เตือนนักสร้างคอนเทนต์ยุคใหม่ให้ระวังการผลิตเนื้อหาบนโลกออนไลน์ที่หวัง “เรียกยอด LIKE ” โดยขาดความรับผิดชอบ อาจนำไปสู่การ ถูกดำเนินคดีทั้งจำและปรับ หากเนื้อหานั้นเข้าข่ายขัดต่อกฎหมาย หรือส่งผลกระทบต่อสังคม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้รวบรวม วิธีการสร้างคอนเทนต์แบบมืออาชีพ หลีกเลี่ยงความผิดกฎหมาย
1. หลีกเลี่ยงการบิดเบือนข้อเท็จจริง
การสร้างเรื่องปลอม เช่น แกล้งเป็นคนร้ายในคลิป หรือสร้างเหตุการณ์ปลอมเพื่อสร้างความตื่นตระหนก อาจเข้าข่าย "นำเข้าข้อมูลเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์" ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 38(1)
โทษ: จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. อย่าใช้ภาพหรือเนื้อหาล่อแหลม
ภาพโป๊เปลือย หรือเนื้อหาเชิงล่อแหลมแม้จะอยู่ในรูปแบบ "โฆษณา" หรือ "เนื้อหาสนับสนุนทางอ้อม" ก็อาจเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 เช่น การโฆษณาสินค้าโดยมีภาพที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับค่านิยม
โทษ: จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. อย่าใช้ประเด็นอ่อนไหวเพื่อความตลก
การนำบุคคลอื่นมาแต่งเรื่อง หรือดัดแปลงบริบทเพื่อนำเสนอความขบขัน อาจสร้างความเสียหายหรือทำให้ประชาชนสับสน ไม่ควรใช้เหตุการณ์จริงหรือความสูญเสียมาเป็น "มุก" เพื่อยอดวิว
4. ตรวจสอบก่อนโพสต์
ควรอ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์, พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค, รวมถึงแนวทางจาก กสทช. เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาไม่ละเมิดสิทธิใคร และไม่ส่งเสริมความเข้าใจผิด
5. ใช้คอนเทนต์สร้างสรรค์ เพิ่มพลังบวก
สร้างเนื้อหาที่ให้ข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจ หรือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทางบวก เช่น การรีวิวแบบมีจริยธรรม ความรู้ด้านสุขภาพ หรือการให้ความรู้ทางกฎหมายที่เข้าใจง่าย
โทษการสร้างคอนเทนต์เรียก LIKE
ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการบทลงโทษสำหรับการสร้างคอนเทนต์ เรียก LIKE ไว้ โดยระบุว่าการสร้างคอนเทนต์ เรียกยอด LIKE มีมากมายที่มีสาระสนุกสนาน และแยกแยะได้ว่าเจตนาเยี่ยงไร อย่างเช่น สร้างเหตุการณ์ใช้ใบปะหน้าแปลงร่างนักร้องรับเชิญ เพื่อให้คนโดนเดือดเป็นการทำลายภาพลักษณ์การสร้างของประเทศ อาจเข้าข่าย “การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ”ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 38(1) “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
หากคอนเทนต์ นั้นเป็นการโฆษณาที่ใช้ข้อความสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย ศีลธรรม หรือว่าไม่ถูกต้องเสริมสร้างค่านิยมของชาติ หรือทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งแยงหรือความเสียหายต่อสังคมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคฯ (มาตรา 22) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