นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart City Solution For Local Government) ขึ้นมา เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเมืองระดับท้องถิ่นให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยอาศัยเทคโนโลยีหลักอย่างเทคโนโลยี GIS หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยบูรณาการฐานข้อมูลได้อย่างเป็นระบบในรูปแบบของ Smart City Data Platform แพลตฟอร์มศูนย์กลางข้อมูลที่บูรณาการข้อมูลต่างๆ ภายในเมืองมาไว้ในที่เดียวผ่านการแสดงผลในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล
ทำให้เห็นภาพรวมของเมืองในทุกด้าน ช่วยในการวาง แผนและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลเข้ากับหน่วยงานภายในท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการงานเฉพาะด้าน เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดีขึ้น
ในปัจจุบันประเทศไทยกำหนดให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นวาระแห่งชาติ ทำให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเร่งเดินหน้านำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนดำเนินงานจริงอย่างหลากหลายมากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการ รวมไปถึงพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือและมีความพร้อมในการพัฒนาและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสร้างประโยชน์ด้านการบริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ตอบโจทย์เป้าหมายหลักของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร สู่ความเป็นเมืองน่าอยู่และยั่งยืน
โดยแพลตฟอร์มศูนย์กลางข้อมูลนี้ ช่วยในการบูรณาการข้อมูลเมืองต่างๆ มาไว้ในที่เดียว อาทิ ด้านความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข เป็นต้น ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่สามาถมองเห็นภาพรวมของเมืองทั้งหมดได้ ช่วยในการวางแผนบริหารจัดการ ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเมือง และรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการรับมือกับเหตุการณ์นํ้าท่วม ซึ่งแพลตฟอร์มนี้สามารถช่วยติดตามและจำลองสถานการณ์นํ้าท่วมในแต่ละพื้นที่ได้ โดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้น นำไปสู่การวางแผน เผยแพร่แผนการรับมือสู่ทุกหน่วยงาน เตรียมความพร้อมการให้บริการสาธารณูปการ และแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นทีได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลหลักเข้ากับหน่วยงานในท้องถิ่น โดยการนำฐานข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการงานเฉพาะด้านของหน่วยงานภายในท้องถิ่น (Smart Operation Workflow) ได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรม (Low-code No-code) ตอบโจทย์กระบวนการทำงานที่หลากหลายของหน่วยงานและหลายระดับงาน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนามไปจนถึงผู้บริหาร สามารถเข้าถึง และเห็นภาพรวมข้อมูลภายในหน่วยงานร่วมกันได้ ช่วยลดความซับซ้อน สนับสนุนการทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น
โดยสามารถประยุกต์ใช้กับงานในด้านต่างๆ อาทิ งานจัดการสำรวจแผนที่ภาษีสำหรับกองคลัง โดยสามารถสร้างแอปพลิเคชันในการสำรวจ จัดเก็บข้อมูล เพื่อการคำนวณภาษี และนำมาแสดงผลเป็นข้อมูลแผนที่ภาษีผ่านแดชบอร์ด ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถดูสรุปผลและติดตามสถานะการชำระภาษีได้อย่างง่ายๆ หรืองานติดตามสถานะสาธารณูปโภคสำหรับกองช่าง สามารถใช้แอปพลิเคชันในการเก็บข้อมูลสินทรัพย์ของหน่วยงาน อัพเดตสถานะงานผ่านสมาร์ทโฟน และสามารถติดตามสถานะหรือตรวจสอบงานซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคได้แบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการมอบหมายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทันที ทำให้การ ทำงานมีความเป็นระบบ และราบรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ เช่น กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองการศึกษา เป็นต้น
“ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยี GIS และประสิทธิภาพของการใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงแผนที่ สู่การพัฒนาประยุกต์การจัดการฐานข้อมูล บูรณาการแบบองค์รวม ให้บริหารเมืองระดับท้องถิ่นยุคดิจิทัล ยกระดับทรานส์ฟอร์มสู่การเป็น Smart City และ Esri เชื่อว่า Location Intelligence ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่สามารถสร้างความแตกต่างในการบริหารจัดการเมือง และยกระดับสู่ Smart City อย่างเต็มรูปแบบ พร้อม บริการและให้การดูแลประชาชนเต็มประสิทธิภาพสูงสุด”