หัวเว่ย ผนึกพันธมิตร หนุนระบบนิเวศสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร

27 ส.ค. 2567 | 17:08 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2567 | 17:21 น.

หัวเว่ย ยกระดับความยิ่งใหญ่ Healthcare Summit ในไทย ผนึกกำลังพันธมิตรหนุนระบบนิเวศด้านสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร

หัวเว่ยจัดต่อเนื่อง Huawei Intelligent Healthcare Summit 2024 ภายใต้แนวคิด Accelerating Healthcare Intelligence ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นแบบเอ็กซ์คลูซีฟภายในงาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 มหกรรมงานเทคโนโลยีไอซีทีที่จัดร่วมกันโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, หัวเว่ย และสมาคมจีเอสเอ็มในฐานะพันธมิตรในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคในประเทศไทย

หัวเว่ย ผนึกพันธมิตร หนุนระบบนิเวศสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร

นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า อุตสาหกรรมสาธารณสุขกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และปรับตัวสู่วิธีการใหม่ๆ ในการดูแลผู้ป่วย การบริหารจัดการโรงพยาบาลและสถานพยาบาลกำลังถูกปฏิวัติ ด้วยการนำเครื่องมือและระบบดิจิทัลมาใช้ ความก้าวหน้าทางดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ยกระดับกระบวนการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลให้ประสบการณ์โดยรวมของผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนไปด้วย

ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำ หัวเว่ยกำลังสร้างรากฐานดิจิทัลที่ปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมสาธารณสุข โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศเปิดตัว Intelligent Campus Solution: Campus IOC and Campus Security เวอร์ชันอัพเกรดใหม่อย่างเป็นทางการเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายให้แข็งแกร่ง ซึ่งมีจุดเด่นสำคัญนอกจากความเร็วเครือข่ายและลดการปล่อยคาร์บอนแล้ว ยังเป็นระบบที่ความสามารถในการการพัฒนาตัวเองให้อัจฉริยะใช้งานได้ง่ายขึ้น

โดยประกอบด้วยฟังก์ชันสำคัญของ Intelligent Operating Center ความโดดเด่นด้านความปลอดภัยที่นอกจากจะช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันได้อย่างง่ายดายแล้ว ยังมาพร้อมความอัจฉริยะที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าระบบเครือข่ายของหน่วยงานจะสามารถทำงานได้อย่างเสถียรและปลอดภัย

“ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 2573 รัฐบาลจะส่งเสริมอุตสาหกรรมสาธารณสุขให้เป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับการดูแลแบบครบวงจร โดยใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณสุขของไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อเสริมสร้างตำแหน่งนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยมีความมั่นใจและยินดีที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและระบบอัจฉริยะของอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทย เราจะยังคงมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสาธารณสุขของไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จยิ่งขึ้น” นายจางกล่าว

 

นายประยุทธ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่าย ธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า หัวเว่ยนำเสนอกรอบแนวคิดในการสร้าง โรงพยาบาลดิจิทัล ซึ่งถือเป็นรากฐานการบริการทางแพทย์ยุคใหม่ให้กับประชาชน ด้วยหลักการ 1+3+1+1

โดยประกอบด้วย 1 หมายถึงระบบบริการจัดการโรงพยาบาลอัจฉริยะ, 3 บริการอัจฉริยะ เช่น การแพทย์อัจฉริยะ การบริการอัจฉริยะ และการจัดการอัจฉริยะ  ยังรวมถึง 1 ระบบแพลตฟอร์มส่วนกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลทุกส่วนเข้าด้วยกัน และ 1 ระบบเครือข่ายที่ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi 7, Fiber to the Office และ 5G ทั้งหมดนี้ คือกรอบแนวคิดในการสร้างโรงพยาบาลดิจิทัล เพื่อยกระดับการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพสูงด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย 

หัวเว่ย ผนึกพันธมิตร หนุนระบบนิเวศสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร

ขณะที่แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า สำหรับนโยบายในอนาคตของกระทรวงสาธารณสุขมุ่งหวังในเรื่องหลักๆคือ เทคโนโลยีเพื่อการบริการทางการแพทย์ ทั้งการทำระบบบริการผู้ป่วยนอก (Smart OPD) และการบริหารจัดการที่ชาญฉลาด ตลอดจนถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา และมุ่งมั่นสร้างเทคโนโลยีในการตอบโจทย์การใช้งานในวงกว้างก่อนเป็นสำคัญ

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สิทธาคม ผู้สันติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย การส่งเสริมความรู้ในด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรเป็นสิ่งที่ใช้เวลามาก

“เรามีผู้บริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ที่อยากให้บุคลากรมีความรู้เพียงพอ ทำให้เกิดการอบรม การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็เริ่มใช้ระบบการจัดการแคมปัสด้วยแอปพลิเคชันทั้งหมด และกำลังพัฒนาสู่การเป็นสมาร์ท แคมปัสได้มากขึ้น”

ด้านดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา ผู้อำนวยการปฏิบัติการ โรงพยาบาลเวชธานี ได้กล่าวถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาล ได้แก่ การใช้ระบบ Mobile-enable EMR ทำให้สามารถใช้งานบน Mobile devices ในการดูแลผู้ป่วยถึงข้างเตียง, การใช้มาตรฐาน EMRAM ในการประเมินระบบงานที่ดีขึ้นจากการใช้ EMR และ บทบาทของ Generative AI ที่จะมาเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์จาก EMR ในอนาคต

โดยในงานครั้งนี้หัวเว่ยยังได้รับเกียรติจากพันธมิตรที่ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้มีนวัตกรรมที่เหมาะกับผู้ใช้งานในประเทศมากยิ่งขึ้น ร่วมกันนำเสนอเทคโนโลยีในโซนนิทรรศการด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ อาทิเช่น มิวแทรค ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยติดตามและจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนการเก็บข้อมูลสำคัญแบบเรียลไทม์ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนการดำเนินงานของสถานพยาบาล และทูเอ็นทูที คอนเน็คชั่น ผู้ นำเสนอโซลูชันที่เชื่อมต่อการดูแลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาลและที่พักอาศัยของผู้ป่วย มุ่งเน้นการเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

การร่วมมือกันของหัวเว่ยและพันธมิตรในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบนิเวศด้านสาธารณสุขอัจฉริยะแบบครบวงจร ซึ่งจะช่วยยกระดับการดูแลสุขภาพในประเทศไทยให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวินิจฉัย การรักษา และการบริหารจัดการโรงพยาบาล