"ไทย"ไฟเขียวสายการบินใช้ "โบอิ้ง737 max" ขึ้นบินได้แล้ว

20 ต.ค. 2564 | 04:00 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ต.ค. 2564 | 06:13 น.
1.6 k

"ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ข้อกำหนด กพท.อนุญาตให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้แล้ว

"ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่  ข้อกําหนดของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)หรือcaat ฉบับที่ 34 ว่าด้วยการอนุญาตให้สายการบินปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ โบอิ้ง 737 แม็กซ์ ได้แล้ว

 

โดยมีสาระสำคัญว่าตามที่ได้เกิดอุบัติเหตุแก่อากาศยานแบบ Boeing 737 - 8 ของสายการบิน Lion Air (Indonesia) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 และสายการบิน Ethiopian Airlines เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 และสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้มีการออกเอกสารเผยแพร่ ฉบับที่ 3/2562 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงในการปฏิบัติการบินของอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max โดยได้มีคําสั่งให้ผู้ดําเนินการอากาศหยุดปฏิบัติการบินด้วยอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max เป็นการชั่วคราวนั้น

เนื่องจากปัจจุบันองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) ในฐานะรัฐผู้ออกแบบอากาศยานดังกล่าว รวมทั้ง องค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency: EASA ) ได้ออกแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติการบินสําหรับการนําอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max กลับมาปฏิบัติการบิน (Boeing 737 Max Return to Service )

 

ประกอบกับหน่วยงานกํากับดูแลด้านการบินพลเรือนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น UK Civil Aviation Authority (UK CAA ), Transport Canada Civil Aviation (TCCA ), Civil Aviation Safety Authority of Australia (CASA ) และ Civil Aviation Authority of New Zealand ได้ออกกฎเกณฑ์ยกเลิกข้อจํากัดเพื่อให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศสามารถการนําอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max กลับมาปฏิบัติการบินได้

 

\"ไทย\"ไฟเขียวสายการบินใช้ \"โบอิ้ง737 max\" ขึ้นบินได้แล้ว

 

สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ทบทวนและตรวจสอบหลักเกณฑ์และเอกสารทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับการนําอากาศยานแบบ Boeing 737 Max กลับมาปฏิบัติการบิน ซึ่งออกโดย FAA และผู้ผลิตอากาศยาน

รวมทั้งได้ดําเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk Assessment: SRA) สําหรับการปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ในประเทศไทย ด้วยแล้ว ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศของไทยและต่างประเทศที่จะปฏิบัติการบิน ด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้ปฏิบัติตามรายละเอียดทั้งหมดที่กําหนดในคําสั่ง สมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directive ) และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องที่ FAA กําหนดขึ้นแล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15/10 (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้อํานวยการสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกข้อกําหนด เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศปฏิบัติการบินด้วยอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max ไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ข้อกําหนดของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 34 ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศปฏิบัติการบินด้วยอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max ”

 

ข้อ 2 ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ในข้อกําหนดนี้ “Boeing 737 Max” หมายความว่า อากาศยานแบบ Boeing 737-8 และ Boeing 737-9

 

“ผู้ดําเนินการเดินอากาศไทย ” หมายความว่า ผู้ดําเนินการเดินอากาศที่ได้รับใบรับรอง การเดินอากาศจากผู้อํานวยการ

 

ข้อ 4 ผู้ดําเนินการเดินอากาศไทยที่จะปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการ ให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศไทยยื่นคําขออนุญาตเป็นหนังสือต่อผู้อํานวยการพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

 

(1) เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้งหมด ที่กําหนดไว้ในคําสั่งความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directives ) เลขที่ 2020 -24 -02 ที่ออกโดย FAA (FAA Airworthiness Directive (AD ) 2020 -24 -02 ) และคําสั่งแก้ไขเพิ่มเติม หรือคําสั่งอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ออกโดย FAA (ถ้ามี)

 

(2) แผนการฝึกอบรมผู้ประจําหน้าที่ในอากาศ (Flight Crew Training Programme ) ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบทั้งการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและการฝึกภาคอากาศ ตามรายละเอียดที่กําหนดใน Appendix 7 ของเอกสาร FAA Flight Standardization Board Report, Revision 17 dated 16 November 2020 พร้อมการฝึกกับเครื่องช่วยฝึกบินเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่านักบินได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอเพื่อจัดการกับปัญหาด้านปัจจัยมนุษย์ (Human Factor ) ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ทําให้ตกใจ (Startle Factor ) และการจัดการภาระงานสูง (High Workload ) ในสถานการณ์ฉุกเฉินของอากาศยาน

 

