นางสาวอรปรียา มโนวิลาส รองประธานกรรมการ บริษัท คอมมี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่าภาพรวมของตลาดอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟนในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าตลาดราว 14,000 ล้านบาท สวนกระแสตลาดสมาร์ทโฟนที่ลดลง จากข้อมูลสำนักวิเคราะห์ Canalys ชี้ในช่วงไตรมาสแรกปี 2566 ยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟน Sell-in shipment ทั่วโลกลดลงกว่า 12% อยู่ที่ 269.8 ล้านเครื่อง
โดยยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 13 ล้านเครื่องต่อปี คาดว่าเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ช้าลง นิยมหันมาซ่อมแซม และใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อป้องกันยืดอายุการใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภท แบตเตอรี่ เคส และฟิล์มกันรอย
ดังนั้นเพื่อเป็นการตอกย้ำการเป็นผู้นำของตลาด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค คอมมี่ จึงทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ปรับแผนการตลาดโดยยึดแนวคิดความต้องการของลูกค้า (Customer-centric) มาใช้พัฒนาธุรกิจ 3 ด้าน ได้แก่ Re-Branding เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าไอทีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ก้าวข้ามจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นแบรนด์จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยการวางตำแหน่งแบรนด์คอมมี่ครั้งนี้ จะมุ่งไปที่กลุ่มคนที่ชื่นชอบสินค้าไอทีที่มีเอกลักษณ์และมีคุณภาพ เน้นการออกแบบสินค้าที่ตอบโจทย์ Personalization
ต่อมาคือ Hero Product โดยพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มฟิล์มกันรอย เพื่อเจาะตลาดฟิล์มกันรอยในประเทศไทยที่มีมูลค่ากว่า 6,500 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าภายในปีนี้จะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านชิ้น ซึ่งปัจจุบันคอมมี่ถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายฟิล์มกันรอยสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มไฮโดรเจลฟิล์มได้รับความนิยมจากตลาดผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีจุดเด่นที่เนื้อฟิล์มมีความบางเพียง 0.15 มม. ให้สัมผัสที่เรียบลื่นเป็นธรรมชาติกว่าแบบกระจก กระจายแรงกระแทกได้ดี ไม่แตกเหมือนฟิล์มกระจกซึ่งแก้ Pain Point ของลูกค้าในการใช้งานและสามารถยืดหยุ่นเข้าได้กับหน้าจอทุกประเภททั้งแบบจอธรรมดา จอโค้ง หรือจอพับ และนวัตกรรม Self-healing ซึ่งสามารถสมานรอยได้ภายในไม่กี่นาทีเมื่อเกิดรอยขีดข่วน
ตอนนี้คอมมี่จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิล์มกันรอย “คอมมี่ ซูเปอร์ ไฮโดรเจล ฟิล์ม” (Commy Super Hydrogel Film) เจ้าแรกของประเทศไทย ด้วยการเพิ่มเนื้อเจลมากยิ่งขึ้น พร้อมพัฒนาเทคโนโลยี Self-healing ในเนื้อฟิล์มทำให้สมานรอยขีดข่วนได้เอง ภายใน 30 วินาที สำหรับรอยข่วนขนาดเล็ก หรือไม่เกิน 2 นาที สำหรับรอยขนาดใหญ่ขึ้น
สุดท้ายคือ Hybrid Channel การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในทุกมิติเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและให้ความสะดวกสบายในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งออกเป็น ช่องทางออนไลน์ จำหน่ายผ่าน COMMY Official Store สามารถสั่งซื้อสินค้าและไปรับบริการที่ร้านค้าตัวแทนใกล้บ้านได้ทันที และสามารถสั่งผ่านอีมาร์เก็ตเพลสต่างๆ อย่าง Lazada และ Shopee ซึ่งที่ผ่านมามียอดจำหน่ายเติบโต เนื่องจากผู้บริโภคนิยมซื้อไปติดเองมากขึ้น ส่วนช่องทางจำหน่ายแบบออนกราวด์ จะมีทั้งในส่วนตัวแทนจำหน่าย และการจำหน่ายผ่าน 7-Eleven, TG Fone, Jaymart รวมถึงการวางแผนจะมีการจัดตั้ง kiosk ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำภายในสิ้นปีนี้”
“คอมมี่ยังได้เตรียมปูพรมด้านการสื่อสารและการขยายการรับรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ โดยในปีนี้จะเริ่มด้วยการทำ On Ground Activity เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงคุณภาพและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์โดยตรง พร้อมทั้ง Online Activity สร้างการสื่อสารผ่านกลุ่ม Influencer รวมถึงการทำ Entertainment Marketing เพื่อตอกย้ำการรับรู้ด้านผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งคอมมี่เชื่อว่าจากการดำเนินงานตามแผนดังกล่าวนี้ ภายในสิ้นปี 2566 บริษัทฯ จะสามารถสร้างรายได้มากกว่า 100%”
นางสาวอรปรียา กล่าวต่อไปอีกว่า หัวใจสำคัญที่ส่งผลให้คอมมี่ประสบความสำคัญมาถึงปัจจุบัน คือแนวคิดการทำธุรกิจที่คำนึงถึง “คุณภาพ” (Quality) เป็นหลัก พร้อมทั้งพัฒนาด้วย “นวัตกรรม” (Innovation) ที่เป็นเลิศ โดยปัจจุบันคอมมี่มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกความต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน (Mobile Gadget) ได้แก่ เครื่องตัดฟิล์มกันรอย, ฟิล์มกันรอย, หัวชาร์จ, สายชาร์จ, แบตเตอรี่, แบตเตอรี่สำรอง, หูฟัง, หูฟังบลูทูธ, ลำโพงบลูทูธ และ เคสมือถือ และได้มีการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใน กลุ่มสุขภาพ (Health Product) อาทิ เครื่องฟอกอากาศทั้งแบบพกพาและใช้ในรถยนต์, หน้ากาก N95 และเครื่องวัดหรือทำออกซิเจน เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่ม B2B ผู้ประกอบการ ตัวแทนจำหน่าย และ B2C ลูกค้าทั่วไป”