“ศุภชัย เจียรวนนท์" ชง 7 ข้อเสนอทรานส์ฟอร์มประเทศถึงรัฐบาลชุดใหม่

08 พ.ค. 2566 | 14:12 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ค. 2566 | 15:42 น.

“ศุภชัย เจียรวนนท์" ชง 7 ข้อเสนอนโยบายทรานส์ฟอร์มประเทศไทยถึงรัฐบาลชุดใหม่ กับโจทย์ใหญ่ไทยแลนด์ 5.0 พร้อมแนะตั้งบอร์ดแห่งชาติ ผสานภาครัฐและเอกชนช่วยขับเคลื่อนทุกภาคส่วน

กลางเดือนพฤษภาคม 2566 ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ดังนั้น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย  ได้เสนอแนวนโยบาย  7 ข้อ ให้กับรัฐบาลชุดใหม่เพื่อทรานฟอร์มประเทศไทยขับเคลื่อนไทยแลนด์ 5.0  เพื่อเป็นแนวทางแก่รัฐบาลใหม่ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้

1. กำหนดวิชาภาษาคอมพิวเตอร์/Computer Science เป็นวิชาหลักในการหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน และเด็กทุกคนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์คัดกรองที่ดีและมีคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยี

2. ส่งเสริม Media & Content ที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ในช่วง Prime Time ด้วยการให้ Incentive

3. ตั้งเป้าเทคสตาร์ทอัพ 20,000 บริษัท เพื่อช่วย Digital Transformation และ Digital & Tech Workforce 1 ล้านคน

4. ยกระดับการเกษตร Agro Industry Transformation / Smart Farming / Food Tech & Brand /

สร้าง 3,000-5,000 องค์กร สหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน 5.0

5. ดึงดูดคนเก่งและคนดีเข้าสู่ระบบราชการระดับบริหารด้วยการปรับเงินเดือน เทียบเท่าหรือสูงกว่าเอกชน ปรับรัฐบาลเป็นรัฐบาลดิจิทัล (E-Government) และควรมีข้าราชการที่มีทักษะดิจิทัลอย่างน้อย 20%

6. สร้าง 5 Innovation Centers ระดับโลก ได้แก่ 1. Bio 2. Nano & Energy 3. Robotic & Digital 4. Space 5. Preventive Health Care/Health Tech

7. สนับสนุนการต่อยอดผู้ประกอบการไทย

สภาดิจิทัลแห่งประเทศไทย

อนึ่ง สภาดิจิทัลฯ ในฐานะองค์กรที่ทำงานร่วมกับภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัล เพื่อไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีพันธกิจยุทธศาสตร์สำคัญใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดด้านดิจิทัล 2) การสร้างความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 3) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล 4) การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และ 5) การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาค รวมทั้งการขับเคลื่อนด้านสังคมและวัฒนธรรมดิจิทัลของประเทศชาติ

ทั้งนี้ ทางสภาดิจิทัลฯ ได้สรุปความเห็นของที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิ รองประธาน คณะกรรมการ สมาคมสมาชิก และองค์กรพันธมิตร สภาดิจิทัลฯ และนำเสนอแนวคิดการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลของประเทศแก่พรรคการเมืองต่างๆ ในการเลือกตั้ง 2566 เพื่อเป็นแนวทางกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเร่งช่วยต่อยอดให้ผู้ประกอบการไทยได้ต่อไปอย่างแข็งแรงและเติบโตทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับโลก