เตือนกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า

10 พ.ย. 2565 | 12:25 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ย. 2565 | 20:03 น.
680

“ณกรณ์” เปิด 2 โปรเจกต์ ขุมทรัพย์ใหม่ “ขายคาร์บอนเครดิต” พ่วงนำร่อง "สวนยางยั่งยืน" 1,000 ไร่ ป้อนขายยางกลุ่มบริษัท เครือมิชลิน หวังพลิกชีวิต ชาวสวนยาง รายได้เพิ่ม สมาคมยางพาราไทย ค้านกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า ซ้ำเติมราคายางตกต่ำ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แถลงผ่าน งาน “Talk About Rubber ” วิเคราะห์สถานการณ์ยางพาราไทย ไตรมาส 4/ 2565  เผยว่า ความคืบหน้าผลการดำเนินงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ล่าสุด ได้มีความร่วมกับ บริษัท Societe Des Matieres Premieres Tropicales Pte Ltd (SMPT) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU โครงการ “1,000 ไร่” เป็นความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

 

 

 

เตือนกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า

ผ่านการทดลองในพื้นที่สวนยางพาราจำนวน 1000 ไร่ ของ กยท. ให้เป็นพื้นที่สาธิตตามแนวทางการจัดการฟาร์มที่ดีที่สุด ซึ่งทางบริษัท SMPT เป็นบริษัทในเครือ MICHELIN แบรนด์ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ชั้นนำระดับโลก ทำหน้าที่เป็นในการจัดหาวัตถุดิบยางธรรมชาติให้กับโรงงานผลิตยางล้อของ MICHELIN ทั่วโลก ซึ่งนอกจากการันตีถึงคุณภาพและปริมาณยางธรรมชาติแล้ว ทางบริษัท SMPT ยังให้ความสำคัญอย่างมากกับการสนับสนุนความยั่งยืนของยางธรรมชาติในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการดำรงชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้กรีดยางรายย่อย

 

 

ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เพื่อสร้างความยั่งยืนของกระบวนการผลิตยางธรรมชาติในประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มบริษัทผู้ใช้ยางธรรมชาติ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย คนกรีดยาง นอกจากนี้ ยังเป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อมในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้การบริหารจัดการสวนยางเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

 

 

ด้าน บริษัท Societe Des Matieres Premieres Tropicales Pte Ltd กล่าวว่า ในปัจจุบัน MICHELIN ได้ผลักดันแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของยางธรรมชาติ ผ่านโครงการหลายโครงการทั่วโลก เช่น โครงการ Green Gold Bahia Program ในประเทศบราซิล โครงการ La Société Internationale de Plantations d'Hévéas ในพื้นที่แอฟริกาตะวันตก โครงการ Royal Lestari Utama ในประเทศอินโดนีเซีย จวบจวนถึงโครงการ 1,000 ไร่ ในประเทศไทย ซึ่งทาง MICHELIN และ กยท. ตระหนักถึงความท้าทายที่อุตสาหกรรมยางธรรมชาติกำลังเผชิญอยู่ และมีความมุ่งมั่นเดียวกันเพื่อสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยางธรรมชาติของประเทศไทย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ความสมดุลที่ดีที่สุดระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย คนกรีดยาง ผลผลิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายยางธรรมชาติที่ยั่งยืนของกลุ่มบริษัท MICHELIN

 

นายณกรณ์ กล่าวว่า นอกจากนี้แล้วยังสร้างรายได้ให้กับชาวสวนยาง โดยการขายคาร์บอร์นเครดิตในสวนยาง ซึ่งการเก็บคาร์บอนเครดิต สามารถเก็บได้ 2 รูปแบบ ทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก  โดยปริมาณมวลชีวภาพมีผลต่อศักยภาพเก็บคาร์บอนและอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในลักษณะแปรผกผันตามอายุของยางพารา

 

 

ยางพาราอายุ 1-5 ปี สามารถเก็บก๊าซคาร์บอนได้ออกไซต์ เฉลี่ย 1.07 ตันต่อไร่ต่อปี

 

ยางพาราอายุ 6-10 ปี สามารถเก็บกักและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เฉลี่ย 1.34 ตันต่อไร่ต่อปี

 

ยางพาราอายุ 11-15 ปี สามารถเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ย 1.21 ตันต่อไร่ต่อปี

 

ยางพาราอายุ 16-20 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ย 1.08 ตันต่อไร่ต่อปี

 

ยางพาราอายุ 21-25 ปี สามารถเก็บกักและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ย 0.96 ตันต่อไร่ต่อปี

 

นายณกรณ์ กล่าวว่า อีกหนึ่งโครงการที่กำลังจะจัดสัมมนาขึ้นในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2565 คือโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางอย่างยั่งยืนผ่านรูปแบบเครือข่าย ณ บ้านสวนเสริมทรัพย์ จ.ลำปาง โดยเชิญปราชญ์/ผู้รู้ ด้านการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนมาถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ โดยมีเป้าหมายหลักของผู้เข้าสัมมนาเป็นสถาบันเกษตรกรและเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศกว่า 300 คน เพื่อเป็นต้นแบบ การทำสวนยางอย่างยั่งยืน รวมไปถึงความคืบหน้าที่ กยท. ได้เข้าสำรวจเกษตรกรประเภทเจ้าของสวน จำนวน 46,648 ราย ผ่าน Application Rubberway พบว่าการดำเนินงานไปในทิศทางที่ดี มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของยางธรรมชาติอยู่ในระดับน้อยในทุกๆ ด้าน ซึ่งในวันที่ 7 ธันวาคม นี้ กยท. จะสรุปผลกรดำเนินงานโครงการอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง

 

 

ปิดท้ายที่โครงการสำคัญอย่างเรื่องคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา โดยยางพาราเป็นป่าปลูกที่มีศักยภาพสูงในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กยท.จึงผลักดันสวนยางของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. จำนวนกว่า 22 ล้านไร่ เข้าสู่โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย(Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ภายใต้มาตรฐานของ อปก. สำหรับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากโครงการ T-VER สามารถนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคลได้ ถือเป็นการส่งเสริม ดูแลสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้และค่าตอบแทนเสริมให้กับชาวสวนยางนอกเหนือรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง

 

 

 

เตือนกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า

 

ด้านนายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพาราไทย  เผยผ่านสมาชิกสมาคม ระบุว่า ได้ติดตามความคืบหน้าร่างกฎหมายเพื่อสนับสนุนการลดการทำลายป่าไม้และส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-Free Products) ของสหภาพยุโรป (EU) ทราบว่ากฎหมายดังกล่าว จะเริ่มบังคับใช้กับบริษัทในสหภาพยุโรง 27 ประเทศ ที่มีการใช้หรือนำข้าสินค้าที่อาจเกี่ยวข้องกับการทำลายพื้นที่าไม้ตามหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สินค้าประเภท เนื้อวัวไม้ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปบางประเภท

 

อาทิ เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และชอกโกแลต โดยกฎหมายจะบังคับให้บริษัทที่มีการใช้หรือนำเข้าสินค้าเหล่านี้จะต้องสามารถระบุแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างชัดจนและจะต้องเป็นการผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ซึ่งสหภาพยุโปคาดว่าร่างกฎหมายนี้จะช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละอย่างน้อย 31.9 ล้านเมตริกต้น

 

สถานะล่าสุดของร่างกฎหมาย Deforestation-Free Products ณ เดือนกรกฎาคม 2565 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรปได้มีมติร่วมกันเสนอให้

 

1. มีการพิจรณาขยายขอบเขตสินค้าให้ครอบคลุมหมู แกะ เพะ สัตว์ปีก ข้าวโพด ยาง ถ่าน และผลิตภัณฑ์กระดาษตีพิมพ์

 

2. เพิ่มการเคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และ

 

3.ให้คณะกรรมาธิการฯ ทบทวนกฎหมายภายใน 2 ปี เพื่อพิจารณาการขยายขอบเขตของสินค้าให้ครอบคลุมอ้อย เอทนอล และผลิตภัณฑ์จากเหมืองแร่ และทบทวนกฎหมายภายใน 1 ปี เพื่อพิจารณาการขยายขอบเขตของกฎหมายให้ครอบคลุมระบบนิเวศอื่น เช่น ป่าหญ้า ป่าพรุ พื้นที่ชุ่มน้ำ โดยรัฐสภายุโรปเต็มคณะมีกำหนดลงมติในเดือนกันยายน 2565 เพื่อเป็นท่าทีในการหารือกับคณะมนตรีฯ และคณะกรรมาธิการฯ ก่อนสรุปเป็นระเบียบเพื่อใช้บังคับต่อไป ตามแนวทางคาดว่ามีผลบังคับใช้ภายในปี 2566 มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 1-2 ปี

 

เตือนกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า

อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป เนื่องจากยังมีความกังวลต่อเกษตรกรรายย่อยและต้นทุนต่อการทำ Due Diligence อีกทั้งกฎหมายมีกลกการทบทวนให้สามารถเพิ่มเติมสินค้าอื่นๆ ในภายหลังได้ คณะกรรมการสมาคมยางพาราไทย ได้พิจารณาและมีความเห็นดังนี้

 

 1.เห็นด้วยกับร่kงกฎหมาย Deforestation-Free Products ของสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่าไม้ อันเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตาม SDG ของ UN และ BCG Model และ 2. ขอคัดค้านการรวมยางพาราในร่างกฎหมาย Deforestation-Free Products ของสหภาพยุโรป เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Due Diligence จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ในด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และกระบวนการทำ Due Diligence กับเกษตรกรชาวสวนยาง 2 ล้านรายในประทศไทยต้องใช้เวลานานและยากในการปฏิบัติ เพราะต้องมีกลไกและเครื่องมือจำเป็นต้องใช้เทคนโนโลยีและเงินทุนที่มากมายจากรัฐบาล และประเทศไทยตอนนี้ก็มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจากภาวะโควิดและ Geo Politics

 

เตือนกฎหมายใหม่อียู บังคับใช้ปี 66 ห่วงชาวสวนยาง 2 ล้านราย โดนกีดกันการค้า

 

หากรัฐสภายุโรปรวมเอาผลิตภัณฑ์จากยางพาราเข้าไปในกฎหมายดังกล่าว จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพี่น้องชาวสวนยางกลุ่มดังกล่าวที่ไม่สามารถขายยางได้ และอาจมีผลทำให้เกิดกรณีกีดกันทางการค้าซึ่งทำให้เกิดปัญหาราคายางตกต่ำในภาพรวม

 

สมาคมยางพาราไทยจะติดตามความคืบหน้าของร่างกฎหมาย Deforestation-Free Products ของสหภาพยุรป หรือ กฎหมายสหภาพยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม การค้า และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นุๆ เพื่อแจ้งสมาชิกสมาคมฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งอกยางพาราไทยและผลิตภัณฑ์ยางไปยังสหภาพยุโรป และเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยแบบองค์รวม (Holistic Approach) เพื่อความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต