ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

09 ส.ค. 2565 | 15:23 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ส.ค. 2565 | 22:35 น.
1.3 k

“สุนทร” บอร์ด กยท. เตือนชาวสวนยางพาราไทย กฎหมายใหม่ EU มาแน่ ผวาทุบยางส่งออกเดี้ยง เล็งจับมือ อินโดนีเซีย -คอร์ติวัวร์ ต้านในเวทียางโลก "GPSNR" ไม่ช้าวิบากกรรมซ้ำรอยน้ำมันปาล์ม ลั่นทำได้เพียง ยื้อ หรือ ซื้อเวลา เท่านั้น เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมวิกฤติ ราคายางป่วน

ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

 

นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) ,เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และ บอร์ด(executive committe) ของ Global Platform for Sustainable Natural Rubber (GPSNR) เผยว่า วันนี้ เรื่องราคายางในประเทศที่ผันผวนก็ปวดหัวพออยู่แล้ว เมื่อวานผมมีการประชุม ZOOM เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยนานาชาติ ของ GPSNR  ซึ่งได้มีการหารือ กรณีสำนักเลขาธิการจะทำข้อเสนอของ GPSNR เพื่อสนับสนุนร่างกฎหมายของสหภาพยุโรป(EU) ที่จะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์จากพืชที่มาจากพื้นที่ทำลายป่า(Deforest)

 

ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

 

โดยร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในปัจจุบัน ยังไม่รวมผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ ซึ่งทุกวันนี้กูฏกติกานี้ได้นำมาใช้กับ ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ และน้ำมันปาล์มแล้วในเอกสารเป็นข้อเสนอจาก NGO ที่เป็นสมาชิก GPSNR เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อออกกฏกติกาใหม่เพิ่มขึ้นมา สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบจากยางพาราไปยุโรป เพื่อให้มั่นใจว่ายางพาราที่ส่งมาไม่ได้มาจากการบุกรุกป่า NGO เหล่านี้ต้องการให้ GPSNR สนับสนุนกูฏกติกานี้ ในการนำเข้ายางพาราในยุโรปให้ใช้กติกาเดียวกับผลิตผลเกษตรอื่นๆที่กล่าว

 

ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

 

สำหรับภายใต้กฏนี้การนำเข้าผลผลิตแต่ละล็อตชาวสวนยางจะต้องแจ้งว่าได้กรีดยางที่ส่งมานี้วันไหน สวนไหน บริเวณไหนอย่างชัดเจน โดยระบุในคอนเทนเนอร์แต่ละล็อต (ซึ่งโดยปกติแล้วแต่ตู้คอนเทนเนอร์มียางพาราจากหลายแหล่ง และมีวันกรีดที่หลากหลาย จึงน่าจะสร้างความยุ่งยาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ)

 

นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบและมีหลักฐานชัดเจนว่ายางจากสวนแต่ละแห่งที่อยู่ในคอนเทนเนอร์นี้ไม่ได้มาจากการบุกรุกป่าใช้แซทเทิลไลท์ถ่ายรูปประกอบเป็นหลักฐานสำหรับประเทศไทยหรืออินโดนีเซีย ถ้าจะให้ปฏิบัติตามกูฏนี้เราต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10-15 ปี เพราะเราต้องเข้าไปให้ชาวสวนยางทุกคนดำเนินการ รวมถึงต้องใช้ระบบไอทีต่างๆเพื่อมาเก็บข้อมูล (ถึงแม้จะใช้เงินมากมายก็ไม่สามารถช่วยได้)

 

แต่เป็นการโยนภาระหน้าที่มาให้ชาวสวนยางซึ่งทุกวันนี้ก็มีความยากลำบากมากอยู่แล้วประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศในยุโรปไม่มีกูฏกติกานี้ และถ้าเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก็ไม่ต้องใช้กฏนี้ กูฏนี้เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท หรืออุตสาหกรรมที่มีสวนขนาดใหญ่ที่มีความได้เปรียบอยู่แล้วในปัจจุบันแต่จะมาทิ้งภาระไว้ที่ชาวสวนยางรายย่อยซึ่งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา ซึ่งทุกวันนี้ก็มีความเสียเปรียบในหลายๆด้านอยู่แล้ว และที่สำคัญการเพิ่มภาระนี้ให้กับชาวสวนยาง ทำให้เป้าหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวสวนยางรายย่อย หรือ livelihood ซึ่งเป็นเป้าหมายของ GPSNR ด้วยเช่นกันนั้น เป็นเรื่องที่ลำบากยิ่งขึ้น

 

นายสุนทร กล่าวว่า ส่วนตนได้มีข้อแนะนำ เนื่องจากเรามีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบไม่เพียงพอ ผมจึงไม่สามารถสนับสนุนกูฏกติกานี้กับยางพาราได้ การปฏิบัติตามกฎหมายนี้อาจใช้เวลาหลายปี และชาวสวนยางรายย่อยอาจจะกลายเป็นผู้ที่สูญเสียมากที่สุดกับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมสวนยางขนาดใหญ่

 

“ผมอยากเสนอแนะให้ทาง EU ทำงานเกี่ยวกับกฎหมายที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องการบุกรุกป่าเท่านั้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวสามารถนำมาพูดคุยกันในเวทีของ GPSNR อาจจะให้ชาวสวนยางลงคะแนนเกี่ยวกับกฎหมายนี้ แต่อย่าเข้าผิดว่าเราต่อต้านกฎหมายเพื่อการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าไม้ แต่วิธีการตรวจสอบเช่นนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ผมอยากเสนอแนะให้มีการพูดคุยหารือกับสหกรณ์หรือกลุ่มชาวสวนยางรายย่อย (ที่ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าคนกลาง) เกี่ยวกับการปรับรูปแบบของห่วงโซ่อุปทานของยางพารา”

 

 

อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงดึกวันวานที่ผ่านมา ได้ประชุมทางไกลกับตัวแทนเกษตรกรรายย่อยที่เป็นกรรมการบริหาร(EC) ของ GPSNR 3 คน มีสุนทร รักษ์รงค์ จากประเทศไทย Febrius SW จากอินโดนีเซีย และ Baroan Rolan จากคอร์ติวัวร์ เรามีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยพวกเราจะขอระยะเวลาในการศึกษาผลกระทบเพิ่มเติม และจะเดินทางไปร่วมประชุม On-site ที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายนปีนี้ เพื่อคัดค้านต่อไป

 

“ในเมื่อ EU ไม่ได้รวมยางพาราในกฎหมายดังกล่าว เพราะการปลูกยางไม่ได้ส่งเสริมการทำลายป่าไม้ การทำสวนยางยั่งยืนยังสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลกด้วยซ้ำไป เลยไม่เข้าใจว่าทำไม GPSNR จะทำข้อเสนอสนับสนุนกฎหมายของ EU โดยเพิ่มเอาผลิตภัณฑ์จากยางพาราเข้าไปด้วย และชาวสวนยางรายย่อยจะได้ประโยชน์อะไรจากกฎกติกาเหล่านี้ เหมือนเอาหัวตัวเองไปยื่นให้คนอื่นเชือด”

 

ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

 

จากผลการประชุมเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยนานาชาติของ GPSNR ได้รับรู้ทิศทางและนโยบายของสหภาพยุโรป(EU) ในการออกกฎกติกาเพื่อห้ามไม่ให้รับซื้อผลิตภัณฑ์จากพืชที่มีส่วนในการบุกรุกทำลายป่าไม้ หลายพืชกำหนดแล้ว เช่น ปาล์มน้ำมัน โก้โก้ กาแฟ และถั่วเหลือง และกำลังจะรุกคืบมาที่ยางพาราในอนาคตอันใกล้

 

กฎหมายหรือข้อกำหนดเหล่านี้ ในอนาคตยากที่จะปฏิเสธ เพราะสอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ BCG ของโลก เพียงแต่จะเมื่อไหร่เท่านั้นเอง วันนี้ในกรณีของยางพารา ผมทำได้เพียงยื้อหรือซื้อเวลาในเวทียางโลก ให้ขยายระยะเวลาในการตัดสินใจ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับพี่น้องชาวสวนยาง อันเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนในขณะนี้

 

แก้ปัญหาที่ดินทำกิน

 

ดังนั้นการที่ผมพยายามสนับสนุนให้มีการทำสวนยางยั่งยืน และให้รัฐเร่งแก้ไขปัญหาที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ก็เพราะเล็งเห็นปัญหาเหล่านี้ และเกษตรกรต้องเปลี่ยน Mindset มาทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยุติการบุกรุกทำลายป่า เพื่อส่งมอบผืนป่าที่เหลือให้ลูกหลานเพราะถ้าเกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนความคิด รัฐยังล่าใช้ในการออกเอกสารสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ

 

ผวา กฎหมายใหม่ EU ทุบยางส่งออกเดี้ยง หวั่นซ้ำเติมราคาดิ่ง

 

ต่อไปในอนาคตอันใกล้ ผลิตภัณฑ์จากพืชเศรษฐกิจ ไม่ว่า ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจ หรือพืชอื่น ประเทศไทยก็จะเจอมาตรการทางกฎหมายข้างต้น เสมือนการถูกกีดกันทางการค้า(Trade War) ราคาผลิตผลทางการเกษตรจะตกต่ำ เพราะถูกกดราคาจากข้อหาขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เพาะปลูกในที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบุกรุกทำลายป่าไม้