ตำนาน 34 ปี “ดีแทค” อดีตผู้ให้บริการมือถือเบอร์สองในไทย

14 ม.ค. 2566 | 15:15 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ม.ค. 2566 | 17:13 น.
13.5 k

ตำนาน 34 ปี “ดีแทค” อดีตมือถือเบอร์สองในไทย หลังมติบอร์ดร่วมสองฝ่ายไฟเขียวควบรวมกิจการใช้ชื่อบริษัทใหม่ “ทรู คอร์ปฯ”

วันนี้ 14  มกราคม 2566 ความคืบหน้าควบรวมกิจการแสนล้านระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค  หลังมติบอร์ดของทั้งฝ่ายอนุมัติควบรวมกิจการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2566 พร้อมทั้งจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่คงชื่อเดิม คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ทรู โดยในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นรับทราบ คาดว่าน่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ตำนานบริษัทดีแทค เบอร์สองในตำนาน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566  ทั้ง ทรู และ ดีแทค จัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญเพื่อรายงานความคืบหน้าควบรวมกิจการพร้อมชี้แจงเรื่องชื่อบริษัทใหม่ในชื่อเดิมว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู ด้วยเหตุผลที่ว่า ทรู มีแบรนด์ครอบคลุมหลากหลาย มือถือ อินเทอร์เน็ต และ เคเบิ้ลทีวี  

ขณะที่ชื่อ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค  จะไม่มีอีกต่อไปคงไว้แต่ชื่อแบรนด์ “ดีแทค” เท่านั้น

ถ้าจำกันได้ธุรกิจมือถือในอดีตแข่งขันกันเพียงสองราย คือ ดีแทค และ เอไอเอส ซึ่ง ดีแทค อัดแคมเปญแบบหมัดต่อหมัดเพื่อเป็นเจ้าตลาด แต่สุดท้าย ดีแทค  รั้งเบอร์สองมาตลอด จนกระทั่ง ทรู ก้าวเข้ามาสู่สนามมือถือไล่บี้ ดีแทค จนขึ้นแซงเป็นอันดับสอง พร้อมกับกระแสข่าวที่ตามมาอย่างต่อเนื่องว่า ดีแทค จะขายหุ้นให้กับ “เอไอเอส” , บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

แต่สุดท้าย ดีแทค ซึ่งมีพันธมิตร คือ เทเลนอร์ ตัดสินใจรวมกิจการกับ ทรู  ซึ่งอยู่ภายใต้แขนขากลุ่มซีพี

 

ย้อนรอยแจ้งเกิด “ดีแทค”

“ดีแทค” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดย นายบุญชัย เบญจรงคกุล ร่วมกับ นายภูษณ ปรีย์มาโนช จัดตั้งบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายระบบ WiFi โดย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทและถือหุ้นทั้งหมด

ปัจจุบัน ดีแทค  ให้บริการโทรคมนาคมด้วยเทคโนโลยี 4G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz และ คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz บนความร่วมมือกับ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) หรือ ทีโอที

ในขณะที่ ให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 3G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (ซึงถูกเปลี่ยนยนมาจากคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564) และให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 2G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz

นอกจากนี้ ดีแทค ยังให้บริการโทรคมนาคมเทคโนโลยี 5G โดยใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ร่วมกับคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ในพื้นที่สําคัญของประเทศด้วย

ดีแทค

ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 DTAC มีลูกค้าอยู่ประมาณ 19.6 ล้านเลขหมาย โดยเป็นลูกค้าในระบบรายเดือนประมาณ 6.2 ล้านเลขหมาย และลูกค้าในระบบเติมเงินประมาณ 13.4 ล้านเลขหมาย

ในปี พ.ศ. 2561 บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จํากัด หรือ ดีแทค ไตรเน็ต ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DTAC และบริษัท เทเลแอสเสท จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดีแทค ไตรเน็ต ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ได้เข้าทําข้อตกลงกับทีโอที ในการให้บริการไร้สายแบบโรมมิ่งบนคลื่นความถี่ย่าน 2300  MHz เพื่่อให้บริการ 4G ควบคู่ไปกับการให้บริการด้วยคลื่นความถีย่าน 2100 MHz

โดยข้อตกลงความร่วมมือกับ ทีโอที จะสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568 และดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz จาก กสทช. เมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึง่ใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2570

นอกจากนี้ ดีแทค ไตรเน็ต ได้เข้าร่วมและเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ซึงจัดขึ้นโดย กสทช. และได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz เมื่อปี พ.ศ. 2561 ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2576

ในเดือนมิถุนายน 2562 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งจัดสรรโดย กสทช. โดยต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งจะหมดอายุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2578

นอกจากนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ดีแทค ไตรเน็ต ยังได้เข้าร่วมและเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ซึงจัดขึ้นโดย กสทช. และได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ดังกล่าวในเดือนเดียวกัน ซึงใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือนกุมภาพันธ์ 2578

ภายหลังการควบรวมกิจการระหว่างกลุ่ม TRUE กับ DTAC จะมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จ ากัด (มหาชน) โดยมีทุนของบริษัทใหม่ 138,208,403,204 บาท ซึ่งเท่ากับทุนชำระแล้วทั้งหมดของ DTAC กับ True รวมกัน โดยแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวนทั้งสิ้น 34,552,100,801 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาท 

กลุ่มTRUE กับ DTAC ได้กำหนดการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่จำนวน 34,552,100,801 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของ TDAC และ True ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่(Book Closing Date) ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ในอัตราส่วนดังนี้ 1 หุ้นเดิมใน True ต่อ 0.60018 หุ้นในบริษัทใหม่ 1 หุ้นเดิม DTAC ต่อ 6.13444 หุ้นในบริษัทใหม่

หลังจาก ดีแทค ให้บริการมา 34  ปีหลังจากนี้ชื่อ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะไม่มีอีกต่อไปคงไว้แต่ชื่อแบรนด์ “ดีแทค” ตำนานมือถือเบอร์สองประเทศไทย.