"การบินไทย"ค้านจ่ายหนี้2แสนล้าน จ่อเพิ่มทุน1.96แสนล้าน

16 มิ.ย. 2564 | 17:55 น.
1.0 k

"การบินไทย" แจงตลท.ค้านชำระหนี้ 2 แสนล้าน เร่งลดทุนใน 6 เดือน เดินหน้าเพิ่มทุนจดทะเบียน 1.96 แสนล้าน ให้คลัง-เจ้าหนี้สินเชื่อใหม่ แปลงหนี้ดอกเบี้ยเป็นทุน เข้ามาถือหุ้น ทั้งแจง4ข้อผลสำเร็จของแผนฟื้นฟู

วันนี้(16มิถุนายน2564)บริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)ชี้แจง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงการดำเนินการของการบินไทยหลังศาลล้มละลายเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ โดยระบุว่า หลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ (วันที่ 19 พฤษภาคม 2564) ซึ่งมีผลให้ผู้บริหารแผนที่ถูกเสนอชื่อตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไข 5 คน ประกอบด้วย

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, นายพรชัย ฐีระเวช, นายศิริ จิระพงษ์พันธ์, นายไกรสร บารมีอวยชัย และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ได้นั่งเป็นผู้บริหารแผน และมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารธุรกิจตามแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยต่อไป

\"การบินไทย\"ค้านจ่ายหนี้2แสนล้าน จ่อเพิ่มทุน1.96แสนล้าน

อีกทั้งการบินไทย ยังได้รายงานถึงสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทว่า แผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย ได้มีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ 36 กลุ่ม แบ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกัน 1 กลุ่ม และเจ้าหนี้ไม่มีประกัน 35 กลุ่ม โดยมีจำนวนคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 13,133 ราย เป็นภาระหนี้ที่นำมาปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนจำนวน 410,140.97 ล้านบาท

โดยผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ได้ยื่นคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บางราย ซึ่งมีภาระหนี้ประมาณ 2 แสนล้านบาท เนื่องจากผู้ทำแผนเห็นว่าเป็นภาระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นภาระหนี้ที่ไม่อาจยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้

\"การบินไทย\"ค้านจ่ายหนี้2แสนล้าน จ่อเพิ่มทุน1.96แสนล้าน

\"การบินไทย\"ค้านจ่ายหนี้2แสนล้าน จ่อเพิ่มทุน1.96แสนล้าน

แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดการ ปรับโครงสร้างทุน ของบริษัท โดยภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน การบินไทยจะต้องดำเนินการลดทุนจดทะเบียนจาก 26,989.01 ล้านบาท ให้เหลือ 21,827.72 ล้านบาท โดยการตัดหุ้นการบินไทยที่ยังไม่ได้ออกและจำหน่าย 516.13 ล้านหุ้น

ทั้งนี้หลังการลดทุน การบินไทยจะต้องดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรองรับการจัดสรรและการออกหุ้นตามสัญญาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Share Option) (“สิทธิในการซื้อหุ้น”) จำนวน 196,449,472,520 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 21,827,719,170 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 218,277,191,690 บาท

โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 19,644,947,252 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท การบินไทยจะจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนในข้อนี้ ดังนี้

จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้คลัง-เจ้าหนี้สินเชื่อใหม่

(ก) จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของการบินไทย จำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 (กระทรวงการคลัง) และ/หรือ ผู้รับโอนสิทธิในการซื้อหุ้นในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่เข้าหนี้กลุ่มที่ 4 และ/หรือ ผู้รับโอนสิทธิในการซื้อหุ้นที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามข้อนี้อาจทำในคราวเดียวหรือหลายคราวก็ได้

(ข) จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของการบินไทย จำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ที่ให้สินเชื่อใหม่ตามข้อ 5.8.2 และ/หรือ ผู้รับโอนสิทธิในการซื้อหุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้แก่เจ้าหนี้ที่ให้สินเชื่อใหม่ และ/หรือ ผู้รับโอนสิทธิในการซื้อหุ้น ที่จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามข้อนี้อาจทำในคราวเดียวหรือหลายคราวก็ได้

หลังจากนั้นในปีที่ 4 นับจากวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน การบินไทยจะดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อรองรับการแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่มีสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิในการได้รับเงินจากการขายเครื่องบิน) กลุ่มที่ 6 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่มีหลักประกัน) และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้

ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 5.3 จำนวน 19,036,081,760 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 218,277,191,690 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 237,31 3,273,450 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 1,903,608,176 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของการบินไทย จำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้รายที่แสดงความประสงค์ที่จะแปลงหนี้ออกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญตามเงื่อนไขการคำนวณดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดไว้ในข้อ 5.3 ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น

รวมถึงการระบุระยะเวลาการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทั้ง36กลุ่ม  รวมไปถึงระบุถึง ผลสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการ ตามแผน ใน 4 ข้อได้แก่

1.จดทะเบียนเพิ่มทุนและ ได้รับสินเชื่อใหม่ตามเงื่อนไขที่คำหนดไ ว้ในแผน ตามข้อ ร.6 และ 5.8 ของแผนในจำนวนที่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และ

2. ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยไม่เกิดเหตุผิดนัดตามข้อ 5.12 ได้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และ

3. มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จากการดำเนินงานหลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี ใน 2 ปีก่อนหน้าที่จะรายงานศาลถึงผลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ โดย EBITDA ในปีหลังต้องไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท และ

4.มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ในกรณี ที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 5.6 (3) ของแผน

ข่าวเกี่ยวข้อง: