นายโรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นัก วิเคราะห์อาวุโส Opensignal เปิดเผยว่า ข้อมูลจาก Open signal แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ได้สัมผัสกับความเร็ว 5G ที่สูงขึ้นพร้อมได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่ดีขึ้นเมื่อเชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และมีผู้ใช้ย่านความถี่นี้กันมากขึ้น ซึ่งเป็นความถี่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ดีขึ้น
การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ Opensignal ได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่างๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H ในเดือนมีนาคม 2566
ผู้ใช้เครือข่าย AIS ได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz จึงเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด ขณะเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้พบกับความเร็ว 5G ในระดับตํ่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีก 2 รายในประเทศไทย ทว่าช่วงเวลาของการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2566 เราสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความเร็วอย่างมีนัยยะของประสบการณ์ต่างๆ ของ DTAC เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ 2.6GHz
ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภทคือย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่าและแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า สิ่งนี้เองที่ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความเร็วที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้มือถือมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการเครือข่ายทั้ง 3 รายในประเทศไทย ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่ 100 MHz และ 90 MHz ในความถี่ 2.6GHz นั้น DTAC กลับไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ใดในย่านความถี่นี้ในการประมูลคลื่นความถี่ประจำปี 2563 จึงเป็นผลทำให้สามารถกระจายสัญญาณ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz ได้เท่านั้น
โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เราสังเกตมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 และในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือประจำประเทศไทยครั้งล่าสุดนี้ ที่ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ของเรา ได้พบกับค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในระดับตํ่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อบน AIS และ TrueMove H ประมาณ 30Mbps
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H ขณะที่ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ถูกควบรวมให้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า True Corp ใหม่อย่างเต็มรูปแบบและการควบรวมเครือข่ายยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน เราสังเกตเห็นว่าผู้ใช้ 5G บนเครือข่าย DTAC ในย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ในเวลานี้ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เป็น 105.7 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าย่านความถี่ 700 MHz ถึง 3 เท่า
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในเดือนมีนาคม 2566 ค่าเฉลี่ยโดยรวมในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า หากเทียบกับในเดือนธันวาคม 2565 แล้วนับว่ามีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 29.6Mbps เป็น 82.1Mbps สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้ง 2 บริษัท
Opensignal ได้พิจารณาพัฒนาการด้านแบนด์วิธคลื่นความถี่โดยเฉลี่ยของการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศไทยระหว่างเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 พบว่าแบนด์วิธคลื่นความถี่ 5G โดยเฉลี่ยของเครือข่าย DTAC เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19.5MHz ในเดือนธันวาคม 2565 เป็น 22.9 MHz ในเดือนมีนาคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4 MHz (17.1%) นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย AIS และ TrueMove H นั้นยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติของค่าเฉลี่ยแบนด์วิธคลื่นความถี่ใดๆ ในช่วงเดือนดังกล่าว
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงของ 5G ต่อย่านความถี่ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ของผู้ให้บริการเครือข่ายต่างๆ แล้ว พบว่า เครือข่าย DTAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) เป็น 2.6 GHz (n41) ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2565 นั้น DTAC ยังคงใช้คลื่นความถี่ 700MHz ให้บริการ 5G แต่ในเดือนมีนาคม 2566 ในการอ่านค่า 5G ของเครือข่าย DTAC พบว่ามีการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.6GHz เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ซึ่งเราไม่พบการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้กับเครือข่าย AIS และ TrueMove H ด้วยสัดส่วนของ 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz ยังคงเป็นไปอย่างปกติทั้งในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 8.6% และ 15.2% ตามลำดับ
แบนด์วิธความถี่ที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการมือถือในด้านอื่นๆ อีกด้วย Opensignal ได้วิเคราะห์คะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ตามคลื่นความถี่ 5G ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้เป็นหลัก พบว่าการเชื่อมต่อ 5G บนย่านความถี่ 2.6MHz ทำให้ผู้ใช้ 5G ชาวไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอที่ดีกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz ด้วยค่าคะแนนที่แตกต่างกันในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงคะแนน 2.9 และ 3.2 สำหรับ DTAC และ TrueMove H ตามลำดับและ 6 คะแนนสำหรับ AIS
เช่นเดียวกับด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในเดือนธันวาคม 2565 Opensignal ยังไม่พบการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 2.6GHz ของ DTAC แต่เดือนมีนาคม 2566 เราพบว่ามีการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย DTAC บนย่านความถี่นี้ และยังได้รับคะแนนประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz