“AIS” เปิดใจควบรวม“TRUE-DTAC” ไม่กังวลแข่งขัน กังวลคู่แข่งได้คลื่นเพิ่ม

09 พ.ค. 2565 | 14:00 น.
อัปเดตล่าสุด :09 พ.ค. 2565 | 21:40 น.
1.8 k

โฟกัสกรุ๊ปฯยกแรก “AIS” เปิดใจควบรวม “TRUE-DTAC” ไม่กังวลการแข่งขัน เผยดีลสำเร็จสิ้นสุดสงครามราคา ห่วงเรื่องถือครองคลื่นความถี่ กสทช.ควรมีมาตรการเยียวยา ขณะที่องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนแข่งขันเสรีเป็นธรรม

จากกรณีที่วันนี้ 9 พฤษภาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) ต่อกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ครั้งที่ 1 กลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ เตรียมจัดเพิ่มอีก 2 กลุ่มธุรกิจภายในเร็วๆ นี้

 

นำผลโฟกัสกรุ๊ปฯเข้าที่ประชุมอนุคณะกรรมพิจารณา

รองศาสตราจรย์ ดร.ศุภชัย  ศัภชลาศัย กรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.จะนำผลแสดงความคิดเห็นสาธารณะแบบโฟกัสกรุ๊ป ทั้ง 3 ครั้ง นำผลแสดงความคิดเห็นนำเสนอให้คณะอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด นำผลแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอบอร์ดในลำดับต่อไป

 

 

รองศาสตราจรย์ ดร.ศุภชัย  ศัภชลาศัย

กสทช.เปิดเอกสารยื่นควบรวมพร้อมชื่อ “บริษัท NewCo”

นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช.ได้เสนอรายละเอียดความเป็นมาของ TRUE และ DTAC โดยทั้งสองบริษัทนได้ส่งหนังสือแจ้งการดำเนินการตามประกาศ เรื่อง มาตรการฯ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยบริษัทTRUE และ DTAC ได้แจ้งความประสงค์ที่จะรวมธุรกิจโดยการควบบริษัท (Amalgamation) ตามาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.บริษัทมหาชน)

 

ทั้งนี้ การควบรวมบริษัทใหม่จะทำให้เกิดบริษัทหมาชนจำกัดใหม่ (บริษัท NewCo (หมายเหตุชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าจะจัดตั้งบริษัทใหม่ ชื่อ บริษัท ทรู ดีแทค จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE D)  ที่ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ตามความรับผิดชอบทั้งหมดของผู้แจ้งรวมธุรกิจทั้งสอง บริษัทย่อยของ ทรู และ ดีแทค  จะยังคงอยู่เช่นเดิม  และ สัดส่วนผลประโยชน์การลงทุนในนิติบุคคลอื่นของบริษัท ทรู และ ดีแทค  จะยังคงเป็นการลงทุนต่อไปภายใต้บริษัท NewCo

 

 

 

 

“AIS” ไม่กังวลการแข่งขันแต่กังวลการถือครองคลื่นความถี่เพิ่ม

นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้แทนบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท เวอร์ค จำกัด หรือ AWN เป็นผู้รับใบอนญาติให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่  เอไอเอส เปิดเผยว่า เอไอเอส มีความพร้อมแข่งขันเสรีเป็นธรรมภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการปล่อยให้ผู้เล่นรายใหญ่ในประเทศลดจำนวนลง จาก 3 ค่ายเหลือ 2 ค่าย เป็นการลดทางเลือกประชาชน เลือกโปรโมชั่นราคา การขาย และ สัญญาณ ในกรณีผู้ให้บริการโอทีที เช่น ไลน์ และ เฟสบุ๊ค ไม่สามารถทดแทนได้เพราะว่าต้องอาศัยสัญญาณมือถือ ปัจจุบันมีให้เลือกสามโครงข่ายเท่านั้น ขณะที่บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติให้บริการร่วมกับเอกชน

 

การมีผู้ประกอบการ 3 รายย่อมดีกว่าเหลือ 2 ราย เมื่อผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเหลือสองราย ทำให้การแข่งขันน้อยลง จากเดิมมี 3 ค่ายต่างแข่งขันดุเดือดงัดกลยุทธ์ทางการต่อสู้ผู้บริโภคได้ประโยชน์มีความสุขได้ใช้โปรโมชั่นที่ตรงใจ หากเหลือ 2 ค่ายมีผู้ใช้บริการจำนวนมากแล้วใกล้เคียงกันย่อมเป็นสัญญาสิ้นสุดสงครามราคาดำเนินการต่อเนื่องยี่สิบปีที่ผ่านมา เพราะไม่มีความจำเป็นแย่งลูกค้าเนื่องจากผู้ใช้บริการแต่ละรายมีลูกค้าค่ายละ 50 ล้านรายใกล้เคียงกับจำนวนประชากรในประเทศไทย

