ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

14 ธ.ค. 2565 | 13:45 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ธ.ค. 2565 | 21:37 น.
565

กรมวิชาการเกษตรจับมือองค์การระหว่างประเทศ ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิตพืชเศรษฐกิจอ้อย ปาล์ม ยาง ข้าว ในภาคการเกษตรไทยและภูมิภาคอาเซียน ตามนโยบายของรัฐบาลไท เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Neutrality) ในปี 2065

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะประธานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเครือข่าย เรื่อง Pathways to Net Zero for Agrifood and Land Use Systems in Asia: (Long-term Strategies, Carbon Neutrality, MRVs and Transparency, and the Carbon Market) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2565 ณ ห้องบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวย้ำ ถึงการประชุม APEC ซึ่งไทยได้ให้ความสำคัญและเน้นย้ำการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านนโยบาย Bio-Circular  Green Economy (BCG) การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมาย Net Zero การพัฒนาระบบคาร์บอนเครดิต ภาคการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่และได้ยกตัวอย่างความสำเร็จ ความร่วมมือระหว่าง กรมวิชาการเกษตรและ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งได้มีการสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

เกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และ ร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมร่วมมือ  ผลักดันโครงการซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Green Climate Fund ซึ่งเป็นงบประมาณสนับสนุนจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO)

 

 

โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมดำเนินโครงการรวม 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม สำหรับโครงการวิจัยศึกษาพัฒนาการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการประเมินคาร์บอนเครดิต ในพืชนำร่องพืชเศรฐกิจ 4 ชนิด คือ อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพาราและ ข้าว

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ยังเตรียมประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน อาทิ บริษัทมิตรผล เพื่อเตรียมพัฒนาวิธีการและขั้นตอนการวัดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการรับรองคาร์บอนเครดิตทางการเกษตร พร้อมเตรียม Kick off มกราคม ปีหน้า 2566 พร้อมกันนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้เชิญชวนประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงหน่วยงานและองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น GIZ – ASEAN AgriTrade Project, FAO Regional Asia Pacific Office และ EU – ASEAN Dialogue Programme (EREADI), World bank ที่สนใจมาร่วมโครงการ โดยใช้โครงการนำร่องของประเทศไทยเป็นโครงการต้นแบบ

 

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก GIZ – ASEAN AgriTrade Project, FAO Regional Asia Pacific Office และ EU – ASEAN Dialogue Programme (EREADI) มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมฯ จำนวน 100 ราย โดยมีวัตถุประสงค์ เสริมสร้างความเข้าใจการดำเนินนโยบายและพันธกิจด้านสภาพอากาศ การขับเคลื่อนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมาย Net Zero ระดับโลกและระดับประเทศ การดำเนินการตามลำดับความสำคัญของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDC) และยุทธศาสตร์ระยะยาวของภาคการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

การเสริมสร้างพัฒนาการเข้าถึงและโอกาสสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตโดยสมัครใจ การพัฒนาระบบความโปร่งใสในการติดตามและการรายงาน เพิ่มความพร้อมในการเข้าถึงระบบการเงินผ่านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและขยายการดำเนินการซึ่งสอดรับกับนโยบายรัฐบาลและนำมาสู่การดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรมีเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถเป็นผู้รับรองการตรวจประเมินโครงการ และรับรองการคำนวณคาร์บอนเครดิตด้านการเกษตร รวมถึงพัฒนาและนำพื้นที่ปลูกพืชที่มีครอบคลุมอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศของกรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ เพื่อเป็น “คาร์บอนเครดิต” ของหน่วยงาน

 

ขับเคลื่อน ระบบเกษตร Net Zero นำร่องรับรองคาร์บอนเครดิต พืชเศรษฐกิจ

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว ว่าจากความร่วมมือของประเทศสมาชิก และการดำเนินการความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดจากหลายภาคส่วนด้านการเกษตร ในฐานะที่กรมวิชาการเกษตรเป็นประธาน ASEAN CRN ถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมมือกันและลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้คำมั่นไว้ว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Neutrality) ในปี 2065