FTA ใช้อย่างไรให้ปัง?!ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก

26 มิ.ย. 2566 | 11:45 น.
อัปเดตล่าสุด :26 มิ.ย. 2566 | 11:53 น.

“ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก” ผลิตที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และการใช้ประโยชน์จาก FTA ดันสินค้าส่งออกไปตลาดโลก

FTA หรือเขตการค้าเสรี ย่อมาจาก Free Trade Area คือ การทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศหรือหลายประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า รวมถึงลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม

FTA ใช้อย่างไรให้ปัง?!ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก

และในการทำเขตการค้าเสรีในปัจจุบันไม่ได้มุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านการลดภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเปิดเสรีทางด้านอื่นๆ อย่างเช่น ด้านการบริการการลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า การคุ้มครองสินค้า เป็นต้น

 

ประเทศไทยเอง โดยกรมการค้าต่างประเทศรายงานภาวะการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2566 (มกราคม-เมษายน) กับประเทศคู่ภาคีจำนวน 12 FTA จาก 14 FTA ได้แก่ อาเซียน (AFTA) อาเซียน-จีน (ACFTA) ไทย-อินเดีย (TIFTA) อาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อาเชียน-เกาหลี (AKFTA)ไทย-เปรู (TPCEP) ไทย-ชิลี (TCFTA)

FTA ใช้อย่างไรให้ปัง?!ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก

และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565) ยกเว้น ไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ที่ใช้ระบบการรับรองตนเองของผู้ส่งออก (Self-Declaration) และอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) เนื่องจากฮ่องกงเป็น Free Port ทำให้ในทางปฏิบัติภาษีนำเข้าของฮ่องกงเป็น 0% ทุกรายการ ผู้ส่งออกจึงไม่นิยมใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า 12 FTA

และเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิเอฟทีเอในการส่งออกเพื่อประโยชน์ทางการค้านางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเตรียมจัดสัมมนา เรื่อง ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก”  14 กรกฎาคมนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจรุ่นใหม่ ได้รับความรู้ความเข้าใจ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

และเกิดแรงบันดาลใจในการนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ และปรับตัวรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การค้าใหม่ๆ ของโลก รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า และสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ขยายส่งออกไปตลาดการค้าเสรีได้อย่างเต็มที่ ทั้งในและต่างประเทศ และวิธีใช้ประโยชน์จาก FTA เป็นเครื่องมือผลักดันสินค้าไปสู่ตลาดโลก

FTA ใช้อย่างไรให้ปัง?!ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก

ทั้งนี้การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 จำนวน 12 ฉบับ มีมูลค่ารวม 11,819.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิฯ สูงถึง 74.52% ถึงแม้การใช้สิทธิฯ ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 จะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยยังคงสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าด้วยการใช้สิทธิ FTA ส่งออกสินค้าต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการส่งออกได้เป็นอย่างดี ประกอบกับความต้องการซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะจีนที่เริ่มเปิดประเทศหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย

FTA ใช้อย่างไรให้ปัง?!ผ่าความสำเร็จ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ FTA รุกตลาดส่งออก

ทั้งนี้สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูงจากหลายกรอบความตกลงฯ ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน และน้ำตาล (กรอบอาเซียน) ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ มันสำปะหลัง และทุเรียนสด (กรอบอาเซียน-จีน) รถยนต์และยานยนต์อื่นๆ (ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล) และรถยนต์ขนส่งบุคคลขนาด 2,500 cc ขึ้นไป (กรอบไทย-ออสเตรเลีย) เป็นต้น