 

มีนักวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ออกมาว่าหาก ลดการแข่งขันได้รับประโยชน์ แต่เนื่องจาก เอไอเอส อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องบริหารงานแบบธรรมาภิบาลไม่สามารถเพิกเฉยได้ อีกอย่างหนึ่ง เอไอเอส ไม่อยากถูกจดจำบันทึกในประวัติศาสตร์ทำให้เกิดการผูกขาด

 

ดังนั้น เอไอเอส จำเป็นแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ การควบรวมย่อมก่อให้เกิดผลกระทบรายย่อยผู้รับเหมา ลูกตู้  ทำให้เกิดการหดตัวอุตสาหกรรมที่ไม่มีอำนาจต่อรอง แม้การควบรวมทำให้เกิดการลดต้นทุนซ้ำซ้อน แต่ผู้ค้ารายเล็กที่ไม่มีสายป่านยาวอยู่รอดยาก

 

กสทช.ควบรวม ทรู ดีแทค

“หากทั้งสองรายควบรวมสำเร็จเหลือเพียงบริษัทฯเดียว นั้นหมายความว่ามีคลื่นความถี่รวมกันเกินตามเงื่อนที่ กสทช.กำหนดให้ถือครองคลื่นความถี่ กสทช.ควรมีมาตรการเยียวยาชดเชยในส่วนนี้ให้กับ เอไอเอส เช่นเดียวกัน เพราะทั้งสองบริษัทฯมีความเกี่ยวโยงกันกัน เอไอเอส ไม่กังวลแข่งขัน กังวลผลกระทบอุตสาหกรรม และ การถือคอรงความถี่ที่ไม่เป็นธรรม”

 

สร.ทช.ค้านควบรวม

นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี  ประธานสหภาพแรรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ สร.ทช. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยในการให้ควบรวม โดย การสื่อสารแห่งประเทศไทย และ องค์การโทรศัพท์ ควบรวมได้ แต่ถ้า ให้ทรู กับดีแทค ควบรวมกัน จะเกิดเป็นตลาดกึ่งผูกขาด เอไอเอส กับ บริษัทควบรวม ดังนั้น หลังการควบรวมของ NT ตลาดสมดุลแล้ว สหภาพมองว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้แพลตฟอร์มต่างประเทศน้อยมาก ทางสหภาพมองว่า ประเทศไทยมีนโยบาย 4.0 อยู่แล้ว มันเป็นความล้มเหลวของประเทศไทยแลนด์ 4.0 ไม่มีความเจริญในประเทศไทยเลย คำถามต้องกลับมาที่รัฐบาลว่า ได้ส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยหรือไม่ ทำธุรกิจบนเครือข่ายในประเทศไทยหรือไม่ กสทช ควรกำกับดูแลอย่างไรให้เกิดสตาร์ทอัพ เพื่อให้วิ่งในโครงข่ายประเทศไทยได้อย่างจริงจัง การควบรวมโดยบริษัทเอกขนจะเกิดการผูกขาด การที่รัฐควบรวม ก็เพื่อเกิดการแข่งขันเสรี แต่เอกชนมาควบรวม เพื่อทำให้ทิ้งห่างกิจการของรัฐ โดยการอ้างเป็นการสร้างความแข็งแกร่ง โดยไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่ยึดโยง ควรให้เป็นตลาดเสรี ว่า หากให้ควบรวมผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ เกิดเป็นรายใหญ่สองราย ทำให้บริษัทรายที่สาม เสียประโยชน์ในการแข่งขัน

 

สภาหอการค้าไทย หนุนการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม

นายวุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ  จากสภาหอการค้าไทย กล่วว่าสนับสนุนการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ปกติเราอาจมองว่า การมองมากรายจะมีประโยขน์ แต่ในสายธุรกิจที่ลงทุนสูง หากมีผู้นำตลาดที่ห่างไปไกลมากเกิน การแข่งขันก็อาจไม่เกิดขึ้น เบอร์รอง อาจไม่มีกำลังในการลงทุนเพิ่มเติม และหากเบอร์ 2, 3 ลงทุนได้ไม่เต็มที่ จะไม่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดย กสทช. ควรพิจารณาระยะยาว การควบรวมกิจการในขนาดนี้ ทั้งสองฝ่ายคิดมาเป็นอย่างดี เรื่องประโยชน์ต่อผู้บริโภค ก็ฝากว่า หลังการควบรวม จะมีการทำประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างไร แบบนี้ก็รับการควบรวมได้

