ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

19 ก.พ. 2563 | 15:00 น.
1.9 k

สทนช. รุกแก้ปัญหาลุ่มเจ้าพระยา หนุนเมกะโปรเจคผันน้ำยวมเติมน้ำเขื่อนภูมิพล 1.7 หมื่นล้าน แก้แล้ง หวังลดการใช้น้ำบาดาลปีละ 612 ล้านลบ.ม.

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​  

วันที่ 19 ก.พ.63 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ตามที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้สั่งการให้ สทนช.กรมชลประทาน  การประปานครหลวง (กปน.)และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เร่งรัดติดตามผลการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาค่าความเค็มในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใหญ่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชน  สทนช. ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามตามข้อสั่งการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

โดยได้มีการเพิ่มการระบายน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองผ่านคลองมหาสวัสดิ์ ในปริมาณ 60 ลบ.ม. ต่อวินาที คิดเป็นปริมาณน้ำที่ระบายเพิ่มเติมอีก 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปจนถึงเดือนมิถุนายนนี้ (จากเดิมที่มีแผนระบายแล้ว 500 ล้านลูกบาศ์เมตร) มาช่วยผลักดันความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกับการดำเนินการมาตรการอื่น ๆ  ได้แก่ การบริหารจัดการอาคารชลประทานให้สัมพันธ์กับช่วยเวลาน้ำขึ้นน้ำลง

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

โดยหน่วงน้ำในพื้นที่ด้านบนบริเวณหน้าเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทด้วยการบริหารปิด/เปิดบานระบายให้สัมพันธ์กับช่วงเวลาน้ำขึ้น – น้ำลง สอดคล้องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ด้านท้ายแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะปิดประตูระบายน้ำในช่วงเวลาน้ำขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำเค็มรุกเข้ามาในแม่น้ำและจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงเวลาน้ำลงเพื่อเร่งระบายน้ำหรือการกระแทกน้ำ

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

ในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ไล่น้ำเค็มออกสู่ทะเลโดยเร็ว ส่วนการวางแผนแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น สทนช. ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ประกอบด้วย ลุ่มน้ำสาละวิน โขงเหนือ ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา ท่าจีน สะแกกรัง และป่าสักให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งแผนดังกล่าวสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 20 ปี

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

สำหรับความคืบหน้าผลจากการศึกษาที่ล่าสุด   ได้มีการสรุปผลประชุมรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว  กล่าวคือ  โครงการในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่มีทั้งหมด 13,748 โครงการ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ 81 โครงการ สามารถบรรเทาพื้นที่ภัยแล้งได้ 2,155,000 ไร่ และสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ 2,857,000 ไร่ อีกทั้งมีโครงการที่บรรจุในแผนหลัก 13,667 โครงการ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน (พ.ศ.2564-2565) จำนวน 3,615 โครงการ ระยะสั้น (พ.ศ.2566-2570) จำนวน 7,785 โครงการ

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

ระยะปานกลาง (พ.ศ.2571-2575) จำนวน 1,030 โครงการ และระยะยาว (พ.ศ.2576-2580) จำนวน 1,237 โครงการ โดยโครงการที่อยู่ในระยะเร่งด่วนเป็นโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จำนวน 653 โครงการ สามารถบรรเทาพื้นที่ภัยแล้งได้ 161,000 ไร่ เป็นโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จำนวน 100 โครงการ สามารถบรรเทาพื้นที่น้ำท่วมได้ 194,000 ไร่   ทั้งนี้ สทนช.จะเร่งนำผลการศึกษาไปสู่แผนปฏิบัติการและขับเคลื่อนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาด้านน้ำโดยเร็วต่อไป 

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

ทั้งนี้ นอกจากการปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นแล้ว โครงการสำคัญในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถบรรเทาปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ อาทิ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ตำบลสบเงา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจะสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำน้ำยวมตอนล่างผ่านอุโมงค์ไปลงห้วยแม่งูด เฉลี่ยปีละ 1,795 ล้านลบ.ม. โดยใช้เขื่อนน้ำยวมตอนล่าง ทำหน้าที่เก็บกักน้ำและทดน้ำเข้าสู่สถานีสูบน้ำบ้านสบเงา แล้วสูบน้ำขึ้นสู่ถังพักน้ำก่อนปล่อยเข้าอุโมงค์ส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.3-8.5 เมตร ความยาวรวม 61.85 กิโลเมตร งบประมาณโครงการ 71,000 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 7 ปี โครงการนี้จะผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 516 ล้านหน่วยต่อปี มูลค่า 1,855 ล้านบาท เพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม 9.3 แสนไร่ มูลค่า 3,104 ล้านบาท เสริมความมั่นคงในการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคและอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำบาดาลปีละ 612 ล้าน ลบ.ม.

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

ปัจจุบัน กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมโครงการและผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) และโครงการผันน้ำกก อิง และน่าน เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีองค์ประกอบแนวผันน้ำ 2 ช่วง คือ ช่วงจากแม่น้ำกกไปแม่น้ำอิง (กก-อิง) ความยาว 56.7 กิโลเมตร และช่วงจากแม่น้ำอิงไปแม่น้ำน่าน (อิง-ยอด) ความยาว 64.7 กิโลเมตร เป็นคลองผันน้ำแบบคลองเปิด ท่อผันน้ำ (ฝังกลบ) อุโมงค์ผันน้ำ และอาคารประกอบอื่นๆ โดยผันน้ำ เฉลี่ยปีละ 2,000 ล้าน ลบ.ม. ลงสู่ลุ่มน้ำน่านตอนบนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ หากรวม 2 โครงการแล้ว สามารถผันน้ำได้ 3,795 ล้าน ลบ.ม. ต่อปีในช่วงฤดูน้ำหลาก

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเพื่อแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วยแผนงานจำนวน 9 แผนงาน ได้แก่ 1) โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง 2) โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย 3) โครงการคลองระบายน้ำควบคู่ถนนวงแหวนรอบที่สาม 4) โครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

5) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา 6) โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ 7) โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร 8) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน และ 9) โครงการพื้นที่รับน้ำนอง โดยความก้าวหน้าล่าสุดของโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร ได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียด พร้อมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA การเวนคืนที่ดินและจัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2562-2566 กรอบวงเงินรวมประมาณ 21,000 ล้านบาท\

ดันโครงการผันน้ำยวมเติมเขื่อน​ภูมิพลแก้แล้ง​

ประกอบด้วยงานขุดลอกคลองระบายน้ำ ระยะทาง 22.4 กม. ระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลบ.ม./วินาที ก่อสร้างถนนบนคันคลอง ประตูระบายน้ำในลำน้ำและปลายคลองขุด และก่อสร้างเขื่อนพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถระบายน้ำเพิ่มขึ้นได้รวม 2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งที่ผ่านมาหากมีปริมาณการระบายมากกว่า 800 ลบ.ม./วินาที จะเกิดผลกระทบต่อชุมชนริมน้ำ พื้นที่เขตเศรษฐกิจ โบราณสถานสำคัญ และพื้นที่ชุมชนเมืองพระนครศรีอยุธยา ขณะเดียวกัน ยังมีแผนการดำเนินการระยะยาวโดยสร้างเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในอนาคต” ดร.สมเกียรติ กล่าว