ควบรวม “TRUE-DTAC” หลังการประชุมแบบมาราธอน 11 ชั่วโมง ของบอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วาระลงมติให้บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรู และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ผลปรากฎว่า กสทช. รับทราบ "ทรู-ดีแทค" ควบรวมกิจการ ภายใต้เงื่อนไงและมาตรการเฉพาะเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค การแข่งขัน และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งมีการประชุมมีคณะกรรมการ ทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่
"ควบรวมทรูดีแทค" มีคณะกรรมการ 2 เสียง คือ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต และ รศ.ศุภัช ศุภชลาศัย ไม่เห็นด้วยต่อการ "ควบรวมทรูดีแทค" แม้การพิจารณาที่ผ่านไปแล้วเป็นการลงมติอำนาจของ กสทช. ว่า มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ ลงคะแนนที่ 3:2 เสียง ส่วนการอนุมัติให้เกิดการควบรวมหรือไม่ ยังไม่มีการลงมติ
ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต เสียงข้างน้อย ได้โพสต์อธิบายเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการของสองบริษัทไว้ 7 ข้อ โดยสรุปคือ เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการถือครองธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแง่การลดหรือจำกัดการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เปิดประวัติ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต
ประวัติการศึกษา
ประสบการณ์การทำงาน
ขณะที่ รศ.ศุภัช ศุภชลาศัย ไม่เห็นด้วยต่อการ "ควบรวมทรูดีแทค" เเละได้ออกเอกสารชี้แจงมติจำนวน 31 หน้า โดยให้เหตุผลสรุปว่า เหลือผู้ประกอบการ 2 รายในตลาด และเงื่อนไขเฉพาะ ไม่สามารถป้องกันผลกระทบจากการผูกขาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้
เปิดประวัติ รศ.ศุภัช ศุภชลาศัย
ประวัติการศึกษา
ประสบการณ์ทำงาน