จากกรณีที่ วันนี้ (1 เมษายน 2568) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) ได้จัดงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz ครั้งที่ 2
ล่าสุด นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือต่อนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสายงานโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า ตามที่ สำนักงาน กสทช. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 และ 26 GHz ครั้งที่ 2 โดยเปิดรับฟังตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. 2568 จนถึงวันที่ 4 เม.ย. 2568 นั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) ในฐานะตัวแทนของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มีความวิตกกังวลต่อการดำเนินการของ กสทช. ในการการประมูลแถบคลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยคลื่นที่จะนำมามาประมูลพร้อมกันมีทั้งคลื่นย่าน 850 MHz เป็นคลื่นว่างที่ไม่มีใครประมูลครั้งที่ผ่านมา
ที่กำลังหมดอายุใบอนุญาตของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที ในเดือนสิงหาคม 2568 และ มีรับฟังความคิดเห็นประเด็นคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz คลื่นที่ไม่เคยถูกนำมาประมูลมาก่อน จึงไม่มีหลักประกันที่ชัดเจนว่าประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ในความคุ้มครองผู้บริโภคด้านคุณภาพของการให้บริการและราคาค่าบริการจากการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียงสองราย คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ทรู กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส รวมถึงการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคที่ใช้งานคลื่นความถี่ ของ เอ็นทีที่จะหมดสัญญาลงในเดือนสิงหาคมว่า กสทช. จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาเช่นไร และในยุคดิจิทัล 6G จะมีมาตรการป้องกันมิจฉาชีพอย่างไร
สภาองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือ“กสทช.” กังวลคลื่น 850 MHz เป็นม่าย
สภาผู้บริโภคจึงเรียนมายังท่าน เปิดรับฟังความคิดเห็นของการประมูลแถบคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานภาครัฐที่ใช้งานคลื่นความถี่ของเอ็นทีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (Mobile Vrtual Network Operator MVNO) เพื่อให้เป็นล่นที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันด้านโทรคมนาคม แยกออกจากผู้ให้บริการรายใหญ่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และสร้างความสมดลระหว่างผลประโยชน์ภาครัฐและความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการกำหนดเงื่อนเงื่อนไขการประมูลที่เหมาะสมและจูงใจให้เกิดการแข่งขัน ตลอดจนมีมาตรการที่ชัดเจนในการคุ้มครองผู้บริโภคหลังการประมูล เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการและสาธารณะ
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา (หมอลี่) อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า สำหรับการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์อวิส จำกัด (มหาชน) ยื่นประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz ส่วน TRUE หรือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นประมูล 2300 MHz ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เพราะทั้งสองค่ายมือถือมีคลื่นความถี่อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องยื่นประมูล
“เมื่อเปิดประมูลคลื่นความถี่เชื่อได้เลยว่า เอไอเอส และ ทรู ประมูลคลื่นที่มีโครงข่ายที่ให้บริการอยู่แล้วเพราะถ้ายื่นประมูลคลื่นที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเองลงทุนเพิ่มเติมจำนวนมหาศาล".