7 ขั้นตอนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566

27 มี.ค. 2566 | 17:00 น.

เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 วิธีการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ต้องทำอย่างไรบ้าง เช็คขั้นตอน วิธีการอย่างละเอียดได้ที่นี่

คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป (เลือกตั้ง ส.ส.) ในวันอาทิตย์ ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้

ทั้งนี้ สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในช่วงวัน เวลาดังกล่าว สามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักรล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม - 9 เมษายน 2566 และใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ที่หน่วยเลือกตั้งที่ลงทะเบียนไว้ซึ่งจะใช้วิธีการและขั้นตอนในการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อ ผู้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้งกลางที่ผู้มีสิทธิลงทะเบียนขอใช้สิทธิไว้ หรือ ตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote ได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอปได้

 

ขั้นตอนที่ 2 

ยื่นหลักฐานแสดงตน และลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อ

  • ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตนให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางเพื่อตรวจสอบข้อมูล และยืนยันตัวตน
  • พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 3

ลงลายมือชื่อบนต้นขั้วบัตร พร้อมรับบัตรเลือกตั้ง และซองใส่บัตร

  • รับซองใส่บัตรเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
  • ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
  • พร้อมลงรายการเกี่ยวกับจังหวัด เขตเลือกตั้งและรหัสเขตเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงบนซองใส่บัตรเลือกตั้ง (ส.ส. 5/2)

 

ขั้นตอนที่ 4

ทําเครื่องหมายกากบาท ในช่องทําเครื่องหมาย

  • เข้าคูหาลงคะแนน ทําเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดหรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดเลย
  • ให้ทําเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด

ขั้นตอนที่ 5

พับบัตรเลือกตั้งที่ทําเครื่องหมายแล้ว ใส่ซองใส่บัตรเลือกตั้ง

  • เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ใบ ให้เรียบร้อย แล้วใส่ลงในซองใส่บัตรเลือกตั้งปิดผนึก ให้เรียบร้อยก่อนออกจากคูหาเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 6

กปน.ลงลายมือชื่อกํากับซองใส่บัตรเลือกตั้ง

  • มอบซองใส่บัตรเลือกตั้งที่ให้ปิดผนึกเรียบร้อยให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลาง
  • ผู้ทําหน้าที่ควบคุมหีบบัตรลงลายมือชื่อ กํากับตรงรอยต่อผนึกซองดังกล่าวพร้อมปิดทับรอยต่อผนึกซอง ด้วยเทปกาวใส
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางยื่นซองใส่บัตรเลือกตั้งคืนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่ 7

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนําซองใส่บัตรเลือกตั้งใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

  • การลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรจะใช้วิธีการและขั้นตอนตามที่สถานฑูตในแต่ละประเทศกำหนดหรือจัดให้มีการลงคะแนนทางไปรษณีย์
  • โดยจะจัดส่งบัตรเลือกตั้งพร้อมซองและเอกสารประกอบให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทางไปรษณีย์
  • หลังจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งกากบาทลงคะแนนแล้วให้จัดส่งบัตรเลือกตั้งพร้อมหลักฐานแสดงตน (สำเนาหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชนไทย) มายังสถานทูตภายในระยะเวลาที่กำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากสถานฑูตไทยประจำประเทศที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้