโอกาสในสังคมก็ยังคงไม่มีวันที่จะไดรับการหยิบยื่นโอกาสนั้น  ดังนั้นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เป็นประเด็นความท้าทายของประเทศ สัดส่วนคนจนยังคงที่อยู่ระดับ 6-8%

ส่อง4ปัจจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย รวยกระจุก จนกระจาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตร ชี้การเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมสูงอายุ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ล้วนเป็นปัจจัยท้าทาย ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น แนะรัฐ เอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือกันเตรียมพร้อมและรับมือกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ

 

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการวิเคราะห์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย พบว่า ความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นประเด็นท้าทายของประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ปรับเพิ่มจาก 7.7 ล้านล้านบาท ในปี 2551 เป็น 10.2 ล้านล้านบาท ในปี 2563แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่

ส่อง4ปัจจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย รวยกระจุก จนกระจาย

และเป็นปัญหาสั่งสมที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้สังคมและเศรษฐกิจไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นความพยายามร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ

ส่อง4ปัจจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย รวยกระจุก จนกระจาย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำของประเทศ พบว่า มีทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ มี4ปัจจัย ประกอบด้วย

  •  การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การขยายตัวของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน และการพัฒนาประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถ เป็นได้ทั้งโอกาสสำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันเป็นประเด็นท้าทายสำหรับกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี และไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

  • การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2562–2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก โดยประเทศไทย สัดส่วนผู้สูงวัยเฉลี่ยต่อประชากรทั้งประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับ 17.2% เป็นอันดับที่ 5 ของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้รองจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเก๊า

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ระบุว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้สูงวัยจำนวน 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 20% และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2583 สัดส่วนประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 31.3% ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุยังหมายถึงสัดส่วนกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุและเด็กจะลดลง ซึ่งจะทำให้อัตราการพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานเพิ่มสูงขึ้น

  •  การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันไทยยังอยู่ในเส้นทางการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถเติบโตได้ดีนับตั้งแต่เกิดการหดตัวในช่วงการระบาด กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและยาวนาน เช่น ผู้ค้ารายย่อยที่สูญเสียรายได้จากการปิดกิจการช่วงโควิด-19 กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้าง กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือให้กลุ่มดังกล่าวฟื้นตัวโดยเร็ว เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะยาว
  •  การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่แม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง บ่อยครั้งขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนกลุ่มยากจนและด้อยโอกาสจำนวนมากยังอยู่ในภาคเกษตร