คำต่อคำ “ประเสริฐ จันทรรวงทอง” ประกาศเชิงรุก ต้านข่าวปลอมภัยไซเบอร์

23 ก.ย. 2566 | 08:51 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2566 | 09:13 น.

คำต่อคำ “ประเสริฐ จันทรรวงทอง” รมต.ดีอีเอส ป้ายแดง ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ เชิงรุกต่อต้านข่าวปลอม ปราบอาชญากรไซเบอร์ที่ล้วงตับข้อมูลหลอกลวงจนทำให้ประชาชนต้องสูญเสียเงินมหาศาล

ศูนย์ต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 4 เป็นปีที่ 4 ที่มี ผู้ติดตามช่องทางสื่อสาร ของศูนย์ฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566) ดังนี้

  • Website: www.antifakenewscenter.com จำนวน 16,275,981 ผู้รับชม
  •  Line Official Account: @antifakenewscenter จำนวน 2,779,953 ผู้ติดตาม
  • Facebook: Anti-Fake News Center Thailand จำนวน 108,274 ผู้ติดตาม
  •  Twitter: @AFNCThailand จำนวน 16,682 ผู้ติดตาม
  •  Instagram: afnc_thailand จำนวน 709 ผู้ติดตาม
  •  TikTok: @antifakenewscenter จำนวน 556 ผู้ติดตาม

คำถามก็คือว่า 4 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ต้านข่าวปลอม พยายามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทุกช่องทาง แต่ก็ยังไม่สามารถปราบภัยไซเบอร์เหล่านี้ไปได้ทั้งหมด  คำถามว่าเพราะอะไร และ ทำไม?  

"ฐานเศรษฐกิจ" พามาหาคำตอบ จาก  นายประเสริฐ จันทรรวงทอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ในฐานะกำกับดูแลศูนย์ต้านข่าวปลอม ได้เปิดเผยชัดเจน ว่า เทคโนโลยีมีประโยชน์หากใช้ในเชิงบวกสามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว และ ลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ในด้านลบบรรดาพวกไม่หวังดีก็นำเทคโนโลยีสร้างข่าวปลอมหลอกลวงประชาชน นั่นจึงเป็นที่มาที่ กระทรวงดีอีเอส จำเป็นต้องทำแผนเชิงรุกปราบอาชญากรไซเบอร์ จึงได้ประกาศ 3 ยุทธศาสตร์ ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ดังนี้

  • การจตั้ง Task Force Command Center เพื่อปราบปรามเชิงรุก เพื่อรับมือกับปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ การหลอกลวงทางการเงิน และภัยออนไลน์ แม้ช่วงที่ผ่านมาทำแบบภาพรวมแต่ภัยคอลเซ็นเตอร์ เรื่องธุรกรรม เป็นเรื่องให้ความสำคัญ ต้องปราบปรามเชิงรุก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นผู้สุจริตเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เสียชีวิต  และ ฆ่าตัวตาย  รวมไปถึงการส่ง  เอสเอ็มเอส สร้างความรำคาญ ดังนั้น การตั้งวอรูม ต้องลงมือทำงานทันที

 

 

 

 

 

 

  • นำเทคโนโลยีด้านดาต้า Data Analytics และ AI มาใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เป็นกลาง และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ในการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร ในประเด็นต่างๆ ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้แชร์ข่าวปลอม ลักษณะ AFNC AI เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบ Link ข่าวผ่านเว็บไซต์ AFNC ได้ ว่า ตรง/ไม่ตรง เช่น จาก Link ที่ส่งมาตรงกับฐานข้อมูลข่าวปลอม 70% โดยแสดงผลแบบ Highlight ว่า Wording ส่วนไหนบ้างที่ตรง ส่วนไหนที่ไม่ตรง และจะ เรียกว่าเป็น AFNC Search AI ที่สามารถให้ข้อมูลได้เลยเมื่อ Search หาข่าวที่เกี่ยวข้อง และแสดงผลออกมาเป็นข้อมูลเนื้อความได้เลย
  • ต้องมีวัคซีนคุ้มกัน Cyber Vaccine สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มถูกหลอกลวงสูง ได้แก่ กลุ่มเด็กเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้สูงอายุ เร่งสร้างความตระหนักรู้ รู้เท่าทัน เพื่อให้ความรู้มีกิจกรรมต่างๆ ความมีส่วนรวม เป็นต้น