กรมวิชาการเกษตรยันแก้ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฯคุ้มครองสิทธิ์เกษตรกร

07 พ.ย. 2560 | 15:40 น.
อัปเดตล่าสุด :07 พ.ย. 2560 | 22:40 น.
กรมวิชาการเกษตร ยันแก้ไขร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฯคุ้มครองสิทธิ์เกษตรกร สร้างแรงจูงใจนักปรับปรุงพันธุ์

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงกรณีมีภาคประชาคมตั้งข้อสงสัยร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช เป็นการละเมิดสิทธิเกษตรกร โดยเป็นการขยายการผูกขาดของบริษัทเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเป็นการเปิดทางให้นำทรัพยากรชีวภาพไปใช้โดยไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์นั้นว่า การปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชที่กำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่ในขณะนี้ยังคงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุมครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ฉบับเดิมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญ

suww

โดยเฉพาะประเด็นการขยายระยะเวลาการคุ้มครองใหม่ในพืชไร่และพืชล้มลุกเป็น 20 ปี ในขณะที่พืชยืนต้น 25 ปีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งการปรับแก้ระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้นักปรับปรุงพันธุ์มีแรงจูงใจที่จะลงทุนและลงแรงในการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา รวมทั้ง เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และนักวิชาการ ซึ่งเป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่และได้จดทะเบียนคุ้มครองก็จะได้รับประโยชน์จากการขยายระยะเวลาการคุ้มครองนี้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้หากผู้ใดนำพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทดลอง วิจัย และปรับปรุงพันธุ์ ยังคงต้องขออนุญาต และแบ่งปันผลประโยชน์กรณีทำเพื่อเชิงพาณิชย์ แต่สำหรับพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ต้องขอกับชุมชนผู้เป็นเจ้าของ หากบริษัทจะนำเอาสารพันธุกรรมหรือพันธุ์พืชที่ไม่ใช่ของตนไปผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ตามที่กล่าวอ้าง บริษัทต้องขออนุญาตและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ เช่นกัน

suww1

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชยังให้สิทธิชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์ หรือพัฒนาพันธุ์พืช ที่มีลักษณะจะขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นได้ คือ เป็นพันธุ์พืชที่มีอยู่ในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งภายในราชอาณาจักรเท่านั้น สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายได้ ตามความสมัครใจ ซึ่งการแก้ไข พ.ร.บ.เพื่อให้การขึ้นทะเบียนชุมชน ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ส่วนสิทธิของชุมชนยังคงไว้ซึ่งหลักการเดิม นอกจากนี้หากผู้ใดนำพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา ทดลอง วิจัย และปรับปรุงพันธุ์ ยังคงต้องขออนุญาต และแบ่งปันผลประโยชน์กรณีทำเพื่อเชิงพาณิชย์ แต่สำหรับพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ต้องขอกับชุมชนผู้เป็นเจ้าของ

“การปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชยังคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นสำคัญตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ฉบับเดิม และเกษตรกรยังคงเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อในฤดูต่อไปได้ รวมทั้งยังให้สิทธิ์และคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่แก่นักปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งเกษตรกรและประชาชนทั่วไปด้วย” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

e-book