หัวเว่ย กดปุ่มเปิด ‘ศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคต’

27 พ.ค. 2565 | 15:04 น.
อัปเดตล่าสุด :27 พ.ค. 2565 | 22:18 น.

หัวเว่ยเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคตพร้อมระบบจ่ายไฟใหม่ล่าสุด ‘PowerPOD 3.0’ ณ เมืองตงกวน ประเทศจีน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการสร้างศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายชาร์ลส์ หยาง รองประธานอาวุโสของหัวเว่ยและประธานกรรมการบริหารหัวเว่ย ดาต้าเซ็นเตอร์ (Huawei Data Center Facility Team) เผยคำนิยามศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคตในงานเปิดตัว เขากล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและหน่วยงานภาครัฐของอุตสาหกรรมหารืออย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจนบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับคุณลักษณะสี่ประการของศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคต นั่นคือยั่งยืน เรียบง่าย ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ และมีความน่าเชื่อถือ

หัวเว่ย กดปุ่มเปิด ‘ศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคต’

ความยั่งยืน: ศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคตต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน วัสดุต่าง ๆ ของศูนย์ข้อมูลต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีนี้จะทำให้อีโคซิสเต็มของศูนย์ข้อมูลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดความยั่งยืน       เราบรรลุเป้าหมายการสร้างศูนย์ข้อมูลที่ยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งระบบไฟฟ้า ดินและน้ำ ตลอดจนการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดวัฏจักรการใช้งาน นอกจากประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Power Usage Effectiveness - PUE) ที่ใช้วัดผลอย่างแพร่หลาย ตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่น ประสิทธิภาพการใช้คาร์บอน (Carbon Usage Effectiveness - CUE) ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Usage Effectivenes - WUE) และประสิทธิภาพการใช้กริด (Grid Usage Effectiveness - GUE) ก็ถูกนำมาใช้เพื่อวัดผลความยั่งยืนของศูนย์ข้อมูลด้วย

เรียบง่าย: รูปแบบสถาปัตยกรรมเรียบง่าย ระบบจ่ายพลังงานและระบบระบายความร้อนอันล้ำสมัยแสดงถึงวิวัฒนาการความก้าวหน้าของศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคต

 

สถาปัตยกรรมเรียบง่ายออกแบบรูปแบบอาคารและห้องอุปกรณ์โดยใช้นวัตกรรมใหม่ การใช้โหมดก่อสร้างแบบโมดูลาร์สำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างศูนย์ข้อมูลที่ความจุตู้แร็ค 1,000 ตู้ ลดลงจากมากกว่า 18 เดือนเป็น 6-9 เดือน อุปกรณ์จ่ายไฟที่ลดความซับซ้อนพลิกโฉมการใช้ชิ้นส่วนและการเชื่อมต่อ ลดระยะเวลาการส่งมอบจาก 2 เดือนเป็น 2 สัปดาห์ ระบบทำความเย็นใหม่มอบประสิทธิภาพสูงสุดในการถ่ายเทความร้อน เปลี่ยนการถ่ายเทความร้อนหลายครั้งเป็นการถ่ายเทความร้อนแบบครั้งเดียว และทำให้ลิงค์ระบายความร้อนสั้นลง

 

ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ: ระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) อัตโนมัติ ระบบเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และระบบปฏิบัติการแบบอัตโนมัติช่วยพลิกโฉมการจัดการการดำเนินงานและการบำรุงรักษาศูนย์ข้อมูลให้ก้าวไปอีกขั้น ระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) อัตโนมัติทำให้วิศวกรตรวจสอบตู้แร็คจำนวน 2,000 ตู้จากระยะไกลภายในเวลา 5 นาที ระบบระบายความร้อนอัจฉริยะประกอบด้วยระบบเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่สามารถประมวลกลยุทธ์การระบายความร้อนที่เหมาะสมที่สุดโดยประมวลผลจากค่าดั้งเดิมจำนวน 1.4 ล้านชุดข้อมูลภายใน 1 นาที นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการแบบอัตโนมัติทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด

 

เชื่อถือได้: นโยบายรักษาความปลอดภัยเชิงรุกและสถาปัตยกรรมที่เชื่อถือได้เพิ่มความมั่นใจด้านการพัฒนาศูนย์ข้อมูลคุณภาพสูงที่ยั่งยืน รักษาความปลอดภัยเชิงรุกโดยใช้บิ๊กดาต้า (Big Data) และเทคโนโลยี AI ในการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ตั้งแต่ระดับชิ้นส่วนไปจนถึงภาพรวมของศูนย์ข้อมูล มีขีดความสามารถในการติดตามผลที่ชัดเจนและสามารถประมวลผลข้อมูลของโดเมนทั้งหมดในศูนย์ข้อมูลได้ ระบบจะใช้เวลาเพียง 1 นาทีในการตรวจจับความผิดพลาดด้วยระบบอัตโนมัติ 3 นาทีในการวิเคราะห์ และ 5 นาทีในการกู้คืนข้อมูล สถาปัตยกรรมที่ปลอดภัยติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในระดับต่าง ๆ อาทิ ระดับชิ้นส่วน อุปกรณ์ และระบบโดยรวม มีการรักษาความปลอดภัยของระบบด้วยแพลตฟอร์ม E2E ที่สามารถติดตามผลได้ชัดเจน, จัดการและควบคุมได้อย่างรวดเร็วทำให้ระบบมีความพร้อมใช้งานสูงถึง 99.999%

 

นายเฟย เจินฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของทีมหัวเว่ย ดาต้าเซ็นเตอร์ (Huawei Data Center Facility Team) เปิดตัวระบบจ่ายไฟรุ่นใหม่ในชื่อ ‘PowerPOD 3.0’ ระบบนี้ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงถึง 40% ลดการใช้พลังงาน 70% ลดระยะเวลาการส่งมอบจาก 2 เดือนเป็น 2 สัปดาห์ และลดอัตราผิดพลาดลง 38%

 

เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีจะเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในอนาคต หัวเว่ยมุ่งสร้างความรุดหน้าในด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านการวิจัยและพัฒนา เราผนึกกำลังกับลูกค้า พันธมิตรในอีโคซิสเต็ม และองค์กรต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันพัฒนาศูนย์ข้อมูลแห่งโลกอนาคตต่อไป