thansettakij
เช็กเงื่อนไข ประมูลคลื่นมือถือ กสทช.ประชาพิจารณ์ วันที่ 1 เม.ย.

เช็กเงื่อนไข ประมูลคลื่นมือถือ กสทช.ประชาพิจารณ์ วันที่ 1 เม.ย.

30 มี.ค. 2568 | 23:00 น.

เช็กเงื่อนไขสำนักงาน กสทช. ประชาพิจารณ์หลักเกณฑ์วิธีการประมูลคลื่นถี่สากลย่าน 850,1500,1800,2100 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.6 กิ๊กเฮิรตซ์ รอบ 2 ดีเดย์ 1 เม.ย.

ความคืบหน้าประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 850 MHz , ย่าน 1800 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 26 GHz  สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยสำนักงาน กสทช.ได้จัดทำประชาพิจารณ์รอบแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา

แต่ปรากฏว่าราคากลางที่เปิดประมูลนั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาตั้งต้นสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลให้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชาพิจารณ์รอบ 2 ในวันที่ 1 เมษายน 2568

 

ความคืบหน้าประมูลคลื่นความถี่  ย่าน 850 MHz , ย่าน 1800 MHz,  2100 MHz, 2300 MHz และ 26 GHz สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยสำนักงาน กสทช.ได้จัดทำประชาพิจารณ์รอบแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าราคากลางที่เปิดประมูลนั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาตั้งต้นสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลให้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชาพิจารณ์รอบ 2 ในวันที่ 1 เมษายน 2568

รายละเอียดที่สำนักงาน กสทช.จัดประชาชนพิจารณ์ ดังนี้

คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลมี 2 ทางเลือก

  • ประมูลคลื่นความถี่ย่าน ย่าน 850 MHz , ย่าน 1800 MHz,  2100 MHz, 2300 MHz และ 26 GHzซึ่งรวมคลื่นที่กำลังหมดอายุและพร้อมจัดสรร  กับ ทางเลือก
  • ประมูลคลื่นความถี่เฉพาะคลื่นความถี่ที่กำลังจะสิ้นสุดการอนุญาตในวันที่ 3 สิงหาคม 2568 คือ ย่าน 850 MHz  , 1500 MHz และ 2100 MHz (FDD ขนาด 2x15 MHz) และ 2300  MHz

วิธีการประมูลคลื่นความถี่

  • คลื่นความถี่ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในการประมูลคลื่นความถี่
  • ​ประมูลแบบเรียงลำดับทีละย่านความถี่ (Clock Auction - Each Spectrum Band is Auctioned Sequentially)
  • ประมูลแบบเรียงลำดับทีละกลุ่มย่านความถี่ (Clock Auction - Each Group is Auctioned Sequentially)
  • ประมูลทุกกลุ่มย่านความถี่พร้อมกัน (Simultaneous Clock Auction)

​การจัดกลุ่มคลื่นความถี่

  1. แบ่งคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากมิติด้านวิศวกรรมและมิติด้านการทดแทน ดังนี้

​​​กลุ่มที่ 1 ย่าน 850 MHz ย่าน 1800 MHz 2100 MHz  (FDD)

​​​กลุ่มที่ 2 ย่าน 1500 MHz ย่าน 2100 MHz  (TDD) ย่าน 2300 MHz

​​​กลุ่มที่ 3 ย่าน 26 GHz

(2)​แบ่งคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเป็น 4 กลุ่ม โดยพิจารณาความพร้อมของ Ecosystem และมิติด้านการทดแทน ดังนี้

​​​กลุ่มที่ 1 ย่าน 850 MHz

​​​กลุ่มที่ 2 ย่าน 1800 MHz 2100 MHz  (FDD) และ 2300 MHz

​​​กลุ่มที่ 3 ย่าน 1500 MHz 2100 MHz  (TDD)

​​​กลุ่มที่ 4 ย่าน 26 GHz

ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price)

ความเหมาะสมของมูลค่าคลื่นความถี่และวิธีการคำนวณ รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการกำหนดราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (Reserve price) ของคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz และ 2300 MHz เพื่อให้ราคาขั้นต่ำสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของคลื่นความถี่

  • ​ราคาตั้งต้นการประมูล เท่ากับมูลค่าคลื่นความถี่ * ปัจจัย 0.70 * ปัจจัย 1.22
  • หลักการคำนวนใหม่ วิธีการเศรษฐมิติ(Econometrics) ปรับวิธีคิดให้เหมาะกับบริบทของประเทศไทยมากขึ้น
  • อ้างอิงราคาขั้นต่ำในคลื่นความถี่ที่เคยมีการจัดสรรในอดีต  

เงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคม

ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมในย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz หรือ 2300 MHz สำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ 

เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภค

ความเหมาะสมของการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติมสำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวคนพิการ ผู้ถือบัตรโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงข้อกังวลเพิ่มเติมจากสภาองค์กรของผู้บริโภค

 ประเด็นอื่น ๆ (ถ้ามี)

  • เช่น ประเด็นคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz

รายละเอียด (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ (คลิกที่นี่) 

ขณะที่ แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ ประมูลคลื่นมือถือ รอบใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2568 

จะมีการปรับเปลี่ยนราคาตั้งต้นในการประมูลของบางคลื่นความถี่ใหม่ หลังจากที่ผ่านมามีเสียงจากภาคเอกชนว่า เป็นราคาที่แพงเกินไปในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ขณะที่ในส่วนของบอร์ด กสทช.บางรายเห็นว่าเป็นราคาที่ถูกเกินไป ราคาตั้งต้นในแต่ละคลื่นไม่ควรต่ำกว่าการประมูลในครั้งที่ผ่านมา

ทั้งนี้ราคาตั้งต้นที่จะนำมารับคิดฟังความคิดเห็นนั้น สำหรับแนวทางเดิม ซึ่งเป็นราคาที่เคยใช้ในอดีต ได้แก่

  • คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz อยู่ที่ 7,739.04 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 1500 MHz อยู่ที่ 1,057.49 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz อยู่ที่ 7,282.15 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz (FDD) ที่ 3,970.32 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz (TDD) อยู่ที่ 580.99 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz อยู่ที่ 1,961.08 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ประเมินไว้เพียง 423 ล้านบาท

ขณะที่ ราคาใหม่ สำนักงาน กสทช. เสนอเพิ่มเติม 3 ราคา ได้แก่

  • คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ทั้ง 3 แนวทางใหม่ ราคาอยู่ที่ 7,358.60 ล้านบาท ลดลง 380.44 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 1500 MHz ทั้ง 3 แนวทางใหม่ราคาอยู่ที่ 969.03 ล้านบาท ลดลง 88.46 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เสนอ 3 ราคา ราคาใหม่ แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 4,793.19 ล้านบาท ลดลง 2,488.96 ล้านบาท ส่วนแนวทางใหม่ที่ 2 อยู่ที่ 3,617.37 ล้านบาท ลดลง 3,664.78 ล้านบาท และแนวทางใหม่ที่ 3 อยู่ที่ 12,418.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,135.91 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz (FDD) แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 3,322.82 ล้านบาท ลดลง 647.50 ล้านบาท แนวทางใหม่ที่ 2 อยู่ที่ 3,180.67 ล้านบาท ลดลง 789.65 ล้านบาท และแนวทางใหม่ที่ 3 อยู่ที่ 4,611.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 641.1 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz (TDD) ราคาเดิมอยู่ที่ 580.99 ล้านบาท ซึ่งราคาทั้ง 3 แนวทางเท่ากัน อยู่ที่ 449.04 ล้านบาท ลดลง 131.95 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ราคาเดิมอยู่ที่ 1,961.08 ล้านบาท แนวทางใหม่ที่ 1 อยู่ที่ 1,871.16 ล้านบาท ลดลง 89.92 ล้านบาท แนวทางที่ 2 และ 3 อยู่ที่ 1,541.33 ล้านบาท ลดลง 419.75 ล้านบาท
  • คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ยังคงราคาเดิมที่ 423 ล้านบาท.