“สึนามิประชากรสูงวัย” กับความเข้าใจรับมือโรคฮิตในผู้สูงอายุ

17 ส.ค. 2567 | 13:20 น.

“สึนามิประชากรสูงวัย” กับความเข้าใจรับมือโรคฮิตในผู้สูงอายุ : Healthcare Insight ธานี มณีนุตร์

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คำติดหูที่ใครหลายคนต่างก็ได้ยินกันตั้งแต่เด็ก แต่กว่าจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ตอนที่เริ่มก้าวเข้าสูงวัยผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว และเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หลายคนก็ต่างตั้งใจใช้ชีวิต บ้างก็ทำในสิ่งที่รัก ทำตามความฝันที่ตั้งไว้ บ้างก็ตั้งใจเก็บเงิน แต่มีเพียงกลุ่มน้อยที่จะเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ

จนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยชราจึงได้ค้นพบโรคประจำตัวมากมาย หลายคนอาจจะรู้จักโรคยอดฮิตในกลุ่มผู้สูงอายุกันพอสมควรอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ที่เรียกได้ว่าต้องมีผู้สูงอายุเป็นกันแทบทุกบ้าน บางบ้านไม่ได้พบเพียงแค่โรคเดียว

“สึนามิประชากรสูงวัย” กับความเข้าใจรับมือโรคฮิตในผู้สูงอายุ

หลายบ้านที่มีผู้สูงอายุจะเข้าใจดีแต่ถ้ามองภาพใหญ่ในแง่ของสังคมโดยรวมจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีมาตรการในการดูแลรับมือที่เพียงพอ ผลกระทบรุนแรงก็เปรียบได้ดั่ง “สึนามิประชากรสูงวัย” ที่ขาดการเตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้า ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับความเสื่อมสภาพของร่างกายที่เพิ่มขึ้น

ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ต้องวางแผนรับมือ แต่กระดุมเม็ดแรกที่ผมอยากชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมทำความเข้าใจก็คือ ภาวะโรคในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อยและเราสามารถเตรียมความพร้อม และการทำความเข้าใจโรค เพื่อรับมือในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องไกลตัว

โรคยอดนิยมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

จากฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข Health Data Center, 2566 ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย เนื่องการพฤติกรรมสุขภาพ การใช้ชีวิต พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนเข้าวัยชรา ซึ่งเราสามารถชะลอการเกิดโรคได้ ดังนั้นหากมีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพมากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน

จากการสำรวจในปีที่ผ่าน ทำให้สามารถสรุปข้อมูลโรคไม่ติดต่อที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ ประเทศไทย ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ประเทศไทยมีที่ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 4.6 ล้านคน เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดอันดับ 1 โดยปกติคนทั่วไปควรต้องมีความดันเลือดไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีความดันเลือดสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท มักแสดงอาการ ปวดศีรษะรุนแรง บ้านหมุน หน้ามืด ตาพร่ามั่ว จนอาจจำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือการเกิดอัมพฤกษ์ เป็นต้น

2. โรคเบาหวาน (Diabetes)

เป็นโรคที่พบได้เป็นอันดับรองลงมาแต่ยังคงมีจำนวนสูงถึง 2.1 ล้านคน เป็นโรคที่ภาวะร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลินที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำงานไม่ปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ อาจจำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นจนนำไปสู่ความพิการ

“สึนามิประชากรสูงวัย” กับความเข้าใจรับมือโรคฮิตในผู้สูงอายุ

3. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดแตก จนนำไปสู่ การทำงานของสมองหยุดชะงัก เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย พบได้มากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ได้ง่ายเช่นกัน

4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases)

เกิดจากหลอดเลือดหลอดเลือดเสื่อมสภาพลง ไม่สามารถนำส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้พอ อาจเกิดการตีบหรือตัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรม เช่น ความเครียด บุหรี่ แอลกอฮอล์ ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักที่มาก ทำให้เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตมาก