สงครามรัสเซีย ยูเครนส่อปะทุหนักจุดชนวนสู่นิวเคลียร์ เพราะอะไร เช็คเลย

12 ต.ค. 2565 | 20:24 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ต.ค. 2565 | 03:24 น.

สงครามรัสเซีย ยูเครนส่อปะทุหนักจุดชนวนสู่นิวเคลียร์ เพราะอะไร เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยเผยสถานการณ์ล่าสุด

สงครามรัสเซีย ยูเครนส่อแววปะทุหนักขึ้น ภายหลังจากที่ประเทศเบรารุสประกาศจะเข้าร่วมกับรัสเซีย

 

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

เบลารุสประกาศเข้าร่วมกับรัสเซีย ทำให้สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตึงเครียดมากยิ่งขึ้น

 

ประธานาธิบดีลูคาเชนโก้ (Lukashenko) ได้ประกาศว่า เบลารุสได้สั่งปรับกำลังพลตามแนวชายแดนของยูเครนแล้ว โดยจะร่วมมือกับรัสเซียเพื่อรับมือการคุกคามจากยูเครนและพันธมิตรตะวันตก

 

การประกาศดังกล่าว ทำให้สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวและเพิ่มความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น

 

หลังจากที่ระดับของความตึงเครียดทยอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
นับตั้งแต่สหรัฐและนาโต้ร่วมกันให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณกับยูเครน และแซงชั่นรัสเซียอย่างกว้างขวางและรุนแรง

 

ติดตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาและนาโต้ให้การสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ งบประมาณ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารลับ ที่จะทำให้ทราบข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม

 

ติดตามมาด้วยการที่รัสเซียทำประชามติ และผนวกดินแดน 4 แคว้นของยูเครนที่ติดกับชายแดนรัสเซีย เข้ามาเป็นของรัสเซีย

จึงมีการลอบวางระเบิดสะพานสำคัญจากดินแดนรัสเซียไปสู่แหลมไครเมีย ซึ่งรัสเซียได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งทางการรัสเซียเชื่อว่าเป็นการกระทำของยูเครน

 

ทำให้รัสเซียทำการตอบโต้อย่างรุนแรง โดยการโจมตีทางอากาศต่อเมืองหลวงและอีกหลายเมืองของยูเครน

 

สิ่งที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ เมื่อรัสเซียได้ผนวก 4 แคว้นของยูเครนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแล้ว(Russian Territory) รัสเซียจึงประกาศว่าพร้อมจะทำทุกวิถีทาง (All means we have)
ที่จะตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของรัสเซีย นั่นหมายถึงพื้นที่ 4 แคว้นดังกล่าวด้วย ซึ่งฝ่ายยูเครนก็ยังถือว่าเป็นพื้นที่ของตนเอง

 

สงครามรัสเซีย ยูเครนส่อปะทุหนักจุดชนวนสู่การยิงนิวเคลียร์

 

จึงมีความสุ่มเสี่ยง ที่จะเกิดการประทะกันใน 4 แคว้นดังกล่าวของยูเครนที่รัสเซียผนวกไปแล้ว

 

อาจจะทำให้เกิดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ขึ้นได้

 

โลกเราเคยมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่เรียกว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูไปเพียงสองครั้ง ที่เมืองฮิโรชิมา และ เมืองนางาซากิของประเทศญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2488 โดยมีผู้เสียชีวิตนับแสนราย

 

นับจากนั้นมา ก็ไม่เคยมีการใช้ ระเบิดปรมาณูหรืออาวุธนิวเคลียร์อีกเลย เพราะทุกฝ่ายรับทราบถึงอันตรายอย่างร้ายแรง ที่อาจจะไม่มีผู้ใดชนะเลย แต่เข้าขั้นเป็นวันสิ้นโลกได้

อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกก็ยังคงมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองจำนวนมาก ซึ่งสูงสุดได้แก่รัสเซีย 5977 ลูก ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา อันดับสอง 5428 ลูก ส่วนประเทศอื่นๆอีกเจ็ดประเทศที่เหลือ ล้วนแต่มีในระดับหลักร้อยเท่านั้น

 

เบลารุสเคยเป็นประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม เช่นเดียวกับยูเครน โดยเบลารุสมีประวัติศาสตร์ที่แข็งแกร่งมากในการทำสงคราม
สมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต เมื่อนาซีของเยอรมันได้ทำการบุกเข้ามาในเขตของโซเวียต จะต้องผ่านเบลารุสก่อน

 

ปรากฏว่าเบรารุสได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งกล้าหาญ จนสามารถสกัดทัพของนาซีเยอรมันได้

 

พร้อมกับต้องสูญเสียผู้ชายไปกว่าครึ่งเมือง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การสู้รบที่เบลารุสภูมิใจมาโดยตลอด