 

นอกจากนี้สภาหอการค้ามองว่า การควบรวมขององค์การโทรศัพท์ และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เกิดเป็น NT นั้น ต้องอย่ามองข้าม เพราะมีความแข็งแกร่งในการแข่งขันเช่นเดียวกัน เพราะมี Asset กว่า 3 แสนล้าน และ มีคลื่นมากไม่แพ้ผู้นำตลาด ดังนั้น หาก NT ปรับยุทธศาสตร์การแข่งขัน ก็ถือว่า มีความทัดเทียม เกิดเป็นตลาดที่มีผู้ประกอบการแข็งแรงทั้ง 3 ราย ซึ่งผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันสูงนั่นเอง

ทั้งนี้ต้องถือได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมประสานเสียงสนับสนุนการควบรวม มีเพียง เอไออเอส และ NT ที่ออกมาคัดค้าน ซึ่งถือว่า ไม่น่าแปลกใจ แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า  เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแรง ดีกว่า ปล่อยให้อ่อนแอ จนถอนการลงทุน อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ต้องการผู้ประกอบการที่แข็งแกร่ง และ รักษาศักยภาพในการแข่งขัน ส่วนเรื่องราคา กสทช. ทำหน้าที่มาดีอยู่แล้ว กสทช. ก็น่าจะทำผลงานได้ดีต่อไป ดังนั้น การแข่งขันด้านเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ลงทุนส่ง และอาจเหลือ ผู้ประกอบการที่แข่งขันได้ไม่กี่ราย และ NT ก็เป็นบริษัทไทยที่แข็งแรง ไม่แพ้ บริษัทควบรวม ทรูและดีแทค ดังนั้น การที่ กสทช. ปฏิบัติตามกฎหมาย และ กำหนดเงื่อนไข ที่ทำให้สังคมสบายใจได้ว่า ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ ก็จะทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย เดินหน้าแข่งขันในระดับภูมิภาคได้

 

ขณะที่ มุมมองจากบริษัทดิจิทัล และ สตาร์ทอัพ มองว่า เรื่องสตาร์ทอัพ และ การส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในเมืองไทย มีความสำคัญ จะเห็นได้ว่า สมัยก่อน มี Dtac Accelerator เป็นการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ตอนนี้ก็ไม่มีแล้ว เมื่อเสียความสามารถในการแข่งขันไป ก็ยกเลิกการจัดบ่มเพาะ ทำให้ประเทศไทยก็เสียโอกาส หากประเทศไทยมีระบบนิเวศที่ไม่แข็งแกร่ง การแข่งขันที่เยอะเกิดไปแต่ไม่สร้างความแข็งแกร่งในระยะยาวก็เสียโอกาส งานวิจัย OECD ก็บอกว่า การแข่งขันที่เท่าเทียม จะเป็นธรรมมากขึ้น หากมองแบบ Supply Chain ห่วงโซ่คุณค่า จะทำให้ตลอดห่วงโซ่จะเข้มแข็งขึ้น ให้ลองดูผู้เล่น OTT จะเห็นว่า ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ถ้าไม่เข้มแข็ง จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่น ๆ มองถึงความยั่งยืนของประเทศชาติ เราขาดดุลการค้าเท่าไหร่ แพลตฟอร์มผ่านค่าย OTT ทั้งหมดแล้ว ไลน์ สั่งซื้อของ ลาซาด้า shoppee

 

หากพูดถึงอนาคตประเทศไทย เราต้องจับมือกัน ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นคนไทย สัญญาติไทย การควบรวมครั้งนี้เป็นโยชน์ของประเทศชาติ ยุคนี้เป็นยุค M&A ตัวใหญ่ต้องช่วยคนตัวเล็ก ถ้าทรูกับดีแทค ควบรวมแล้วช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก เป็นผลประโยชน์ของชาติ ข้อมูลคือขุมทรัพย์ใหม่ แต่ปัจจุบันข้อมูลไม่อยู่ในไทยเลย ต้องฝากความหวังไว้กับผู้ประกอบการการ สิ่งที่อยู่บน 5G คือ ข้อมูล การที่ผู้ประกอบการไทยแข็งแรง เป็นประโยชน์ต่อชาติระยะยาว.