กสทช. เผยปี 65 เทคโนโลยี 5G ขับเคลื่อนเศรษฐกิจกว่า 4 แสนล้านบาท

02 ธ.ค. 2564 | 12:03 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ธ.ค. 2564 | 02:59 น.

กสทช. เผยปี 65 เทคโนโลยี 5G ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผลักดันมูลค่า 489,572 ล้านบาท พร้อมวางยุทธศาสตร์ BIG MOVE ภายในสองปีครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ กสทช.สายงานโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยในงานสัมมนา 5G THAILAND BIG MOVE  จัดโดย หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ร่วมกับกรุงเทพธุรกิจ และ สปริงนิวส์ ว่า กสทช. ได้วางยุทธศาสตร์พัฒนา 5G ขับเคลื่อนประเทศไทย ดังนี้ การพัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่และเคลื่อนที่ ในมิติต่างๆ ความครอบคลุมของโครงข่าย การเข้าถึงบริการของประชากร ราคา และ คุณภาพความเร็ว

 

 

 

อย่างไรก็ตามภายในสองปีข้างหน้าการขยายโครงข่ายในพื้นที่เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจครอบคลุม 80% ของประชาชน ปัจจุบันเครือข่ายที่ให้บริการมีอยู่ประมาณ 45% เท่านั้นแต่ผู้ประกอบการบางรายอย่าง เอไอเอส ได้แจ้งว่ามีครอบคลุมกว่า 70-80%  และ เพิ่มความเร็วทั้ง 5G และ ไฟเบอร์ อีกด้วย ในส่วนความสามารถในการเข้าถึงบริการ (Affordability) มีอัตราค่าบริการต่ำว่า 2% ของ GNI และ จะต้องมีคุณภาพของบริการ

 

 

5G THAILAND

 

 

“ 5G มุมมองของผมไม่ได้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Digital infrastructure เท่านั้น แต่ยังผลักดันระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย ดังนั้นความพร้อมขององค์กรและการปรับปรุงตัวเองของประชาชนจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุค Digital ได้อย่างเต็มรูปแบบ”

 

 

 

 

นายสุทธิศักดิ์  ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันเครือข่าย 3G และ 4G ครอบคลุมพื้นที่กว่า 90% ส่วนที่เหลือบางพื้นที่ยังไปไม่ถึง ส่วน 5G ปัจจุบันมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมบางพื้นที่ โดย กสทช. ต้องการให้ครอบคลุมพื้นที่ 90% ในส่วนของฟิกบอรดแบนด์ครอบคุลม 74,987 ครัวเรือน แต่ภายใน 7 ปีข้างหน้าตั้งเป้าครอบคลุมทั่วประเทศและทุกครัวเรือน

 

 

นอกจาก กสทช. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบาย 5G แต่ประเทศไทยยังมี คณะกรรมการขับเคลื่อน 5G โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทย ในส่วนของการต่อยอดการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ภายหลังจากที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมได้ประมูลคลื่นความถี่ และ ลงทุนขยายโครงข่ายในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เตรียมความพร้อมรองรับการใช้งาน 5G

 

“ขณะนี้ได้เริ่มโครงการนำร่อง 5G สมาร์ทฟาร์ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ,เชียงใหม่ ในกรุงเทพมหานคร นำร่อง 5G Hospital,5G Station และ 5G Campus รวมไปถึง Smart City และ อุตสาหกรรม โดยในวันที่ 16 ธ.ค. โรงพยาบาลศิริราช เปิดให้บริการ 5G Hospital จองลงทะเบียน และ นัดหมาย และ การเรียกรักษา ทั้งหมดเป็นระบบเทคโนโลยีทั้งหมด”

 

สำหรับภายในปี 2564 เทคโนโลยี 5G ขับเคลื่อนเศรษฐไทยมีมูลค่า 367,101 ล้านบาท คิดเป็น 2.34% ของ GDP  (Gross Domestic Product) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และในปี 2565 มูลค่ารวมอยู่ที่ 489,572 ล้านบาท

 

 

 

5G THAILAND

อย่างไรก็ตาม ภายในอีกสองปีข้างหน้าสิ่งที่เกิดขึ้นนับจากกนี้การแชร์โครงข่ายร่วมกันเพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน จากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการแข่งขันตลาดอย่างเดียว หลังจากนี้เชื่อว่าจะเกิดการแชร์โครงข่ายการใช้งานร่วมกัน

 

“เราจะไม่ทิ้งคนไว้ข้างหลัง เราจะไม่ทิ้งฟิกไลน์และฟิกบรอดแบนด์ เราจะพาทุกคนมาใช้เทคโนโลยี 5G ที่มีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันประเทศไทยมีกว่า 7 หมื่นหมู่บ้าน เแต่ให้บริการได้เพียง 4 หมื่นหมู่บ้านเท่านั้น ต้องพัฒนาควบคู่กับภาครัฐและเอกชน รัฐบาลไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ต้องจับมือกับผู้ประกอบการเพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้มีประสิทธิภาพ” นายสุทธิศักดิ์ กล่าว.