เด็กไทยเจ๋ง! คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

02 ก.ย. 2565 | 17:26 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ย. 2565 | 00:39 น.

เดลต้า อีเลคทรอนิกส์ ประเทศไทย ส่งสามทีมนักศึกษาไทย คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) สนับสนุนทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Delta International Smart & Green Manufacturing Contest หรือ เดลต้า คัพ (Delta Cup) ครั้งที่ 8 โดยในปีนี้สามทีมตัวแทนประเทศไทยได้ผ่านการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ และสองในสามทีมสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันออนไลน์รอบสุดท้าย

เด็กไทยเจ๋ง! คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

หัวข้อของเดลต้าคัพในปีนี้คือ การเฟ้นหาผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตคาร์บอนต่ำ โดยมี 102 ทีมจาก 328 โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ และมีเพียง 15 ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย เดลต้า กรุ๊ป จัดการแข่งขันนี้เป็นประจำทุกปีเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษามีโอกาสได้ทดลองและพัฒนานวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ โซลูชันการผลิตอัจฉริยะ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายของเดลต้า คัพ คือการจุดประกายความหลงใหลในกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านการเสริมสร้างทักษะด้านการออกแบบ การเขียนโปรแกรม และการตรวจสอบงาน พร้อมผสานทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติ โดยการแข่งขันด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้เดลต้าบรรลุพันธกิจ “มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า" และสะท้อนถึงคำมั่นสัญญาของเดลต้าที่ว่า "Smarter. Greener. Together"

 

เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทาง เดลต้า คัพ จึงจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งที่สอง ซึ่งสามทีมตัวแทนประเทศไทยได้ร่วมขับเคี่ยวกับทีมนักศึกษาชั้นยอดทั่วโลก และสามารถคว้ารางวัลสำหรับโครงการนวัตกรรมระบบอัตโนมัติดังต่อไปนี้:

 

 

1.รางวัลชนะเลิศ ทีม Gaia จากมหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอโครงงาน Carbon Polymerizing System ระบบจุลินทรีย์อัตโนมัติที่สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพที่เรียกว่า Polyhydroxybutyrate (PHB)  ระบบนี้มีความสามารถในการลดปริมาณคาร์บอนส่วนเกินในชั้นบรรยากาศและสร้างพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ถึง 90% ภายในเวลา 10 วันโดยไม่ทิ้งเศษเมื่อสิ้นสุดวงจรชีวิตของมัน

เด็กไทยเจ๋ง! คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

โดยโครงงานทดลอง Carbon Polymerizing System Project ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้า ดังต่อไปนี้:

•             อุปกรณ์ควบคุมระบบ AS200 PLC 1 ตัว

•             ระบบ DIAView SCADA

•             แพลตฟอร์ม DIACloud

•             หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะ DRV70L 1 ตัว

•             AC มอเตอร์ไดรฟ์ ASDA-A3 5 ตัว

•             เซอร์โวมอเตอร์ ECMA-C20401SS AC กำลังไฟ 400W 5 ตัว

•             วาล์วควบคุม 3 ตัว

•             ปั๊มรีดท่อ 1 ตัว

•             มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า DPM-C530 1 ตัว

 

2.รางวัลรองชนะเลิศ ทีม Olo Plus จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอโครงงาน Re-electric Warehouse ระบบแปลงพลังงานการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรอุตสาหกรรมผ่านแผ่นเพียโซอิเล็กทริกเป็นพลังงานไฟฟ้า จากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังระบบ PLC และสายพานลำเลียงเพื่อขนส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าต่อไป

เด็กไทยเจ๋ง! คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

โดยโครงงานทดลอง Re-electric Warehouse ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้า ดังต่อไปนี้:

•             อุปกรณ์ควบคุมระบบ (PLC) PLC-AS218RX-A

•             หน้าจอสัมผัสรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับเครื่องจักร (HMI) DIAVH-PPCXXXA

•             มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า

•             สวิตช์อีเธอร์เน็ตอุตสาหกรรม DVS-008W01 3 ตัว

•             ตัวแปลงเครือข่ายอุตสาหกรรม IFD9506 1 ตัว

•             พาวเวอร์ซัพพลาย 24vdc 1 ตัว

•             โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ 4 ตัว

 

3.รางวัลรองชนะเลิศ ทีม F-Embedded จากมหาวิทยาลัยบูรพา กับโครงงาน Smart Green Living นำเสนอระบบที่ช่วยควบคุมระบบ HVAC โดยจะทำการรวบรวมข้อมูลการใช้งานของผู้อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าของอาคารโดยรวม หลังจากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยัง DIACloud ของเดลต้าเพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ โดยใช้ AI เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความเร็ว นอกจากนี้ AI ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับการทำงาน HVAC ให้เหมาะสมตามจำนวนคนในอาคาร เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากที่สุด

เด็กไทยเจ๋ง! คว้าชัย เดลต้า คัพ การแข่งขันระบบอัตโนมัติระดับนานาชาติ

โดยโครงงานทดลอง Smart Green Living ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้า ดังต่อไปนี้:

•             แพลตฟอร์ม DIACloud

•             มอเตอร์ไฟฟ้า VFD-S AC 1 ตัว

•             ระบบ DIAView SCADA

•             มอเตอร์ไฟฟ้า AC Servo 3 ตัว

•             อุปกรณ์ควบคุมระบบ Delta Programmable Logic Controller (PLC)

•             ระบบแมชชีนวิชั่น DMV2000

•             อุปกรณ์อีเธอร์เน็ต DX-2300LN-WW

•             ตัวควบคุมอุณหภูมิ

 

เดลต้าได้สนับสนุนการเข้าร่วมแข่งขันของทีมตัวแทนจากประเทศไทยคว้ารางวัลเดลต้า คัพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559  ไม่วาจะเป็นทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

เดลต้ามีการจัดการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนทีมไทยใน เดลต้า ออโตเมชัน อะคาเดมี (Delta Automation Academy) ห้องแล็บเดลต้า ออโตเมชัน (Delta Automation Labs) และเดลต้า คัพ (Delta Cup) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาสังคมและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0