ด้านผู้บริโภค: การเลือกบริโภคในตอนนี้ผู้บริโภคมีความ “เจาะจงมากยิ่งขึ้น” (Personalized) เป็นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์กับแต่ละคน (Customize) และแบรนด์ที่ผู้บริโภคจะเลือกคือผู้ที่สามารถให้บริการแบบ “ไร้รอยต่อ” คือการเข้าถึงสินค้า การสั่งสินค้า การขนส่ง การจ่ายเงิน อยู่ในที่เดียวกัน
และแบรนด์สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกจุดโดยไม่เกิดความยุ่งยากในจุดใดจุดหนึ่ง อีกทั้ง “สิทธิในการเลือกเป็นของผู้บริโภค” มีสินค้าและผู้ขายสินค้ามากมายในตลาดและหลากหลายข่องทางการเข้าถึง ทำให้ผู้ผลิตมีความท้าทายในการ “เข้าตาและเข้าใจ” ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
ด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี: ต้องยอมรับว่าการเข้ามาของ “AI” เข้ามาทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เกิดการตื่นตัวในการใช้และการเข้าถึง “มองไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง AI” ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้ลดเวลาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แต่ในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และการเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งหากผู้ผลิตมีการเลือกนำ AI ที่เหมาะสมและมีประโยชน์มาประยุกต์ใช้เข้ากับการทำงานได้จะส่งผลดีอย่างมากแม้สิ่งที่ต้องเผชิญอาจจะมีเพิ่มขึ้นในปีหน้าแต่ก็มีโอกาสอย่างมากมายที่ส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ผลิตอยู่เช่นกัน
“การพยายามที่จะการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐบาล” ทั้งการเพิ่มเงินในกระเป๋า ลดภาระการใช้จ่าย จากเงินหมื่น, การลดหนี้สินส่วนบุคคลของภาคครัวเรือน รวมทั้งผลักดันการลงทุนของภาคเอกชน และการลดอัตราดอกเบี้ย ที่จะทำให้สถานการณ์ของการเติบโตของเศรษฐกิจดีขึ้น
อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตราคาน้ำมันดิบจะลดลงจากนโยบายการส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน ที่สหรัฐจะทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับประเทศในตะวันออกกลางและรัสเซีย ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศที่นำเข้าพลังงานอย่างไทยที่ต้นทุนการผลิตอาจลดลง รวมถึงอาจมีการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยที่ย้ายการลงทุนมาจากนโยบายการค้าที่อาจมาช่วยหนุนทำให้ภาคการลงทุนและภาคการผลิตและเทคโนโลยีในประเทศไทยดีขึ้น
สถานการณ์ปี 2025 นี้เหมือนเป็นอีกจุด check point ที่แบรนด์และผู้ผลิตจะต้องปรับตัวและต่อสู้ ซึ่งจะเป็นอีกเป็นบทพิสูจน์ว่าแบรนด์จะปรับตัวไปในทิศทางใด
คอลัมน์ ผู้นำวิสัยทัศน์
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 4,068 วันที่ 6 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568