น้ำท่วมภาคเหนือ “AIS” ถ่ายทอดประสบการณ์ความท้าทายกู้สัญญาณมือถือ

01 ธ.ค. 2567 | 10:09 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2567 | 17:35 น.

น้ำท่วมภาคเหนือ “AIS” ถ่ายทอดประสบการณ์ความท้าทายกู้สัญญาณมือถือ ไม่หยุดขยายสัญญาณ แม้ครอบคลุม 95% ของพื้นที่ประชากร

เป็นเพราะ น้ำท่วมภาคเหนือ เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาถือว่าเป็นน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 30 ปี  น้ำท่วมทุกครั้งปัญหาที่ตามมา คือ หาก ไฟฟ้าดับ เมื่อไหร่ทุกอย่างจะส่งผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสารทุกช่องทาง ถึงตอนนี้น้ำท่วมภาคเหนือได้คลี่คลายและเข้าสู่สภาวะปกติ

ล่าสุด  บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ได้เชิญสื่อมวลชนร่วมงาน Press Visit AIS Network for Thais ครอบคลุมทั่วไทย ลึก สูง กว้าง ไกล “เปิ้นฮักตั๋ว เน็ตชัวร์ไม่ขี้จุ๊ แอ๊วเหนือได้สุด อุ่นใจบ่ยั้งกับ AIS 5G”  วันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2567  ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี  "ฐานเศรษฐกิจ"   รวมอยู่ด้วย เหตุผลที่ AIS เชิญสื่อมวลชนขึ้นไปภาคเหนือ  วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ และ วิธีกู้สัญญาณมือถือ  หลัง น้ำท่วมภาคเหนือเข้าสู่สภาวะปกติ และ  ต้อนรับเทศกาลท่องเที่ยว หรือ ไฮซีซัน 

น้ำท่วมภาคเหนือ ความท้าทายสภาพภูมิศาสตร์

เป็นเพราะ 78% ของภาคเหนือเป็นภูเขา ความท้าทายของการติดตั้งเครือข่ายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ AIS เพราะด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่มีหุบเขาล้อมรอบ ปัญหา เรื่องของภัยพิบัติ ที่ไม่อาจกหลีกเหลี่ยงได้นั้น 

นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ ของ AIS บอกว่า ภาคเหนือตอนบนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีจำนวน 8 จังหวัด ผลกระทบจำนวน 6 จังหวัด  พร้อมยกตัวอย่าง ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งมีช้างจำนวน 418 เชือก ก่อนโควิด ตำบลกี้ดช้าง สามารถสร้างรายได้ 1 ล้านบาทต่อวัน หลัง โควิด สร้างรายได้ 6-8 แสนบาทต่อวัน  แต่น้ำท่วมภาคเหนือล่าสุดรายได้เหลือเพียง 3-4 แสนต่อวัน ซึ่งน้ำท่วมภาคเหนือ 2567 ตำบลกึ้ดช้าง ได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลจำนวน  9,000 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่ อบต. กื้ดช้าง เยียวยาเงินจำนวน 2.8 ล้านบาท เพื่อแบ่งจ่ายและนำไปเยียวยาในแต่ละครัวเรือน

เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา  นายดัสกร ศรีดวงแก้ว นายกองค์การบริหารส่วน ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประสานมายัง AIS วัตถุประสงค์ คือ ต้องการติดต่อประสานขอความช่วยเหลือไปยังปลายทาง

 

 นายอาทยา หยู่เย็น

“โชคดีของ AIS คือสัญญาณไฟเบอร์ออฟติคไม่ขาด แต่ปัญหา คือ ไฟฟ้าห้ามดับ เพราะถ้า ไฟฟ้าดับ เมื่อไหร่ปัญหาที่ตามมาคือไม่สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างต้นทาง และ ปลายทางได้ AIS จึงได้ขน แบตเตอร์รี่ ที่มีความหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม โดยใช้รถแม็คโคร ขนแบตเตอร์รี่ขึ้นไปเพื่อไปเพิ่มบรรจุไฟฟ้าได้เพียง 3 ชั่วโมงเพื่อเติมความบรรจุไฟฟ้าไม่ให้ขาด” นายกิตติ งามเจตนารมณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวเสริม

