“ประเสริฐ จันทรรวงทอง” เผยรอลุ้น ครม.พรุ่งนี้แต่งตั้งอธิบดีกรมอุตุฯ

16 ก.ย. 2567 | 12:36 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.ย. 2567 | 12:53 น.

“ประเสริฐ จันทรรวงทอง” เผยรอลุ้น ครม.พรุ่งนี้ แต่งตั้งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แทน นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค เกษียณราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ พร้อมชู 8 นโยบายขับเคลื่อนประเทศ

วันนี้ 16 กันยายน 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี  เปิดเผยถึงการแต่งตั้ง อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แทนนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค ที่เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ ว่า ขอให้รอดูในวันพรุ่งนี้ 17 กันยายน 2567  เนื่องจากมีการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.นัดแรก

“รอดูผล ครม.ในวันพรุ่งนี้ ในกระทรวงดีอี มี อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เกษียณราชการเพียงคนเดียวเท่านั้น”

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงดีอี กล่าวเพิ่มเติมว่า การแต่งตั้งอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เชื่อว่าจะเป็นคนในกรมอุตุฯ สำหรับตำแหน่งรองอธิบดี กรมอุตุนิยิมวิทยา คือ ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดี ฝ่ายบริหาร หรือ อาจจะเป็นผู้ตรวจราชการ 

ประกาศ 8 นโยบาย ขับเคลื่อนประเทศ

นายประเสริฐ เปิดเผยว่า นโยบายสำคัญ 2567/2568  มีด้วยกัน 8 นโยบายผู้ขับเคลื่อนประเทศ ว่า

1.การแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์  เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ

มอบหมายให้ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center: AOC) หรือศูนย์ AOC 1441 ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 พ.ย.66 – 31 ส.ค.67 มีดังนี้

1) จำนวนสายโทรเข้า (1144) 985,538 สาย / เฉลี่ยต่อวัน 3,231 สาย

2) ระงับบัญชีธนาคาร 291,256 บัญชี / เฉลี่ยต่อวัน 1,107 บัญชี

มาตรการแก้ไขปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัดและตัดตอนการโอนเงิน

ผลการดำเนินงานถึง 31 ส.ค.67 มีการระงับบัญชีม้ารวมกว่า 1,000,000 บัญชี แบ่งเป็น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ปิด 450,000 บัญชี ธนาคาร 300,000 บัญชี และศูนย์ AOC 1441 ระงับ 291,256 บัญชี

 มาตรการแก้ไขปัญหาซิมม้า

ผลการดำเนินงานถึงวันที่ 31 ส.ค. 67 ระงับซิมม้าแล้ว จำนวนกว่า 1,000,000 หมายเลข ระงับหมายเลขโทรศัพท์ที่มีการโทรออกเกิน 100 ครั้งต่อวัน จำนวน 71,122 เลขหมาย มีผู้มายืนยันยันตัวตน 418 เลขหมาย

มาตรการแก้ไขกฎหมาย COD ซื้อสินค้าเก็บเงินปลายทาง

ดำเนินการออก “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการบริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ.2567 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ต.ค.67 เป็นต้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์แบบใช้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีมติเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือน ก.ค.67 ที่ผ่านมา

 

ประเสริฐ จันทรรวงทอง

 

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการเร่งด่วนในการแก้ไขกฎหมายพิเศษ ได้แก่

1) เร่งรัดการคืนเงินผู้เสียหาย

2) เพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูล

3) การป้องกันคนร้ายโอนเงินโดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัล

4) ระงับธุรกรรมต้องสงสัยโดยการใช้ซิม การสื่อสาร

 

มาตรการที่ 2.การแก้ไขปัญหาข้อมูลรั่วไหล  

มาตราการที่ 3. นโยบาย Digital Manpower

มาตรการที่ 4. นโยบายCloud First Policy ให้บริการระบบคลาวด์ เพื่อพัฒนาการบริการประชาชน ในหน่วยงานภาครัฐ 220 กรม จำนวน 75,000 VM

  • ประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลของประเทศ 30-50 %
  • ส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และการใช้ประโยชน์ Big Data

มาตรการที่ 5 AI Agenda  ขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการพัฒนาประเทศ 

มาตรการที่ 6.การพัฒนากำลังคนดิจิทัล Digital Manpower

- ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลให้กับกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลในทุกระดับด้วยโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลกำลังคนดิจิทัล ผ่าน Digital ID (Credit bank) โดยเพิ่มกำลังคนด้านดิจิทัล 550,000 คน ร่วมกับเอกชน

- ดึงดูดกำลังคนดิจิทัล ภายใต้โครงการ Global Digital Talent VISA

- ดำเนินโครงการ อาสาสมัครดิจิทัล และสภาเยาวชนดิจิทัล ขยายผลให้ความรู้ด้านดิจิทัลแก่ประชาชน

มาตรการที่ 7 Startups & SMEs ไทยแข่งได้ โครงการ บัญชีบริการดิจิทัล Thailand Digital Catalog โดย ดีป้า ยกระดับอุตสาหกรรมดิจิทัล เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการดิจิทัลไทยในการเข้าสู่ตลาดภาครัฐ โดยรัฐสามารถใช้กระบวนการทางพัสดุด้วยวิธีคัดเลือกหรือเฉพาะเจาะจงในการซื้อหรือเช่าซื้อสินค้าและบริการดิจิทัลจากบัญชีบริการดิจิทัล ช่วยให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้

ผลักดันมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Tax 200%

 การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดิจิทัลจากผู้ประกอบการไทย และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ และระดับสากล ภายใต้เครื่องหมาย dSURE

แก้ไขปัญหานำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ราคาต่ำ โดยออกกฎหมาย มาตรการที่เข้มข้น และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำผิดกฎหมาย

และมาตราการที่ 8.การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล.