Blue Zone กับชีวิตที่ยืนยาว (ตอนที่ 1)

03 ก.พ. 2567 | 05:22 น.

Blue Zone กับชีวิตที่ยืนยาว (ตอนที่ 1) : Healthcare Insight ธานี มณีนุตร์ [email protected]

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มี การประชุม world economic forum และมีการประชุมร่วมกันในหลายหลายหัวข้อ ซึ่งมีความน่าสนใจในหลายหลายประเด็นรวมถึง เรื่องของ ค่าเฉลี่ยของอายุของคนทั่วโลก (life expectancy) และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เรื่องนี้มีการสำรวจและคาดการณ์โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และ เวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรั่ม (World Economic Forum) ว่า

คนทั่วโลกมีอายุยืนขึ้น เมื่อเทียบกับ 100 ปีที่ผ่านมา หรือเทียบระหว่างปี ค.ศ. 1950 หรือปี พ.ศ. 2493 ซึ่งอายุเฉลี่ยคนทั่วโลก อยู่ถึงแค่ 46.5 ปี แต่ 100 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 2050 หรือปี พ.ศ. 2593 คาดว่าจะมีอายุยืนถึง 77.3 ปี แต่ถ้าเรามองไปไกลถึงปี 2100 หรือ อีก 76 ปี ข้างหน้า คนทั่วโลก จะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 82 ปี นั่นหมายถึงว่า เด็กที่เกิดวันนี้ เค้าอาจมีอายุเฉลี่ย ที่เกือบ 100 ปีเลย ทีเดียว

ถ้าเราย้อนมาดูที่ประเทศไทย เราจะจะเห็นได้ว่า ข้อมูลจากการสำรวจ พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น โดยจากการคาดคะเนทางสถิติปี ค.ศ. 2100 อายุเฉลี่ยของคนไทย จะอยู่ที่ 90.7 ปี จากข้อมูลดังกล่าว เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ประเทศไทยเราถือว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ในระดับชั้นนำ

Blue Zone  กับชีวิตที่ยืนยาว (ตอนที่ 1)

เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และเทียบกับระดับโลก เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลากหลายสาขา ทั้งที่จบในประเทศและจบจากต่างประเทศ มีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก อยู่มากมาย โรงเรียนแพทย์ที่ผลิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มีการต่อยอดสู่งานวิจัย ต่างๆอีกมากมาย

รวมถึงเรามีทีมบุคลากรไม่ว่าจะเป็นพยาบาล เภสัชกร หรือบุคลากรทางการแพทย์ด้านอื่นๆ ที่มีความพร้อมและมีความชำนาญในการให้บริการ รวมกันเป็นสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ประเทศไทย มีความโดดเด่นเรื่องการรักษาพยาบาลและการดูแลระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศเรา นี่คงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้คนไทยได้รับการบริการทางสาธารณสุขที่ดีและมีคุณภาพ เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา

นอกเหนือจากการแพทย์ในแต่ละประเทศนั้นแล้ว ถ้าเราดูข้อมูลจากการสำรวจทั่วโลก จะเห็นได้ว่าอายุเฉลี่ยของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ซึ่งเราจะพบได้ว่าหลายหลายประเทศมีอายุเฉลี่ยมากกว่าหรือน้อยกว่าประเทศไทย ซึ่งเราจะพบว่ามีปัจจัยปัจจัยอื่นๆที่มาเกี่ยวข้องเกี่ยวกับอายุเฉลี่ยของคนในประเทศนั้นนั้น

Blue Zone  กับชีวิตที่ยืนยาว (ตอนที่ 1)

ผมอยากชวนท่านผู้อ่านทุกท่านดูสารคดีเรื่องหนึ่งใน Netflix ชื่อเรือง Secrets of the blue zones (Blue Zones เป็นคำจำกัดความที่สื่อสารถึงภูมิภาคที่มีประชากรอายุยืนยาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีอายุ 90 - 100 ปี และที่สำคัญยังเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส และมีความทรงจำที่ดีเยี่ยม ท่ามกลางคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย) ซึ่งผมขอสรุปสั้นสั้นเร็วเร็วจากสารคดีนี้ ให้ท่านผู้อ่าน ว่าเคล็ดลับการมีสุขภาพดีของผู้คนที่อาศัยอยู่ใน blue zones นั้นมีอะไรบ้าง

- ศรัทธาและความหวัง : ผู้คนที่อาศัยอยู่ใน blue zones ส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณต่างๆหรือความศรัทธาเกี่ยวกับศาสนาที่เขานับถือ และนำมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

- ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เราจะจะเห็นได้ว่าผู้คนที่อายุยืนจะมีการทำกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนและเพื่อนฝูงรอบรอบอยู่เสมอซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและมีความกระตือรือร้นตลอดเวลา

- ไม่มีวันเกษียณ ผู้คนส่วนใหญ่ใน blue zones จะมีงานเล็กๆน้อยๆทำอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นปลูกผักปลูกต้นไม้หรือเป็นอาสาในการช่วยเหลือชุมชน

- มีความสุขตลอดเวลา ในที่นี้หมายถึงหัวเราะไม่โกรธมองโลกในแง่บวกหรือหาความสุขง่ายง่ายในทางการทำกิจกรรมไม่ว่าจะจะเป็นเรื่องของการเล่นกีฬา เล่นดนตรี เป็นต้น

- การมีคู่ชีวิตที่ดีี ทำให้อายุอายุยืน นี่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้มีเพื่อนคู่คิด และทำกิจกรรมด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ

- การมีความสุขกับงานและก็หาความสุขหลังเลิกงานด้วย

Blue Zone  กับชีวิตที่ยืนยาว (ตอนที่ 1)

- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อันนี้ไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายแบบจริงจัง แต่การออกกำลังกายแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการทำสวนการเดินขึ้นลงบันได หรือการที่เราออกกำลังกายชีวิตประจำวัน

- อาหารนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งคนที่ อยู่ใน blue zones ส่วนใหญ่ มักจะกินอาหารที่มาจากแหล่งแหล่งธรรมชาติ หวานน้อย เต้าหู้ ผักผลไม้ โปรตีนจากเนื้อปลา ฟักทอง ข้าวโพดหรือพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น และสุดท้ายก็คือไม่กินให้อิ่มจนเกินไป นี่คงเป็นเคล็ดลับที่สำคัญเช่นเดียวกัน

จากข้อต่างๆข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่เราทำได้ไม่ยากเลย แต่ผมอยากให้ผู้อ่านทุกท่านลองไปดูเพิ่มเติมและมีรายละเอียดเพิ่มเติมในสารคดีเรื่องนี้ซึ่งผมอาจจะเอามาเล่าได้ไม่หมด ในครั้งถัดไปผมอาจจะเอารายละเอียดในแต่ละ zone ของแต่ละประเทศมาเล่าเพิ่มเติม และเราจะเห็นได้ว่าความต่างของแต่ละมุมโลก มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันอย่างไรและเราสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,962 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567