ทั้งนี้เครื่องช่วยฝึกบินที่จะใช้ในการฝึกจะต้อง (ก) ติดตั้ง binary simulation load revision 3.23.4 _ 3 หรือสูงกว่า และ (ข) ได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ควบคุมการบิน (flight control computer software ) อย่างน้อย version P12.1.2 และเปิดใช้งานอยู่ เมื่อผู้อํานวยการพิจารณาเอกสารหลักฐานตามวรรคสอง (๑) แล้วเห็นว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศไทย ได้ดําเนินการครบถ้วนตาม FAA Airworthiness Directive (AD ) 2020 -24 -02 และแผนการ ฝึกอบรมผู้ประจําหน้าที่ในอากาศ (Flight Crew Training Programme) ที่ขอแก้ไขปรับปรุงเป็นไปตาม วรรคสอง (๒) ผู้อํานวยการจะให้การรับรองแผนการฝึกอบรมผู้ประจําหน้าที่ในอากาศ พร้อมทั้ง อนุญาตเป็นหนังสือให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศนั้นปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max โดยกําหนดเงื่อนไขให้เริ่มปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้เมื่อทําการฝึกอบรมนักบิน ครบถ้วนตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองแล้ว ทั้งนี้ ผู้อํานวยการจะกําหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม ตามที่เห็นว่าจําเป็นเพื่อความปลอดภัยไว้ในหนังสืออนุญาตด้วยก็ได้

 

ข้อ 5 ผู้ดําเนินการเดินอากาศต่างประเทศที่จะปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max เข้ามายังหรือออกจากราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการ ให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศต่างประเทศยื่นคําขออนุญาตเป็นหนังสือต่อผู้อํานวยการ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้

 

(๑) เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศต่างประเทศได้รับอนุญาตจากรัฐ ผู้จดทะเบียนอากาศยานหรือรัฐผู้ดําเนินการเดินอากาศให้นําอากาศยานแบบ Boeing 737 Max กลับมาทําการบิน (Return to Service ) หรืออนุญาตให้ปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้

 

(๒) เอกสารหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศต่างประเทศได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้งหมด ที่กําหนดไว้ในคําสั่งความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directives) อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) คําสั่งความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directives ) เลขที่ 2020 -24 -02 ที่ออกโดย FAA (FAA Airworthiness Directive (AD ) 2020 -24 -02 ) และคําสั่งแก้ไขเพิ่มเติม หรือคําสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องที่ออกโดย FAA (ถ้ามี) หรือ (ข) คําสั่งความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directives ) เลขที่ ๒๐๒๑ -๐๐๓๙ ที่ออกโดย EASA (EASA Airworthiness Directive (AD ) 2021 -0039 ) หรือ (ค) คําสั่งความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Directives) ที่ออกโดยรัฐผู้จดทะเบียน อากาศยานหรือรัฐผู้ดําเนินการเดินอากาศ ซึ่งมีรายละเอียดเทียบเท่ากับคําสั่งความสมควรเดินอากาศ ตาม (ก) หรือ (ข)

 

(3) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่านักบินที่จะปฏิบัติการบินกับอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้รับการฝึกอบรมตามรายละเอียดที่กําหนดใน Appendix 7 ของเอกสาร FAA Flight Standardization Board Report, Revision 17 dated 16 November 2020 ครบถ้วนแล้ว  เมื่อผู้อํานวยการพิจารณาเอกสารหลักฐานตามวรรคสองแล้วเห็นว่าผู้ดําเนินการเดินอากาศ ต่างประเทศนั้นได้รับอนุญาตจากรัฐผู้จดทะเบียนอากาศยานหรือรัฐผู้ดําเนินการเดินอากาศให้นําอากาศยาน แบบ Boeing 737 Max กลับมาทําการบิน (Return to Service ) หรืออนุญาตให้ปฏิบัติการบิน ด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้ และได้ดําเนินการครบถ้วนตาม Airworthiness Directive ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักบินได้รับการฝึกอบรมครบถ้วนแล้ว ผู้อํานวยการจะอนุญาต เป็นหนังสือให้ผู้ดําเนินการเดินอากาศต่างประเทศนั้นปฏิบัติการบินด้วยอากาศยานแบบ Boeing 737 Max ได้ ทั้งนี้ ผู้อํานวยการจะกําหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นว่าจําเป็นเพื่อความปลอดภัยไว้ใน หนังสืออนุญาตด้วยก็ได้

 

ประกาศ ณ วันที่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2564 

 

สุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อํานวยการสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

 

\"ไทย\"ไฟเขียวสายการบินใช้ \"โบอิ้ง737 max\" ขึ้นบินได้แล้ว \"ไทย\"ไฟเขียวสายการบินใช้ \"โบอิ้ง737 max\" ขึ้นบินได้แล้ว \"ไทย\"ไฟเขียวสายการบินใช้ \"โบอิ้ง737 max\" ขึ้นบินได้แล้ว \"ไทย\"ไฟเขียวสายการบินใช้ \"โบอิ้ง737 max\" ขึ้นบินได้แล้ว