“พาณิชย์”เข้มตรวจสินค้าละเมิดทรัพย์สินฯย่านแหล่งท่องเที่ยว

15 ก.พ. 2566 | 12:09 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.พ. 2566 | 12:17 น.

“พาณิชย์”เข้มตรวจสินค้าละเมิดทรัพย์สินฯย่านแหล่งท่องเที่ยว-การค้าสำคัญทั่วประเทศ รับนักท่องเที่ยวหลังโควิดคลี่คลายพร้อมสร้างความมั่นใจผู้ค้าและนักลงทุนต่างชาติ

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับภารกิจด้านการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกรูปแบบ ผ่านการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจและบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการละเมิดฯ ในทุกช่องทางให้เกิดประสิทธิภาพและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ล่าสุด กรมฯ ร่วมกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด นำภาคเอกชนเจ้าของสิทธิ พื้นที่ติดตาม ตรวจสอบ และปราบปรามการจำหน่ายสินค้าละเมิดฯ ในพื้นที่ย่านการค้าต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแทนเจ้าของสิทธิเครื่องหมายการค้า Louis Vuitton และ CHANEL ร่วมลงตรวจพื้นที่ย่านการค้าคลองถม สะพานเหล็ก บ้านหม้อ ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ร้านค้าริมถนนสุขุมวิท ซอย 3-19 สีลม และพัฒน์พงศ์

“พาณิชย์”เข้มตรวจสินค้าละเมิดทรัพย์สินฯย่านแหล่งท่องเที่ยว

พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์การค้าคอมพิวเตอร์พลาซ่า ศูนย์การค้าไอคอน ตลาดไนท์พลาซ่า และตลาดรินคำ พื้นที่ภาคใต้ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สงขลา กระบี่ ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี) ย่านการค้าตลาดชาวประมง ตลาดกิมหยง ร้านค้าริมหาดเฉวง หาดอ่าวนาง หาดกะรน หาดกะตะ หาดป่าตอง หัวหินไนท์มาร์เก็ต พื้นที่จังหวัดชลบุรี ย่านการค้าบริเวณหาดพัทยา ตลาดนัดจตุจักรชลบุรี ศูนย์การค้าคอมพิวเตอร์พลาซ่า

“พาณิชย์”เข้มตรวจสินค้าละเมิดทรัพย์สินฯย่านแหล่งท่องเที่ยว

 

 

“พาณิชย์”เข้มตรวจสินค้าละเมิดทรัพย์สินฯย่านแหล่งท่องเที่ยว

โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการนำสินค้ามาจำหน่ายอย่างถูกต้อง และส่งเสริมความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์ การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจในการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พร้อมป้องกันปัญหาการจำหน่ายละเมิดฯ ซึ่งการจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับสูงสุด 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