7 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดรป้องกันแรนซัมแวร์โจมตีกลุ่มโรงพยาบาล

29 ธ.ค. 2566 | 17:25 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ธ.ค. 2566 | 17:35 น.

พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เสนอแนวทางปฏิบัติ 7 ข้อที่ดีที่สุดในการป้องกันแรนซัมแวร์ในกลุ่มโรงพยาบาล ที่ถูกมองว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของอาชญากรรมไซเบอร์

โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายที่อาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้แรนซัมแวร์ให้ความสนใจ เนื่องจากมีข้อมูลละเอียดอ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้อมูลของคนไข้และผู้ป่วยที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ และดิสรัปชันที่อาจเกิดขึ้นการโจมตีโรงพยาบาลจึงทำให้อาชญากรไซเบอร์ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินอย่างมาก  การจ่ายเงินเพื่อแก้ไขปัญหาอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเสียหายเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง

7 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดรป้องกันแรนซัมแวร์โจมตีกลุ่มโรงพยาบาล

ทั้งนี้ จากข่าวล่าสุดที่มีการยืนยันตรวจพบแรนซัมแวร์โจมตีระบบไอทีของโรงพยาบาลอุดรธานีจำนวนหลายล้านบาท ทั้งนี้ไม่มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขนาดของฐานข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบในข่าว

โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข  โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์กรที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้บริการแก่ประชาชน อย่างไรก็ตามการจู่โจมจากแรนซัมแวร์ครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศไทยที่โรงพยาบาลตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จากอาชญากรไซเบอร์

รายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขู่กรรโชกประจำปี 2566 จาก Unit 42  ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ระบุว่า แรนซัมแวร์ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในปีที่ผ่านมา โดยสังเกตได้จากกรณีที่มีการยินยอมจ่ายเงินสูงถึงกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากค่าเฉลี่ยของการเรียกร้องเงินค่าไถ่ที่ประมาณ 650,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้งในขณะที่ค่าเฉลี่ยของความยินยอมในการจ่ายค่าไถ่อยู่ที่ประมาณ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ซึ่งบ่งชี้ว่าการเจรจาที่มีประสิทธิภาพสามารถลดวงเงินในการชำระเงินจริงได้ ทั้งนี้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 6 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับที่ 1  ในภูมิภาคอาเซียนที่ถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์

นายปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทย  พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ว่า “องค์กรต่างๆ จะต้องระมัดระวังต่อภัยคุกคามที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากภัยคุกคามเหล่านี้มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทั้งนี้ แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แบบซีโรทรัสต์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการขับเคลื่อนโดยสภาพแวดล้อมของ IoT และการนำระบบคลาวด์มาใช้ เพื่อให้ก้าวนำหน้าภัยคุกคามที่เกิดขึ้น องค์กรจึงจำเป็นต้องมีทีมข่าวกรองด้านภัยคุกคามที่ติดตามการโจมตีจากทั่วโลก ที่สามารถประเมินผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรได้”

คำแนะนำจากรายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขู่กรรโชกประจำปี 2566 จาก Unit 42

●      จัดเตรียมคู่มือวิธีการรับมือภักคุกคามสำหรับภัยจากแรนซัมแวร์ที่เพิ่มขึ้น

●      ต้องมั่นใจว่าสามารถมองเห็นระบบได้อย่างทั่วถึงผ่านเทคโนโลยี การตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามแบบเจาะจง (Extended Detection and Response หรือ XDR)

●      ประยุกต์ใช้โปรแกรมค้นหาช่องโหว่และตรวจจับภัยคุกคาม

●      การจัดการเชิงรุกเพื่อลดโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าสู่ระบบ

●      ประยุกต์ใช้แนวทางซีโรทรัสต์ หรือแนวปฏิบัติในการไม่วางใจต่อสิ่งใดๆ ทั่วทั้งองค์กร

●      ทดสอบจำลองเหตุการณ์เมื่อเกิดภัยคุกคาม กำหนดแผนและโปรแกรมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง

●      ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์

ทั้งนี้ โรงพยาบาลเป็นองค์กรที่มีสำคัญมาก เมื่อถูกโจมตีแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ป่วย ซึ่งอาจจะหมายถึงความเสียหายต่อสุขภาพและโอกาสในการเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้ขอให้ผู้โจมตีพิจารณาถึงความอ่อนไหวในส่วนนี้ และคำนึงถึงชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องหากระบบเกิดความเสียหายด้วย