ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และ การโทรคมนาคม วุฒิสภา โดยมี พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาศึกษาเรื่อง “หลักเกณฑ์ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2533 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และ ได้ทำบันทึกถึง ประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า วันที่ 1 เมษายน เวลา 10.30 น. มีการนำเสนอรายงานการเลือกเลขาธิการ กสทช. เพื่อให้วุฒิสภา ดำเนินการพิจารณา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลที่ กมธ.โทรคมนาคมฯ วุฒิสภา พิจารณาคุณสมบัติประธาน กสทช. สืบเนื่องจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูมิสิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ได้มีหนังสือถึงประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 28 กันยายน 2566 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ตรวจสอบคุณสมบัติของ ศาสตราจารย์คลิกนิกสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ กสทช. โดยขอให้วุฒิสภาตรวจสอบว่าศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ มีลักษณะต้องห้าม ตามาตรา 7 (12) และ กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน ตามมาตรา 8 และ มาตรา 18 รวมทั้งมิได้ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่
แม้ล่าสุดศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำสั่งยกฟ้องของ นายภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
แต่เนื่องจาก กมธ.เทคโนโลยีสารสนเทศฯ วุฒิสภา เห็นว่ากระบวนการคัดเลือก เลขาธิการ กสทช. ล่าช้าเนื่องจากความเห็นแตกต่างของบอร์ด กสทช. โดย บอร์ด กสทช.เสียงข้างมาก ลงมติไม่เห็นชอบ เลือก นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. เนื่องจากกรรมการ กสทช.ทั้ง 7 คน ไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา บอร์ดเสียงข้างมาก ประกอบด้วย
ศาสตรจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต
นายศุภัช ศุภชลาศัย
ส่วนบอร์ด กสทช. เสียงข้างน้อย 3 คน คือ
ลงมติเห็นชอบเนื่องจากเป็นอำนาจของประธาน กสทช. ในการกำหนดการดำเนินการประกาศคัดเลือก เลขาธิการ กสทช.เมื่อได้ชื่อบุคคลผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว จึงเสนอชื่อบุคคลนั้นให้ คณะกรรมการ กสทช. ให้ความเห็นชอบ
สรุปประเด็น กมธ.โทรคมนาคมฯ วุฒิสภา รายงานพิจารณาศึกษาเรื่อง "หลักเกณฑ์ ระเบียบ และ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. " ดังนี้
1.การเลือกเลขาธิการ กสทช. ใช้เวลา 3 ปี 9 เดือนเลือกไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เต็มที่
2. มีการเปรียบเทียบกับองค์กรอิสระอื่น ๆ อย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรสิทธิมนุษย์ และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่คณะกรรมการร่วมกันคัดเลือกเลขาธิการ
3.มีการเทียบเคียงกระบวนการสรรหาเลขาธิการ กสทช.สมัยที่ พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี อดีตประธาน กสทช. เลือก นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ กสทช.
3.ประธาน กสทช. มีอำนาจไว้ที่ ประธาน กับ รักษาเลขาธิการ กสทช. ทำให้มีปัญหาการบริหารกับ กสทช.คนอื่น
4. นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. และ รองเลขาธิการ กสทช. ได้โยกย้ายพนักงาน 17 ครั้ง ทำให้งานมีปัญหาไม่คืบหน้า ทั้งที่เป็นเพียงรักษาการเลขาธิการ กสทช.เท่านั้น
นับตั้งแต่การเริ่มต้นกระบวนการจนถึงการประชุม กสทช. ลงมติไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลตามการนำเสนอของ ประธาน กสทช. ใช้เวลาถึง 1 ปี 9 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กสทช.ได้
ทั้งนี้ หากยังคงไม่สามารถคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการกสทช. ได้ และ ต้องให้พนักงานของสำนักงาน กสทช. ทำหน้าที่รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. อยู่ต่อไป อาจเกิดกรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อนในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ และ บุคคลดังกล่าวก็ไม่ถูก ตรวจสอบในลักษณะที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกันกับ เลขาธิการ กสทช. ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก่อให้เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยงมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการประเมินผลงานประจำปี ของตัวเองหรือไม่เนื่องจากบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. จะมีตำแหน่งงานประจำภายในสำนักงาน กสทช. ลำดับรองลงไปอีกหนึ่งตำแหน่ง เช่นตำแหน่งรองเลขาธิการ กสทช.
ดังนั้น การประเมินผลงานประจำปีของตำแหน่งรองเลขาธิการ กสทช. จะเป็นหน้าที่ของรักษาการเลขาธิการ กสทช. เป็นผู้ประเมินผลงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น การเลื่อนเงินเดือนประจำปี สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ บำเหน็จตอบแทน หรือ ค่าตอบแทนอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นกลาง หรือพิจารณาโดยเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองได้
ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กสทช. ที่เป็นผู้บริหาร องค์กรสูงสุดที่เป็นอิสระแล้วอาจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (confict of interest) ในการประเมิน ผลงาน รวมถึงการกำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์การบริหารงานภายในสำนักงาน กสทช. ที่อาจเอื้อผลประโยชน์ให้ตัวเองภายใต้ตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. ด้วยก็ได้
สำหรับรายงานฉบับนี้ของ กมธ.โทรคมนาคมฯ วุฒิสภา หลังจากนำเข้าที่ประชุมวุฒิสภาแล้วจะเสนอให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดการปัญหาภายในสำนักงาน กสทช.
อ่านรายงานฉบับเต็ม (คลิกรายละเอียด)