เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

08 เม.ย. 2566 | 16:52 น.
อัปเดตล่าสุด :08 เม.ย. 2566 | 18:56 น.
778

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทายวันพืชมงคล 2566 แผน ” ฝึกซ้อมไถ-ฝึกกินเลี้ยงอาหารเสี่ยงทาย เตรียมความพร้อมฝึกซ้อมที่ท้องสนามหลวง ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีฯ ในวันที่ 17 พฤษภาคม นี้

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์

วันพืชมงคล 2566 ปีนี้  ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า   พระโคในทางศาสนาพรามหณ์  หมายถึง  เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง  และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์  ดังนั้น  ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ  จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่  1  เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์

  เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

ในพระราชพิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ กรมปศุสัตว์  เป็นหน่วยงานคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ  โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี  สังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์จะดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์   กล่าวคือ  จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี  รูปร่างสมบูรณ์  มีความสูงไม่น้อยกว่า  150 เซนติเมตร  ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า  120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า  180  เซนติเมตร

เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน  ผิวสวย  ขนเป็นมัน  กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย  สอนง่ายไม่ดุร้าย  เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน  ตาแจ่มใส  หูไม่มีตำหนิ  หางยาวสวยงามดี  มีขวัญหน้า  ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา  และขวัญหลังถูกต้อง  มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง  มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม

        เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

สำหรับ ในปี  2566 กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ  จำนวน  2  คู่  คือ พระโคแรกนาขวัญ 1 คู่  ได้แก่   พระโคพอ  กับ พระโคเพียง  ส่วน "พระโคสำรอง"  1  คู่   ได้แก่ พระโคเพิ่ม กับ พระโคพูล 

 

ตารางการฝึกซ้อม "พระโค"

  • พระโคพอ  มีความสูง  165  เซนติเมตร  ความยาวลำตัว  225  เซนติเมตร  ความสมบูรณ์รอบอก  214  เซนติเมตร  อายุ  11 ปี
  • พระโคเพียง  มีความสูง  169  เซนติเมตร  ความยาวลำตัว  238 เซนติเมตร  ความสมบูรณ์    รอบอก  209  เซนติเมตร  อายุ  11  ปี

เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

  • พระโคเพิ่ม  มีความสูง  159 เซนติเมตร  ความยาวลำตัว  236  เซนติเมตร  ความสมบูรณ์    รอบอก  201 เซนติเมตร  อายุ  13 ปี
  • พระโคพูล  มีความสูง  157  เซนติเมตร  ความยาวลำตัว  242 เซนติเมตร  ความสมบูรณ์      รอบอก  205  เซนติเมตร  อายุ  13  ปี

 

เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

พระโคแรกนาขวัญและพระโคสำรอง ประจำปีพุทธศักราช 2566 เป็นโคพันธุ์ขาวลำพูน  มีสีผิวขาวอมชมพู  ขนสีขาวสะอาด  ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ  หรือสีอื่นบนลำตัว  เขามีสีขาว  ลำตัวเป็นลำเทียน  เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม  ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน  ขนตาสีชมพู  บริเวณจมูกขาว  กีบสีขาว  ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว  ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง  เวลายืนและเดินสง่า

 

เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

นายสมชาย   ดำทะมิส  บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคพอ แล้วมอบให้กรมปศุสัตว์  นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้เป็นพระโคแรกนาขวัญประจำปีพุทธศักราช  2566

นายอาคม  วัฒนากูล  บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคเพียง  แล้วมอบให้กรมปศุสัตว์  นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้เป็นพระโคแรกนาขวัญประจำปีพุทธศักราช 2566

เปิดตัว “พระโคพอ - พระโคเพียง” พระโคเสี่ยงทาย วันพืชมงคล 2566

นายทฤษดี   ชาวสวนเจริญ   อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคเพิ่ม แล้วมอบให้  กรมปศุสัตว์  นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช   ใช้เป็นพระโคสำรองประจำปีพุทธศักราช  2566

นายวิจารณ์  ภุกพิบูลย์   มอบพระโคพูลให้กรมปศุสัตว์  นำน้อมเกล้าฯ  ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ใช้เป็นพระโคสำรองประจำปีพุทธศักราช  2566