จากกรณีผู้เลี้ยงเกษตรกรโคนมมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนมเดินทางไปยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือต่อท่านนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาทางช่วยเหลือแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 13 มกราคม) นั้น
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” สถานการณ์โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ทางกรมได้มีการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี นับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม ถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการดำเนินการโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีประกาศกำหนดเขตเฝ้าระวังโรคระบาดชนิดโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่จำพวกโค กระบือ แพะ แกะ สุกร หมูป่า และกวางตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
“ปศุสัตว์อำเภอมวกเหล็กประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่หมู่ 2 บ้านคลองม่วงใต้ ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2563 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีเกษตรกรแจ้ง 108 ราย โคนมร่วมฝูง 5,654 ตัว ป่วย 1,980 ตัว หายป่วย 1,083 ตัว ป่วยคงเหลือ 897 ตัว ประกอบด้วย
ตำบลลำพญากลาง มีการระบาด 11 หมู่บ้าน หมู่ 1 2 3 5 7 9 12 13 15 16 และ 18 (จากทั้งหมด 18 หมู่บ้าน)จำนวน 89 ราย โคร่วมฝูง 4,687 ราย ป่วยสะสม 1,578 ตัว หายป่วย 1,083 ตัว ป่วยคงเหลือ 495 ตัว,ตำบลลำสมพุง มีการระบาด 3 หมู่บ้าน หมู่ 1 9 7 (จากทั้งหมด 10 หมู่บ้าน)จำนวน 18 ราย โคร่วมฝูง 967 ตัว ป่วยคงเหลือ 402 ตัว และมีรายงานการตายจำนวน 5 ราย ทั้งหมด 55 ตัว ประกอบด้วย แม่โค 19 ตัว โคสาวรุ่น 23 ตัว 12 ตัว และโคพ่อพันธุ์ 1 ตัว
สำหรับภาวะโรค ณ วันที่ 11 มกราคม 2563 (หายป่วยแล้ว 62 ฟาร์ม 1,083 ตัว) ลำพญากลาง ป่วยคงเหลือ 25 ฟาร์ม 495 ตัว ลำสมพุง ป่วยคงเหลือ 18 ราย 402 ตัว ได้รับวัคซีนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ชนิด Lot No.T63B รับวัคซีน 120,000 โด๊ส รายงานการฉีดวัคซีน 91,842 โด๊ส
นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า ได้มีการจัดประชุมชี้แจงมาตรการเข้มงวดควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อย ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ให้กับสหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนมดิบ ในพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก เพื่อรายงานสถานการณ์โรคและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ โดยปศุสัตว์เขต1 เป็นประธานการประชุมฯ และมีการสำรวจสัตว์ป่วยในพื้นที่และออกตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำในการรักษาและสนับสนุนยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นคือแจกยาปฏิชีวนะ 420 ขวด ยาบำรุง 240 ขวด ยาฆ่าเชื้อ 360 ขวด ยาทากีบ 100 ขวด สเปรย์ 150 ขวด
นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ ส่งวิการที่ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย 5 ครั้ง ผลเป็นไทป์โอ 3 ตัวอย่าง ไม่สามารถจำแนกไทป์ 2 ตัวอย่าง ผ่าซากชันสูตร 4 ตัว พบวิการเบื้องต้น มีรอยโรคที่หัวใจ ปอด และกระเพาะอาหารบางส่วน เก็บตัวอย่างอวัยวะเพิ่มเติมส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ อยู่ระหว่างรอผล และเก็บตัวอย่างเลือดจำนวน 5 ราย 34 ตัวอย่าง พบค่าชีวเคมีที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของตับสูงในบางฟาร์ม ซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายของกล้ามเนื้อในช่วงที่ป่วยหรืออาจเกิดจากการได้รับสารพิษจากอาหาร ซึ่งต้องรอผลอย่างละเอียดจากทางห้องปฏิบัติการต่อไปเก็บตัวอย่างอาหาร 2 ราย 20 ตัวอย่าง รอผลทางห้องปฏิบัติการ
นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า กล่าวว่า การดำเนินการควบคุมการเคลื่อนย้ายและทำลายเชื้อโรค (ด่านกักกันสัตว์สระบุรี)ตั้งจุดตรวจและพ่นยาฆ่าเชื้อ 4 จุดพ่นยาฆ่าเชื้อจุดเกิดโรคและพื้นที่เสี่ยง 3,029 ครั้ง ตรวจสอบยานพาหนะที่ผ่านด่านและพ่นยาฆ่าเชื้อ 2,834 คัน พ่นยาฆ่าเชื้อในฟาร์ม 195 ครั้ง ขอรับการสนับสนุนบุคลากรและเวชภัณฑ์จากสำนักงานปศุสัตว์เขต 1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฝ่ายปกครอง กอ.รมน สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี สหกรณ์โคนมในพื้นที่ รับฟังปัญหาข้อเรียกร้องของเกษตรกร
“การดำเนินการที่ผ่านมายอมรับว่ามีปัญหาอุปสรรคเนื่องจากอำเภอมวกเหล็กมีพื้นที่กว้างและมีการเลี้ยงโคนมอย่างหนาแน่น มีเกษตรกร 2,390 ราย โคนม 99,897 ตัว ทำให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์ (มูลสัตว์ น้ำนม อาหารสัตว์) ตลอดเวลา ทำให้การควบคุมไม่ให้โรคปากและเท้าเปื่อยแพร่กระจายเป็นไปด้วยความยากลำบาก
อีกด้านเกษตรกรไม่แจ้งโรคหรือแจ้งโรคช้า ทำให้การเข้าควบคุมโรคล่าช้า โรคแพร่กระจายไปเป็นวงกว้าง3. ฟาร์มส่วนใหญ่ไม่มีระบบป้องกันโรคเข้าฟาร์มตามมาตรฐาน คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ ยานพาหนะสามารถเข้าไปในฟาร์มได้โดยไม่ผ่านการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทำให้มีความเสี่ยงที่เชื้อจะเข้าสู่ฟาร์มได้ง่าย งบประมาณและเจ้าหน้าที่ของภาครัฐมีจำกัด ไม่สามารถดูแลเกษตรกรได้อย่างทั่วถึงข้อจำกัดในการออกตรวจเยี่ยมสำรวจคือทำได้จำกัด เมื่อเข้าฟาร์มที่ป่วยเป็นโรคแล้วก็จะเข้าฟาร์มอื่นไม่ได้ต้องมีการสื่อสารทางโทรศัพท์บ้าง
เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น เกษตรกรวิตกกังวล ประกอบกับขาดความรู้เรื่องการใช้ยา จึงใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาดและถี่เกินความจำเป็น อาจส่งผลให้โคมีอาการแย่ลงและเสียชีวิต ประกอบกับช่วงต้นปีอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมากทำให้โคภูมิคุ้มกันต่ำและมีภาวะโรคปอดแทรกซ้อนตามมา เกษตรกรรายใหญ่ ซึ่งเลี้ยงโคเกิน 100 ตัว เมื่อมีสัตว์ป่วยต้องการเวชภัณฑ์เป็นจำนวนมาก (ซึ่งยามีมูลค่าสูง) แต่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรีมีงบประมาณจำกัด ไม่เพียงพอจึงได้ขอสนับสนุนเพิ่มเติมจากปศุสัตว์เขต 1 (โดยทางสำนักงานเน้นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยเป็นหลัก)
"เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนและมีโคตายจำนวนมากต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือดังนี้ พักการชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาปรับปรุงฟาร์ม (ฟาร์มละ 3 ล้านบาท) ให้เหลือร้อยละ 3 เท่ากับตอนเริ่มโครงการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อโคสาวทดแทนซึ่งเกินอำนาจที่ปศุสัตว์จังหวัดสระบุรีจะดำเนินการได้จึงได้ร่วมกับฝ่ายปกครอง อ.มวกเหล็ก กอ.รมน.จังหวัดสระบุรี สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี ร่วมลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนและดำเนินการช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปไม่ต้องเข้ามาเสียเวลาทำมาหากิน"