“ช้อปปี้-ลาซาด้า”พลิกเกมสู้ “TEMU-TikTok Shop” ยึดหัวหาดผู้นำอีคอมเมิร์ซ

27 ก.ย. 2567 | 14:41 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ย. 2567 | 14:57 น.

ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลส “ช้อปปี้-ลาซาด้า” ปรับตัวสู้ศึกอีคอมเมิร์ซ มุ่งชูนวัตกรรมเร่งสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ผู้ใช้บริการ ยึดผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซ 7.5 แสนล้านบาท

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้มีคนไทยมากถึง 67% ที่เลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะสูงถึง 750,000 ล้านบาท ภายในปี 2568    

“ช้อปปี้-ลาซาด้า”พลิกเกมสู้ “TEMU-TikTok Shop” ยึดหัวหาดผู้นำอีคอมเมิร์ซ

อย่างไรก็ตามภูมิทัศน์การแข่งขันในอีคอมเมิร์ซเริ่มรุนแรงมากขึ้น    โดย 2 ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลส ช้อปปี้ และลาซาด้า ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมากกว่า 90%   กำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากโซเชียลคอมเมิร์ซ อย่าง TikTok Shop  และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของถูกจากโรงงานอย่าง Temu   ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างหนักเพื่อรักษาตลาดตัวเองเอาไว้ 

โดย ช้อปปี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและสร้างมาตรฐานใหม่ในอีคอมเมิร์ซไทย  ช้อปปี้ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ก้าวเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอันดับ 1  โดยมีส่วนแบ่งตลาด 56%  มีผู้ใช้งาน  50 ล้านคนต่อเดือน 

“ช้อปปี้-ลาซาด้า”พลิกเกมสู้ “TEMU-TikTok Shop” ยึดหัวหาดผู้นำอีคอมเมิร์ซ ช้อปปี้ สร้างชื่อจากคูปองส่งฟรี ไม่มีเงื่อนไข   และ Shopee Live ไลฟ์สตริ่มมิ่ง หรือ ไลฟ์สดขายของ เครื่องมือช่วยร้านค้าสร้างยอดขาย และสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ให้ผู้บริโภค  นอกจากนี้ช้อปปี้ ยังมีโปรแกรม  Shopee Affiliate Program  การสร้างรายได้จากการแชร์ลิงก์โปรโมตสินค้า ร้านค้า หรือ หน้าแคมเปญ จากแอป Shopee และจะได้รับค่าตอบแทนเป็น % ค่าคอมมิชชัน ของสินค้าทุกชิ้นที่มีคนซื้อจริงหลังคลิกลิงก์ โดยจะต้องเป็นออเดอร์ที่สำเร็จ   และเป็นแพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพสรายแรกที่นำ ล่าสุดเปิด Shopee Video  แหล่งรวมคลังรีวีวที่ได้รับความนิยมจากนักช้อป คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และแบรนด์พันธมิตร   โดยเป็นฟีเจอร์มาแรงอย่างมาก

จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden   พบว่าบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด ระหว่างปี 2562-2566  พบว่าช้อปปี้สามารถพลิกทำกำไรอย่างรวดเร็ว   โดยปี 2564 ขาดทุน   4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด)   แต่ในปี 2565 สามารถทำกำไร  2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด)  และในปี 2566 มีกำไรต่อเนื่อง  2,165,702,217 บาท

รายได้-กำไร  บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด

ปี 2562

-              รายได้ 1,986,021,185 บาท

-              ขาดทุน  4,745,723,178 บาท

ปี 2563

-              รายได้ 5,812,790,479 บาท

-              ขาดทุน 4,170,174,144 บาท

ปี 2564

-              รายได้   13,322,184,294 บาท

-              ขาดทุน  4,972,561,566 บาท (ขาดทุนมากที่สุด)

ปี 2565:

-              รายได้  21,709,715,956 บาท

-              กำไร   2,380,269,060 บาท (กำไรสูงสุด)

ปี 2566:

-              รายได้  29,476,729,160 บาท (สูงสุดในช่วง 5 ปี)

-              กำไร   2,165,702,217 บาท

ส่วน “ลาซาด้า” ยักษ์แพลตฟอร์มอีมาเก็ตเพลสอีกรายหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจในไทยมา 12 ปี  โดยมีแบ็กอัพใหญ่สำคัญคือ “อาลีบาบา กรุ๊ป” ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซโลก  ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2  โดยครองส่วนแบ่งตลาดราว 40%    ล่าสุด ลาซาด้า ประกาศเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ การยกระดับประสบการณ์นักช้อป นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

“ช้อปปี้-ลาซาด้า”พลิกเกมสู้ “TEMU-TikTok Shop” ยึดหัวหาดผู้นำอีคอมเมิร์ซ

ยกระดับประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล

เพื่อตอบรับการขยายตัวของกลุ่มนักช้อปหญิงและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ลาซาด้า เดินหน้ากลยุทธ์เพิ่มประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ภายใต้แนวคิด “Customer-First” เน้นการตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำและความเหนียวแน่นของนักช้อป โดยสร้างความแตกต่างในหมวดหมู่สินค้าพรีเมียม แฟชัน และความงาม ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์ม เห็นได้จากยอดขายรวมของ LazMall ในช่วงเมกะแคมเปญ ซึ่งก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับวันปกติ ในขณะที่ LazBEAUTY มีจำนวนสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านราย

ลาซาด้า เสริมความแข็งแกร่งของ LazMall ผ่านการขยายพันธมิตรแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟ และรุกเซ็กเมนต์สินค้าลักชูรี ผ่านหมวดสินค้า LazMall Premium Brand นอกจากนี้ ยังตอกย้ำ LazLOOK ในฐานะจุดหมายสินค้าแฟชัน ผ่านแคมเปญรายสัปดาห์ที่จะเข้ามาสร้างความตื่นเต้นและสีสันให้แก่นักช้อปอย่างต่อเนื่อง

ลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้การช้อปเป็นเรื่องสะดวกและสนุกยิ่งขึ้น ลาซาด้า ยังนำเทคโนโลยี AI เข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมและฟีเจอร์ต่าง ๆ โดยมี Gamification เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักช้อป ที่ผ่านมา LazGame ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้เล่นเกมกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนักช้อปกลุ่มนี้มีการใช้งานแอปพลิเคชันนานกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มถึง 3 เท่า และราว 82% กลับมาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำทุกวัน

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการลงทุนด้านนวัตกรรมของลาซาด้า คือ ฟีเจอร์ “ถามผู้ใช้งานจริง (Ask the Buyer)” ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตั้งคำถามเชิญชวนให้ผู้ซื้อรายก่อน ๆ มาร่วมรีวิวสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีการตอบคำถามจากผู้ซื้อจริงไปแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง

ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ขายไทย

ด้วยพันธกิจในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลาซาด้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันการตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ขายให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เช่น เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปรับแต่งรูปภาพ เขียนคำอธิบายสินค้า และให้บริการลูกค้า โดยพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการซื้อได้กว่า 30%

จากการตรวจสอบข้อมูลจาก Creden   พบว่าบริษัทลาซาด้า จำกัด  มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง รายได้เพิ่มขึ้นทุกปี  โดยปี 2567 มีรายได้ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท   และสามารถทำกำไรได้ในช่วง 4 ปีหลัง (2564-2567)  โดยมีกำไรเติบโตขึ้นทุกปี    

รายได้-กำไร บริษัทลาซาด้า จำกัด

ปี 2563

  • รายได้  10,011,765,022 บาท
  • ขาดทุน  3,988,774,672 บาท

ปี 2564

  • รายได้ 14,675,291,653 บาท
  • กำไร  226,886,476 บาท

ปี 2565

  • รายได้ 20,675,450,640 บาท
  • กำไร  413,084,772 บาท

ปี 2566

  • รายได้ 21,470,930,506 บาท
  • กำไร  604,552,343 บาท

ปี 2567

  • รายได้ 28,291,266,920 บาท
  • กำไร  836,357,146 บาท