ทีมงานภาคเหนือ AIS

นายกิตติ งามเจตนารมณ์

ไม่หยุดขยายสัญญาณ AIS แม้ครอบคลุม 95% ของพื้นที่ประชากร

นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS  เปิดเผยว่า แม้ว่าในวันนี้ AIS จะมีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร แต่ AIS ยังคงเดินหน้ายกระดับโครงข่าย ด้วยวิสัยทัศน์ที่เป็นตัวนำนวัตกรรมและโซลูชัน InnoVis Network มาพัฒนาคุณภาพการให้บริการและขยายเน็ตเวิร์คอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งยังนำ AI และ Autonomous Network เข้าเสริมศักยภาพของโครงข่ายสื่อสารเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีความท้าทายอย่างมาก ทั้งในด้านทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีทิวเขา เทือกเขา ภูเขา รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งพลังงาน และปัญหาภัยทางธรรมชาติ แต่ AIS ก็ยังคงเป็นผู้นำที่สามารถส่งมอบประสบการณ์การดิจิทัลที่ตอบโจทย์ทั้ง ลึก สูง กว้าง ไกล ที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือ

 AIS ชู Super Cell LINK เชื่อมโยงจุดต่อจุด

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS  เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่ในภาคเหนือมีจำนวนสถานีฐานจำนวน 7,000 สถานี สำหรับพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมีความท้าทายอย่างมากในการวางแผนและออกแบบโครงข่ายให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า ด้วยพื้นที่สูง ทิวเขา หรือดอยต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ และแหล่งพลังงาน ทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำงาน ประกอบการใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK จำนวน 1,600 สถานี ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์

ดังนั้นการบริหารจัดการคุณภาพโครงข่ายสัญญาณของภาคเหนือจึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ AIS ที่พวกเราทุ่มเทสรรพกำลัง เพื่อให้คนไทยในพื้นที่ภาคเหนือทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่มีความแข็งแรง อันจะนำไปสู่การสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือได้ในทุกมิติ

น้ำท่วมภาคใต้เปิด War Room สัญญาณเครือข่าย 24 ชั่วโมง

นายกิตติ งามเจตนารมณ์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยี AIS เปิดเผยว่า สำหรับน้ำท่วมภาคใต้ AIS ขยายระยะเวลาการชำระค่าบริการสำหรับลูกค้ามือถือรายเดือนและลูกค้า AIS - 3BB FIBRE 3 พร้อมขยายวันใช้งานให้กับลูกค้าระบบเติมเงินในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส เป็นต้น โดยลูกค้าจะได้รับ SMS แจ้งการมอบการดูแลดังกล่าว ยายระยะเวลาการชำระค่าบริการสำหรับลูกค้ามือถือรายเดือนและลูกค้า AIS - 3BB FIBRE 3 พร้อมขยายวันใช้งานให้กับลูกค้าระบบเติมเงินในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน อาทิ จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส เป็นต้น โดยลูกค้าจะได้รับ SMS แจ้งการมอบการดูแลดังกล่าว

ดูแลระบบสื่อสารมือถือและเน็ตบ้าน

เปิด War Room ตรวจสอบ เฝ้าระวังสถานีฐานในพื้นที่ประสบภัยอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกระจายทีมวิศวกร ไปยังพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนล่าง และจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องปั่นไฟและน้ำมันให้พร้อมสำหรับการดูแลสถานีฐานในจุดเสี่ยง รวมถึงเตรียมรถสถานีฐานเคลื่อนที่ (COW) เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการสื่อสารได้ต่อเนื่อง.