รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

26 มี.ค. 2562 | 13:52 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 18:44 น.
5.1 k

ผู้เลี้ยงโคนมเฮทั้งประเทศ! เด้งรับข่าวดี ครม. ไฟเขียวเห็นชอบ ตั้ง "คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน" จัดโควตานมโรงเรียนใหม่ พ่วงคณะอนุฯ 4 ชุด 'กฤษฎา' ยัน ตามแผนโรดแม็บ ป.ป.ช. ท้วงติง เขี่ยผู้มีส่วนได้เสียตัดทิ้ง เหลือแต่ราชการแบ่งเค้ก บิ๊กชุมนุมฯ หวั่น! จัดโลจิสติกส์ไม่เหมาะสม ลามสหกรณ์เจ๊ง

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันนี้ (26 มี.ค. 62) ได้ส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552 เรื่อง : ทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้านบาท

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

"เหตุผลและความจำเป็นตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาให้มีการทบทวนแนวทางการบริหารจัดการนมโรงเรียนปรับปรุงโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการ"

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

โดยแยกโครงสร้างการบริหารออกจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลบอร์ด ตามพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันเนื่องมาจากผู้มีส่วนได้เสียในโครงการร่วมเป็นกรรมการ

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

ทั้งนี้ ให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน" จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการหน่วยงานที่กำกับดูแล จำนวน 4 คน เป็นกรรมการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการผลิต จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ จำนวน 3 คน เป็นกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

โดยไม่มีองค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมเป็นกรรมการให้คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และรณรงค์การบริโภคนมไปยังสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อขยายเป้าหมายการบริโภคนม จากปัจจุบัน 18 ลิตรต่อคนต่อปี เป็น 25 ลิตรต่อคนต่อปี ภายในปี 2564

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

ภายใต้คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับผิดชอบ 4 คณะ รับผิดชอบภารกิจต่าง ๆ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการบริหารโครงการอาหารเสริม (นม), 2.คณะอนุกรรมการรณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับ, 3.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ระดับพื้นที่ และ 4.คณะอนุกรรมการอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยมีองค์ประกอบคณะอนุกรรมการชุดละไม่เกิน 15 คนเช่นเดียวกัน

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

ทั้งนี้ อ.ส.ค. ทำหน้าที่เป็นเพียงองค์กรกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายและส่งมอบให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ อ.ส.ค. กรมส่งเสริมสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบฐานข้อมูล "บิ๊กดาต้า" สำหรับโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายให้เด็กและเยาวชนได้ดื่มนมทุกวัน และนมที่ดื่มสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังที่แหล่งผลิตได้ เพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพนมโคตลอดห่วงโซ่อุปทาน

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

นายกฤษฎา เผยกว่า หลังการแนวทางการบริหารจัดการนมโรงเรียนให้ยึดหลัก ดังนี้ 1.ปริมาณน้ำนมดิบตามพันธสัญญา ที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย, 2.คุณภาพน้ำนมดิบและนมโรงเรียน, 3.ศักยภาพการผลิต/การตลาด, 4.ระบบโลจิสติกส์/การขนส่ง, 5.ประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมา และ 6.ความรับผิดชอบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยให้ความสำคัญกับผู้มีศูนย์รวบรวมน้ำนมโคเป็นของตนเอง หรือ มีแผนการตลาดรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และรับผิดชอบตลอด 365 วัน

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

อย่างไรก็ตาม เกษตรกร/ศูนย์รวมนม/ผู้ประกอบการ ต้องลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชัน 3 ระบบ คือ 1.ระบบทะเบียนฟาร์ม 2.ระบบซื้อขาย 3.ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เน้นย้ำให้ความสำคัญในคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียน มีมาตรฐานตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่มความเข้มงวดการติดตามตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนในระดับพื้นที่ และพัฒนารูปแบบนมโรงเรียนและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มสารอาหารจำเป็น และบรรจุภัณฑ์ Milk in box dispenser

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

ขณะนายสุบิน ป้อมโอชา ประธานชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงการจัดโซนนิ่งพื้นที่ 5 กลุ่ม โดยแบ่งเป็น 9 พื้นที่นั้น สหกรณ์เล็กจะเสียเปรียบ เนื่องจากต้องขนส่งไกลมาก เกรงว่าจะขาดทุนสูง

 

รื้อโควตา \"นมโรงเรียน\" ปิดช่องทุจริต หลัง ป.ป.ช. ท้วงติง

 

อนึ่ง การแบ่งพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (เขต 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดสระบุรีเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 2 (เขต 2 และเขต 3) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์นครราชสีมาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 3 (เขต 4 ) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่นเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 4 (เขต 5,6) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์เชียงใหม่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และกลุ่ม 5 (เขต 7,8,9) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดราชบุรีเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